ม.มหิดล พร้อมส่งเสริมผลักดันผลิตภัณฑ์โภชนเภสัชบรรลุเป้าหมาย BCG เศรษฐกิจชาติ
17/05/2022ม.มหิดล ชี้ทางออกวิกฤติ COVID-19 สร้าง “Social Lab” เสริมแกร่งสุขภาวะชุมชน ก่อนขยายผลสู่ระดับประเทศ และภูมิภาคอาเซียน
17/05/2022ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประสบจากอุบัติการณ์ “โรคกุ้งตายด่วน” ยกบ่อภายในระยะเวลาอันรวดเร็วนั้น ไม่ใช่เรื่องของชะตากรรม แต่สามารถพิสูจน์ได้โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดลแล้วว่า สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้โดยการใช้ “องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์”
รองศาสตราจารย์ ดร.โสรยา จาตุรงคกุล อาจารย์ประจำกลุ่มสาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ระดับโมเลกุล สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สามารถคว้ารางวัลศึกษาวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 28 พ.ศ.2564 มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จากการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไขความลับต้านโรคกุ้งตายด่วน (EMS – Shrimp Early Mortality Syndrome) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียวิบริโอพาราฮีโมไลติคัส (Vibrio parahaemolyticus) และโรค “กุ้งตัวแดงดวงขาว” (White spot disease) ที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโรคทั้งสองชนิดในกุ้งขาวส่งผลให้กุ้งที่ติดเชื้อไม่สามารถที่จะกินอาหารได้ตามปกติและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
ผู้วิจัยได้เลือกใช้อาหารเสริม “โพรไบโอติกส์” (Probiotics) คุณภาพ ซึ่งผ่านการศึกษาและทดลองในระดับยีนหรือพันธุกรรมในห้องปฏิบัติการร่วมกับนักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักง
านพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นเวลาครึ่งทศวรรษ จนเห็นผลพิสูจน์ได้แล้วว่าสามารถป้องกันโรคได้ถึงร้อยละ 70 ด้วยโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่ค้นพบ
โดยเป็นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ถึง 3 เรื่อง เตรียมขยายผลจากงานวิจัยต่อยอดสู่ระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรฟาร์มกุ้งอย่างกว้างขวางต่อไป ในเบื้องต้นศึกษาในกุ้ง แต่ต่อไปจะขยายผลสู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น ปลา ต่อไปอีกด้วย
การกู้วิกฤติโรคกุ้งตายด่วน ด้วยการเลือกใช้อาหารเสริมโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ที่ผ่านการทดสอบจากห้องปฏิบัติการในระดับยีนแล้วว่าสามารถป้องกันโรคได้ คาดว่าจะสามารถช่วยจุดประกายแห่งความหวังของเกษตรกรไทยที่จะเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นจนสามารถกลับไปยังจุดสูงสุดของปริมาณการส่งออกกุ้งที่ประเทศไทยเคยทำได้เป็นอันดับหนึ่งถึง 5 แสนตันต่อปีได้ แม้ในปัจจุบันจะทำได้เพียง 3 แสนตันต่อปี แต่ก็จะสามารถทำให้ประชาชนได้มั่นใจในผลิตผล “กุ้งปลอดโรค” ที่จะนำไปสู่การมีอาหารปลอดภัย ความมั่นคงในการผลิต และคุณภาพชีวิตที่ดีจากการมีทั้งเศรษฐกิจ และสุขภาพที่ดีของมวลมนุษยชาติต่อไปได้ในที่สุด
ซึ่งโพรไบโอติกส์จำเป็นต่อทั้งชีวิตมนุษย์และสัตว์ โดยเป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ดีมีประโยชน์ ทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งหากเลือกใช้สายพันธุ์ที่เหมาะสมในสัตว์น้ำแล้ว พบว่านอกจากจะทำให้สัตว์น้ำปลอดโรคแล้ว ยังเป็นการช่วยบำบัดสิ่งแวดล้อมไม่ให้น้ำในบ่อเลี้ยงเน่าเสียได้อีกด้วย
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม / ขอบคุณภาพจาก MB
1.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 19-4-65 https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_213867
2.ThaiPR.NET 19-4-65 https://www.thaipr.net/education/3180625
3.RYT9.COM 19-4-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3315244
4.นิตยสารสาระวิทย์ 19-4-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/probiotics-aquatic-diseases/
https://www.facebook.com/303532493326553/posts/1717339715279150/?d=n
https://www.blockdit.com/posts/625e2d5fe04141e6bc091fd0
5.เรื่องเล่า ข่าวเกษตร 19-4-65 https://www.agrinewsthai.com/agricultural-technology/801
https://op.mahidol.ac.th/th/twitter/news-2022-4-20-2.pdf
6.ThaiQuote 20-4-65 https://www.thaiquote.org/content/246823?fbclid=IwAR0kDypEk31RUpfRwWnpE2aMuhc1W6h-xnEQKQTWbMaAWoJmaJyRc0cXJwU
https://www.facebook.com/208820289449647/posts/1768392740159053/?d=n