มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม” (Mahidol University Social Engagement Forum 2021 – MUSEF 2021)

มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม” MU Social Engagement Forum 2021 (MUSEF 2021)
21/09/2021
มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีและมอบรางวัลให้แก่ ผู้ส่งผลงานประเภท Oral Presentation และ Poster ใน “งานมหกรรมมหิดลเพื่อสังคม MU Social Engagement Forum 2021 (MUSEF 2021)”
27/10/2021

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม” (Mahidol University Social Engagement Forum 2021 – MUSEF 2021)

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2564 ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม” (Mahidol University Social Engagement Forum 2021 – MUSEF 2021) ผ่านระบบออนไลน์ และบรรยายหัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อสังคม” จากนั้น ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายหัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดล กับ Sustainable Development Goals” ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทรงคุณวุฒิ บรรยายหัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดลเขยื้อนสังคม” ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมเสวนาหัวข้อ “มหาวิทยาลัยมหิดลกับการชี้นําสังคม: กรณีศึกษา COVID-19” เพื่อให้ความรู้ และข้อมูลสำคัญทั้งการรักษาพยาบาล การป้องกันการแพร่ระบาด วิธีการดูแลสุขภาพเบื้องต้น รวมถึงการมีส่วนผลักดันให้รัฐบาลกำหนดมาตรการ และนโยบายเพื่อควบคุมโรค และป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง

ภาคบ่าย มีการนำเสนอผลงานเชิงวิชาการรับใช้สังคมจากนักวิชาการและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย

– กิจกรรม Workshop จากกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัย และกลุ่มผู้ทำงานภาคสังคม ในหัวข้อต่างๆ อาทิ “MU Organic”, “การรณรงค์ลดการบริโภคเกลือโซเดียม”, “เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำกับการถักทอสันติภาพ”

– การนำเสนอผลงานประเภท Poster Presentation และ Oral Presentation เป็นการนำเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคมจากนักวิชาการและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้นำตัวเองออกไปลงพื้นที่จนค้นพบข้อประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ อีกทั้งได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ หรือ ความคิดเห็นร่วมกันกับผู้ที่มีความสนใจในประเด็นต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนา ต่อยอด หรืออาจขับเคลื่อนในระดับนโยบายต่อไปได้

– กิจกรรม Speed Networking พื้นที่แห่งการแบ่งปัน เพื่อทำความรู้จักระหว่างนักวิชาการและนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สนใจและผู้ทำงานภาคสังคม โดยแบ่งการพูดคุยเป็น 6 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มงานบริการชุมชน กลุ่มองค์กรตัวกลางภาคสังคม/ การสร้าง Social Impact หรือหน่วยงาน CSR องค์กร กลุ่มประเด็นเด็กและเยาวชน กลุ่มประเด็นสุขภาพ กลุ่มประเด็นผู้สูงอายุและInclusiveness และกลุ่มประเด็นวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม” (Mahidol University Social Engagement Forum 2021 – MUSEF 2021) ขึ้น เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักวิจัยและนักวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชน ตลอดจนได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย เพื่อร่วมกันสร้างกลไกการขับเคลื่อนหรือผลักดันงานวิจัยไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายที่จะช่วยแก้ปัญหาประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิชาการกับภาคสังคมให้เกิดความยั่งยืน โดยมีนักวิชาการ กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ภาคประชาสังคม เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากผ่านระบบออนไลน์

เครดิตภาพ: ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล