ม.มหิดล ค้นพบแนวทางใหม่ในการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของวัสดุฉลาด เพื่อประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม และช่วยประหยัดทรัพยากรโลก
01/11/2022ม.มหิดล แจ้งข่าวดี พร้อมให้บริการประชาชนด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา
01/11/2022ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะเนรมิตประเทศที่เติบโตและพัฒนามาจากการทำเกษตรกรรมเป็นหลักอย่างประเทศไทย สู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรมให้ทัดเทียมนานาชาติ
ซึ่งความฝันอันสูงสุดของการก้าวขึ้นสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม คือ การได้สร้างสรรค์นวัตกรรม และมีโรงงานผลิตเป็นของตนเอง เพื่อที่จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ได้ตามโจทย์ของการสร้างนวัตกรรมนั้นๆ ตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ หรือตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ซึ่งรวมไปถึงการผลิต “ชีวภัณฑ์” ที่สนองต่อเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ (UN) ข้อที่ 3 ซึ่งว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาวะ (Good Health & Well-being)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงรจพร วัชโรทยางกูร ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล (Establishment of Mahidol University Bio-industrial Development Center) ได้กล่าวถึงคำจำกัดความของ “ชีวภัณฑ์” ว่าหมายถึง ยาใดๆ ก็ตามที่ผลิตมาจากสิ่งมีชีวิต ซึ่งสามารถนำมาใช้รักษาโรคได้
ซึ่ง “ชีวภัณฑ์” ที่ “Pilot Plant ม.มหิดล” กำลังขับเคลื่อนเพื่อผลักดันให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการผลิตชีวภัณฑ์ระดับประเทศ ได้แก่ ยา วัคซีน ตลอดจนโปรตีน แอนติบอดี หรือสารชีวภัณฑ์อื่นๆ ตลอดจนการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products: ATMPs) เช่น การรักษาด้วยเซลล์ หรือยีนบำบัด เป็นต้น
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ความสำคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาชีวภัณฑ์ต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายการพัฒนาสู่ประเทศอุตสาหกรรม และในการเป็นผู้นำด้านการแพทย์และสาธารณสุข
จึงได้สร้างอาคารกึ่งอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาชีวผลิตภัณฑ์ หรือ “Pilot Plant ม.มหิดล” ขึ้น
แม้ในปัจจุบัน “Pilot Plant ม.มหิดล” จะยังไม่สามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ก็มีส่วนสำคัญในการร่วมผลิต และทดสอบยาและวัคซีนที่อยู่ในขั้นการทดสอบในมนุษย์ และกำลังจะพัฒนาขึ้นเป็นชีวภัณฑ์ใหม่ ที่สามารถจะขยายผลสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ต่อไปในอนาคตอีกมากมาย
ตัวอย่างผลงานของ “Pilot Plant ม.มหิดล” อันเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ที่มหาวิทยาลัยมหิดลภาคภูมิใจ
อาทิ การร่วมกับกลุ่มวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา ในการวิจัยและพัฒนาการผลิตแอนติบอดีเพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาชุดคัดกรองโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) ตลอดจนได้ร่วมกับภาคเอกชนผลิตเซลล์ตั้งต้น และเซลล์เพาะเลี้ยงแบคทีเรีย ฯลฯ
ในฐานะศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ผ่านประสบการณ์การบริหารจากภาคเอกชน ก่อนเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล (Establishment of Mahidol University Bio-industrial Development Center)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงรจพร วัชโรทยางกูร ได้ใช้เทคนิคการกระจายอำนาจการบริหาร สู่ผู้จัดการโครงการย่อย ที่สามารถขับเคลื่อนอย่างแข็งแกร่ง ด้วยการทำงานแบบการบริหารโครงการ (Project management) และการทำงานเป็นทีม
จึงทำให้ “Pilot Plant ม.มหิดล” ในปัจจุบันสามารถดำเนินการไปพร้อมๆ กับการมีโครงการย่อยหลายโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมุ่งผลสู่มาตรฐานสากล ที่จะบรรลุผ่านการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 : 2005 ให้ได้ภายในปลายปี 2566
“เราวางตำแหน่ง “Pilot Plant ม.มหิดล” ไว้ในเชิงที่เป็น “Contract Development and Manufacturing Organization: CDMO” ที่คอย “สร้างคน” และคอยช่วยผลักดันจากงานวิจัยในระดับห้องปฏิบัติการ ให้เกิดเป็นรูปเป็นร่าง จนสามารถ “scale up” หรือขยายผลการผลิตในระดับอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ และมวลมนุษยชาติต่อไปในอนาคต” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงรจพร วัชโรทยางกูร กล่าว
แม้ความฝันสู่การเป็นโรงงานต้นแบบพัฒนาชีวภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม จะยังคงต้องใช้ความพยายามอีกมากมายสู่การบรรลุเป้าหมาย
ขอเพียงกำลังใจจากพี่น้องชาวไทย เชื่อมั่นว่าดินแดนแห่งโลกเทคโนโลยีชีวภัณฑ์ทางการแพทย์ที่พร้อมมุ่งสู่มาตรฐานโลกแห่งนี้ จะสามารถเนรมิตชีวิตคุณภาพ กับวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า ให้อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม เพื่อเป็นของขวัญแด่ปวงชนชาวไทยได้ในเร็ววัน
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
ออกแบบแบนเนอร์โดย วิไล กสิโสภา นักวิชาการสารสนเทศ
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.เมดิคอลไทม์ 22-6-65 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1041
2.ThaiPR.NET 22-6-65 https://www.thaipr.net/education/3204641
3.RYT9.COM 22-6-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3332889
4.newswit 22-6-65 https://www.newswit.com/th/LgRq
5.The Glocal 22-6-65 https://www.facebook.com/100720421465047/posts/pfbid02W8EBvvxo513NzcSr7kPLgZgVrmTmkP3r7KsvkBXa8c4vCqvQDBWC5ERvqrbRn3avl/?d=n
6.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 22-6-65 https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_219604
7.Thai Innovation Center 22-6-65 https://thaiinnovation.center/2022/06/pilot-plant/?fbclid=IwAR0Y7n0jg8QvqrCErflNwxeBtXYvEOaV4H49TRtK7kOXbON0uzYmoVchARY
8.Edupdate 22-6-65 https://www.edupdate.net/2022/25488/
9.นิตยสารสาระวิทย์ 23-6-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/mu-pilot-plant/