ม.มหิดลใช้ AI ช่วยแพทย์วินิจฉัยผู้ป่วย COVID-19 ปอดติดเชื้อ
01/11/2022
ม.มหิดล คิดค้นโปรแกรมช่วยจักษุแพทย์คัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ลดเสี่ยงตาบอดไม่รู้ตัว
01/11/2022
ม.มหิดลใช้ AI ช่วยแพทย์วินิจฉัยผู้ป่วย COVID-19 ปอดติดเชื้อ
01/11/2022
ม.มหิดล คิดค้นโปรแกรมช่วยจักษุแพทย์คัดกรองภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ลดเสี่ยงตาบอดไม่รู้ตัว
01/11/2022

ม.มหิดล รวมพลังสังคมศาสตร์ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีขึ้น (Positive Social Change)

นานแค่ไหนแล้วที่เราไม่ได้ยิ้มให้กัน หลังจากที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากจากวิกฤติ COVID-19 ที่ต้องสู้ทนฝ่าฟันมาด้วยกัน

สุขใดจะเท่าการได้เห็นเพื่อนพ้องน้องพี่ได้กลับมายิ้มให้กัน ที่ยิ่งใหญ่ไปกว่านั้น คือการจะทำอย่างไรให้สังคมเกิดพลังเปลี่ยนแปลงสู่สิ่งที่ดีขึ้น (Positive Social Change)

รองศาสตราจารย์ ดร.โธมัส กวาดามูซ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงนโยบาย “SSHA” พลิกโฉมด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะได้รวบรวมเอาศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์ (Social Sciences) มนุษยศาสตร์ (Humanities) และศิลปศาสตร์/ศิลปกรรมศาสตร์ (Arts) จาก 14 ส่วนงาน และ 3 วิทยาเขต เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นพลังเปลี่ยนแปลงสังคมสู่สิ่งที่ดีขึ้น

มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นบทบาทสำคัญในการเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ให้กับสังคม เสริมด้วยหลัก SDGs เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ

โดยมุ่งสร้างนวัตกรรมทางสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า

ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลมีครบพร้อมแล้วทั้ง 3 ด้าน และกำลังจะทำให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น นับตั้งแต่ปี 2565 นี้เป็นต้นไป

ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับความทุกข์ยากลำบากจากวิกฤติใดๆ เชื่อว่าด้วยพลัง “SSHA” จาก “ปัญญาของแผ่นดิน” ที่มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมมอบให้ต่อไปนี้ จะสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมสู่สิ่งที่ดีกว่าในอนาคตได้ต่อไปอย่างแน่นอน

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
ออกแบบแบนเนอร์โดย วรรณภา อินทรประเสริฐ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210