ม.มหิดล พัฒนานวัตกรรม “น้ำยาทำละลายโปรตีนโปรลามีนส์” ใช้ทดสอบเพื่อหาข้อบ่งชี้โรคภูมิแพ้กลูเตนในแป้งข้าวสาลี
16/11/2022
ม.มหิดล หวั่นมรดกโลกสูญหาย ร่วมสืบสานความรู้ เพื่อการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในยุคดิจิทัล
16/11/2022
ม.มหิดล พัฒนานวัตกรรม “น้ำยาทำละลายโปรตีนโปรลามีนส์” ใช้ทดสอบเพื่อหาข้อบ่งชี้โรคภูมิแพ้กลูเตนในแป้งข้าวสาลี
16/11/2022
ม.มหิดล หวั่นมรดกโลกสูญหาย ร่วมสืบสานความรู้ เพื่อการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในยุคดิจิทัล
16/11/2022

ม.มหิดล เตรียมยกระดับคุณภาพสัตว์ทดลองปลอดเชื้อ

ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมยกระดับคุณภาพสัตว์ทดลองของศูนย์ฯ จากระดับเฝ้าระวัง (Monitored) สู่ระดับปลอดเชื้อจำเพาะ (Specific pathogen free; SPF) ซึ่งมีความปลอดเชื้อก่อโรคที่จำเพาะอย่างเต็มรูปแบบ

นายสัตวแพทย์สุรชัย จันทรทิพย์ ผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ใหม่ที่ได้เปลี่ยนทิศทางเพื่อมุ่งตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติจากเดิมที่ได้วางเป้าหมายไว้ที่ “อันดับหนึ่งของอาเซียน” โดยมองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะต้องบรรลุยุทธศาสตร์ชาติให้ได้ภายในปีพ.ศ.2569 หรือในอีก 4 ปีข้างหน้า ก่อนจะมุ่งสู่เวทีโลกได้อย่างมั่นใจต่อไป

“การทดลองจะถูกต้องและแม่นยำเพียงใด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสัตว์ทดลองเป็นสำคัญ เพื่อพร้อมเผชิญโรคอุบัติใหม่ในอนาคต จำเป็นต้องใช้สัตว์ทดลองระดับ SPF ซึ่งเป็นสัตว์ทดลองที่มีความปลอดเชื้อก่อโรคจำเพาะที่มากกว่าระดับ Monitored ที่เป็นระดับเฝ้าระวัง แต่อาจแฝงด้วยเชื้อก่อโรคฉวยโอกาส และส่งผลต่อการทดลองบางประเภทได้” นายสัตวแพทย์สุรชัย จันทรทิพย์ กล่าว

นอกจากนี้ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เตรียมขยายขอบข่ายการให้บริการวิจัยและทดสอบ โดยเฉพาะด้านการประเมินความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ครอบคลุมความต้องการของนักวิจัยให้ได้มากที่สุด โดยพร้อมเป็นส่วนสำคัญในการให้บริการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ฯ เพื่อสุขภาวะ และการให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญก่อนยื่นจดทะเบียนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ด้วยค่านิยม “สัตว์ทดลองทุกชีวิตมีคุณค่า นำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดแก่มวลมนุษยชาติ” และวิสัยทัศน์ “เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ” ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เชื่อมั่นว่า จะนำพาประเทศชาติสู่การค้นพบยา และวัคซีนใหม่ ที่จะทำให้มวลมนุษยชาติไม่พ่ายแพ้ต่อนานาสารพัดโรคภัยในวันข้างหน้า

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
Cr: ภาพถ่ายโดย นายสมบูรณ์ มาตรศรี นักวิชาการโสตทัศนศึกษา (ผู้ชำนาญการ) หัวหน้างานสนับสนุนทั่วไป ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล