ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารที่มีปริมาณพลังงาน ไขมัน และน้ำตาลสูงของเด็กไทย
27/09/2024
ครอบครัวอบอุ่นด้วยแนวคิด ความสุข 8 ประการ
19/10/2024
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคอาหารที่มีปริมาณพลังงาน ไขมัน และน้ำตาลสูงของเด็กไทย
27/09/2024
ครอบครัวอบอุ่นด้วยแนวคิด ความสุข 8 ประการ
19/10/2024

การลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี คือก้าวแรกสู่การมีสุขภาพดีและยั่งยืน

เผยแพร่: 11

แพทย์หญิง เปรมกมล ภัทรอิทธิกุล แพทย์ศัลยศาสตร์ผ่าตัดส่องกล้อง
ศูนย์กาญแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคอ้วนทุพพลภาพ (ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) 40 kg/m2 ) ส่งผลต่อทุกระบบในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มโรคทางเมตาบอลิซึม (metabolic syndrome) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ไขมันเกาะตับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ เช่น ถุงน้ำรังไข่ เป็นผลให้มีบุตรยาก นอกจากนั้นยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งอีกหลายชนิด เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งลำไส้ และโรคมะเร็งหลอดอาหาร จากผลกระทบของโรคอ้วนทุพพลภาพที่กล่าวมาแล้ว ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้กลุ่มนี้แย่ลง และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต

แพทย์หญิง เปรมกมล ภัทรอิทธิกุล แพทย์ศัลยศาสตร์ผ่าตัดส่องกล้อง ศูนย์กาญแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคอ้วนทุพพลภาพ คือ ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) 40 kg/m2 ส่งผลต่อทุกระบบในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มโรคทางเมตาบอลิซึม (metabolic syndrome) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น ไขมันเกาะตับ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคข้อเข่าเสื่อม ทั้งยังมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ เช่น ถุงน้ำรังไข่ เป็นผลให้มีบุตรยาก นอกจากนั้นยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งอีกหลายชนิด เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งลำไส้ และโรคมะเร็งหลอดอาหาร จากผลกระทบของโรคอ้วนทุพพลภาพที่กล่าวมาแล้ว ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้กลุ่มนี้แย่ลง และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต

เมื่อไหร่ถึงเรียกว่าอ้วน ประเมินด้วย 2 วิธีง่าย ๆ

1. ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) 30 kg/m2 [Body Mass Index (BMI) = (น้ำหนัก kg) / (ส่วนสูง เมตร)]

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)เกณฑ์การแบ่ง
< 18.5น้ำหนักน้อย
18.5 – 24.9น้ำหนักปกติ
25 – 29.9น้ำหนักเกิน
30 – 34.9โรคอ้วนระดับที่ 1
35 – 39.9โรคอ้วนระดับที่ 2
40โรคอ้วนระดับที่ 3 หรือ โรคอ้วนทุพพลภาพ

2. Body fat composition: ไขมันสะสมในร่างกาย ผู้หญิง > 30%, ผู้ชาย > 25%

โรคอ้วนสามารถรักษาได้และยังช่วยลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนดังกล่าวข้างต้นอีกด้วยวิธีการรักษาโรคอ้วนมี 4 วิธี

1. Lifestyle modification: การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกกินอาหารที่เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มการเผาผลาญ

2. Medication: ใช้ยาที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์ เพื่อช่วยในการลดและควบคุมน้ำหนัก ซึ่งมักจะต้องมาพบแพทย์ และได้รับการสั่งจ่ายยาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามข้อบ่งชี้ในการใช้ยา เพื่อให้สามารถลดน้ำหนักได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

3. Endoscopic Bariatric procedures: การทำหัตถการผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อลดน้ำหนัก เช่น การใส่บอลลูน การเย็บกระเพาะอาหารให้เล็กลง เป็นต้น

4. Bariatric surgery: การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก เช่น การตัดกระเพาะแบบสลีฟ การตัดกระเพาะแบบสลีฟพลัส หรือการตัดกระเพาะแบบบายพาส เป็นต้น

การลดน้ำหนักที่ได้ผลแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล การเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมจึงควรคำนึงถึงปัจจัยเฉพาะบุคคล เช่น สุขภาพพื้นฐานและวิถีชีวิต ดังนั้น การปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ได้คำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัยสำหรับแต่ละคน

ผู้สนใจสามารถปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : คลินิกควบคุมน้ำหนักและรักษาโรคอ้วน หน่วยศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาลบาล ศูนย์กาญแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ให้บริการตรวจวินิจฉัยและประเมินสุขภาพ: บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การวินิจฉัยโรคอ้วนและโรคที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการประเมินความเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิก โทร 0 2849 6600 ต่อ 2591-2


เรียบเรียงบทความ โดย คุณสุทธิรัตน์ สวัสดิภาพ
นักประชาสัมพันธ์ งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป