กองแผนงานใช้ค่านิยมมหาวิทยาลัย (MAHIDOL Core Value) เป็นแนวทางหลักในการดำเนินงาน ดังนี้
M – Mastery รู้แจ้ง รู้จริง สมเหตุ สมผล
A – Altruism มุ่งผลเพื่อผู้อื่น
I – Integrity มั่นคงยิ่งในคุณธรรม
กองแผนงานเป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านนโยบายและแผน โดยมุ่งเน้นการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (Budgeting Driven Strategy) ผลักดันและสนับสนุนให้ส่วนงานขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
1. ประสานการจัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยการจัดหาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นปัจจัยสำคัญ ต่อการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ (Management by Fact)
2. สร้างกลไกสู่การปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์
3. สนับสนุนและดำเนินงานวิจัยสถาบันเพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย เผยแพร่ และให้บริการข้อมูลด้านการวิจัย สถาบันและสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
4. การวิเคราะห์และจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ การติดตามและประเมินผล การใช้จ่ายงบประมาณ โดยมุ่งเน้นการใช้จ่ายงบประมาณ อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย (Budgeting Driven Strategy)
5. การออกแบบโครงสร้างองค์กร ทั้งระดับมหาวิทยาลัยและภายในส่วนงาน
1. รวบรวมและวิเคราะห์กลั่นกรองคำขอตั้งงบประมาณแผ่นดินเบื้องต้น และสรุปประเด็นความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติและตอบสนองนโยบายประเทศ
2. ตรวจสอบและวิเคราะห์การขอตั้งงบประมาณการรายรับ และรายจ่ายจากเงินรายได้ของส่วนงาน
3. ประสานส่วนงานและจัดทำข้อมูลสนับสนุนหน่วยงานภายนอก เช่น สำนักงบประมาณ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนกรมหรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการเสนอของบประมาณ รวมถึงการจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารประกอบการชี้แจงงบประมาณ
4. เร่งรัดและติดตามการใช้จ่าย และรายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายผ่านระบบของสำนักงบประมาณ และติดตามการใช้จ่ายงบประมาณเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย และบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศงบประมาณ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถดูข้อมูลได้แบบ real time
5. รวบรวมและวิเคราะห์กลั่นกรองคำขอตั้งงบประมาณเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย เพื่อวางแผนการจัดสรรงบประมาณสำหรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และให้การสนับสนุนส่วนงานตามนโยบายมหาวิทยาลัย
6. ตรวจสอบและวิเคราะห์ความถูกต้องสำหรับการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
1. วิเคราะห์ตัวชี้วัดของแต่ละ Ranking และเปรียบเทียบข้อมูลกับมหาวิทยาลัยคู่เทียบ เพื่อแสวงหาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมของมหาวิทยาลัย ในการสนับสนุนให้การเลื่อนอันดับ Ranking ของมหาวิทยาลัยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. สืบค้นและวิเคราะห์ข้อมูลจากฐานข้อมูล: WOS การวิจัย และ SciVal และ ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์ จาก league tables ต่างๆ เช่น Data Points/ Clarivate analytics/ QS Data Trackers
3. สนับสนุนข้อมูล SDGs เพื่อการจัดอันดับ THE Impact Rankings
4. ผลักดัน และสนับสนุนการดำเนินงานเชิงนโยบายที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย เช่น โครงการ Reinventing university โครงการ Flagship Projects (การจัดสรรทุน Specific League Fund และ การสนับสนุนทุน Scholarship for Ph.D. student)
5. สนับสนุนข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนและนโยบายของมหาวิทยาลัย
1. รวบรวมและจัดทำข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
2. ประสานงานการจัดทำโครงการ Flagship Projects ของมหาวิทยาลัย และรวบรวมผลการดำเนินงาน โดยจัดทำเป็น power point หรือ clip V.D.O เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง เช่น ที่ประชุมกรรมการสภามหาวิทยาลัย คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของอธิการบดี
3. ประสานงานการจัดทำ PA กับส่วนงาน ติดตามผลการดำเนินงาน ประมวลผลและประเมินระดับผลการดำเนินงานของส่วนงาน
4. ประสานงานการจัดทำข้อมูล และวิเคราะห์กลั่นกรองเบื้องต้นเพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างการแบ่งหน่วยงานภายในของส่วนงาน
5. รวบรวมข้อมูลสำคัญและโดดเด่นเพื่อจัดทำหนังสือรายงานประจำปี
6. รวบรวมและบันทึกข้อมูล MOU ฉบับภาษาไทย
7. ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานทั่วไปของกองแผนงาน (สารบรรณ/บุคคล/การเงิน/พัสดุ)
8. ประสานงานการดำเนินงานของกลุ่มภารกิจศูนย์ปฏิบัติการด้านชีววิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
1. สร้าง ecosystem ของระบบงานบริการวิชาการ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงของหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ให้เกิดทำงานร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ในการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อนำไปสู่นวัตกรรมการบริการวิชาการที่ตอบโจทย์สังคม ประเทศ และมหาวิทยาลัย
2. เชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยมีความชำนาญกับความต้องการของสังคม
- จัดกิจกรรม พบปะ สำรวจหาความต้องการของสังคม ชุมชน
- จัดเวที ช่องทางเพื่อเผยแพร่ความเชี่ยวชาญของบุคลากร
- สนับสนุนการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
- สนับสนุนบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย และ การบริการวิชาการ
3. วางระบบกำกับดูแลมาตรฐานและจรรยาบรรณการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการให้บริการอย่างมีคุณภาพ คำนึงถึงประโยชน์ของผู้รับบริการ และภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
4. สนับสนุน ผลักดันให้เกิดการกำหนดนโยบายสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม และการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วยผลงานวิชาการรับใช้สังคม และการดำเนินงานด้านพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคมที่ก่อให้เกิด impact ต่อสังคม
- ผลักดันให้มีการนำผลงานวิจัยไปกำหนดเป็นนโยบายหรือกฎหมายระดับประเทศ
- ส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการด้วยผลงานวิชาการรับใช้สังคม
- เป็นที่พึ่งของสังคมผ่านการให้บริการในรูปแบบ social engagement และ ขับเคลื่อนพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคม
5. รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลงานบริการวิขาการของทุกส่วนงาน และสร้างเครือข่ายการให้บริการวิชาการ