ภาคบ่าย มีการนำเสนอผลงานเชิงวิชาการรับใช้สังคมจากนักวิชาการและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วย
– กิจกรรม Workshop จากกลุ่มนักวิชาการและนักวิจัย และกลุ่มผู้ทำงานภาคสังคม ในหัวข้อต่างๆ อาทิ “MU Organic”, “การรณรงค์ลดการบริโภคเกลือโซเดียม”, “เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำกับการถักทอสันติภาพ”
– การนำเสนอผลงานประเภท Poster Presentation และ Oral Presentation เป็นการนำเสนอผลงานวิชาการรับใช้สังคมจากนักวิชาการและนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้นำตัวเองออกไปลงพื้นที่จนค้นพบข้อประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ อีกทั้งได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ หรือ ความคิดเห็นร่วมกันกับผู้ที่มีความสนใจในประเด็นต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนา ต่อยอด หรืออาจขับเคลื่อนในระดับนโยบายต่อไปได้
– กิจกรรม Speed Networking พื้นที่แห่งการแบ่งปัน เพื่อทำความรู้จักระหว่างนักวิชาการและนักวิจัย ของมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สนใจและผู้ทำงานภาคสังคม โดยแบ่งการพูดคุยเป็น 6 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มงานบริการชุมชน กลุ่มองค์กรตัวกลางภาคสังคม/ การสร้าง Social Impact หรือหน่วยงาน CSR องค์กร กลุ่มประเด็นเด็กและเยาวชน กลุ่มประเด็นสุขภาพ กลุ่มประเด็นผู้สูงอายุและInclusiveness และกลุ่มประเด็นวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงาน “มหกรรมมหิดลเพื่อสังคม” (Mahidol University Social Engagement Forum 2021 – MUSEF 2021) ขึ้น เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักวิจัยและนักวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณชน ตลอดจนได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย เพื่อร่วมกันสร้างกลไกการขับเคลื่อนหรือผลักดันงานวิจัยไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายที่จะช่วยแก้ปัญหาประเทศ รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิชาการกับภาคสังคมให้เกิดความยั่งยืน โดยมีนักวิชาการ กลุ่มผู้กำหนดนโยบาย ภาคประชาสังคม เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมากผ่านระบบออนไลน์
เครดิตภาพ: ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล