ผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ.2551
แนวคิดหลัก มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University)
ผังแม่บทมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551 มีแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ที่ต้องการสร้าง “มหาวิทยาลัยเมืองในฝัน” มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะทางกายภาพที่ตอบสนองสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนเป็นบ้านที่สอง และเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของชาวมหิดลทั้งมวล องค์ประกอบด้านกายภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะสร้าง “เมืองมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้และอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ” (“A Promise Place to Live and Learn Together with Nature ”)
- ด้านสังคม คือ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
- ด้านกายภาพ คือ สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกอาคารที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยและการศึกษา
- ด้านสิ่งแวดล้อม คือ สภาพแวดล้อมที่เป็นองค์รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์และสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
ตลอดจนชุมชนโดยนอกมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University) เป็นแนวคิดหลักที่สำคัญในการสร้างมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับธรรมชาติ สร้างมหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนเป็นสวนพฤกษศาสตร์ (Arboretum) อันเป็นแนวทางหลักของการพัฒนามหาวิทยาลัย นำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่บูรณาการสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น ส่งเสริมสุขภาวะ สะอาด ปราศจากมลพิษ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย กลมกลืนกับธรรมชาติ มีพื้นที่โล่ง พื้นที่ สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและเอื้อต่อกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เพื่อให้นักศึกษาและประชาคมชาวมหิดล สามารถอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น การพัฒนาดังกล่าว ยังมุ่งหมายให้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นผู้นำแก่ชุมชนข้างเคียงทางด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอีกด้วย
กลยุทธ์ 3 Greens ในการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University)
- Greens 1 Save and Healthy Campus เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและบรรยากาศที่ดีและปลอดภัยในการทำงาน
– มีความหลากหลายของพืชพรรณต่างๆ ทั้งพืชพรรณท้องถิ่น พืชสมุนไพร และพืชพรรณเพื่อการศึกษาวิจัย
– เพิ่มปริมาณต้นไม้ในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่กิจกรรม ทางเดินต่างๆ
– สร้างสวนและภูมิทัศน์ ที่มีเอกลักษณ์และเหมาะสมกับพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม
ของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
– ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษด้วยเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้ Gray Water
เพื่อรดน้ำต้นไม้ รีไซเคิลขยะ และการลดมลภาวะทางอากาศโดยไม่สนับสนุนให้ใช้รถยนต์ การเผาขยะ
สนับสนุนการปลูกต้นไม้ และการใช้จักรยานแทนการใช้รถยนต์
- Greens 2 Green Education & Technology สนับสนุนให้มีการเรียนการสอน การวิจัย การพัฒนา และ
การถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่นำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
– เพิ่มหลักสูตรหรือวิชาเลือก ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและการจัด
บริการวิชาการและการศึกษาต่อเนื่องด้านการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม
– เน้นวิจัยด้านวิทยาศาสตร์อนุรักษ์ฟื้นฟูและเพิ่มคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
– พัฒนานวัตกรรมขบวนการและเทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
– พัฒนาความรู้ทางวิทยาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อปกป้องสภาพแวดล้อม ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดลและ
พื้นที่ชุมชนโดยรอบ
- Greens 3 Green Preservation Energy มหาวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อทำให้เกิดการใช้
ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุด
– ออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน การใช้แสงธรรมชาติ และการลดอุณหภูมิภายนอกอาคาร
– ลดการใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง Fuel oil และเปลี่ยนเป็นพาหนะที่ใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานทดแทน
สนับสนุนการเดินและการใช้จักรยาน สนับสนุนระบบขนส่งมวลชน
– เพิ่มทางเลือกการใช้พลังงานทดแทนประเภทต่างๆ ทั้งเพื่อการขนส่งและการใช้ในชีวิตประจำวัน
– การบริหารจัดการที่ดี ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เช่น การปิดไฟตอนกลางวัน ลดปริมาณการใช้
เครื่องปรับอากาศและใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น
ประโยชน์ที่ดิน การพัฒนาระบบภูมิทัศน์ การพัฒนาระบบสัญจร การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ และการควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง
- การพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและเกิดกลุ่มก้อนของกิจกรรมเดียวกันให้ชัดเจน ควบคุมการเติบโตของกิจกรรมต่างๆ และอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่ดีไว้เป็นทรัพยากรสำคัญของมหาวิทยาลัย
1.1 หลักการและแนวคิด
1) จัดกลุ่มพื้นที่กิจกรรมประเภทเดียวกันให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือต่อเนื่องกันให้มากที่สุด เพื่อความเป็นสัดส่วนและ มีความเชื่อมโยง ทั้งในด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
2) เพิ่มความหนาแน่นของการใช้ที่ดิน ในอนาคตอย่างเพียงพอและเหมาะสม โดยคงรักษาพื้นที่ว่างไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด
3) จัดแบ่งพื้นที่ในแต่ละกลุ่มพื้นที่กิจกรรมออกเป็นระบบบล็อกย่อย (Sub-block System)
4) กำหนดพื้นที่สีเขียวและที่ว่างสำคัญ เพื่อการสงวนรักษาให้เป็นปอดของมหาวิทยาลัยและชุมนุมมหิดล
1.2 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
โซนที่ 1 | การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการศึกษา | |
บล็อกที่ 1/1 พื้นที่การศึกษาหลัก | ||
บล็อกที่ 1/2 พื้นที่การศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม | ||
บล็อกที่ 1/3 พื้นที่การศึกษาด้านสุขภาพ | ||
โซนที่ 2 | การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการบริหารและบริการกลาง | |
บล็อกที่ 2/1 บริเวณศูนย์การเรียนรู้มหิดลและสวนเจ้าฟ้า | ||
บล็อกที่ 2/2 บริเวณมหิดลสิทธาคาร | ||
โซนที่ 3 | การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการวิจัยและบริการวิชาการ | |
บล็อกที่ 3/1 พื้นที่ศูนย์การวิจัยหลัก | ||
บล็อกที่ 3/2 พื้นที่บริการวิชาการ | ||
บล็อกที่ 3/3 พื้นที่ศูนย์การวิจัย | ||
บล็อกที่ 3/4 พื้นที่บริเวณด้านทิศใต้ของถนนบรมราชชนนี | ||
โซนที่ 4 | การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย | |
บล็อกที่ 4/1 บริเวณส่วนพักอาศัยของนักศึกษา | ||
บล็อกที่ 4/2 บริเวณอาคารพักอาศัยของนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร(คอนโด) | ||
โซนที่ 5 | การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการกีฬาและนันทนาการ | |
บล็อกที่ 5/1 พื้นที่ศูนย์กีฬา | ||
บล็อกที่ 5/2 พื้นที่กีฬาและนันทนาการกลางแจ้ง 1 | ||
บล็อกที่ 5/3 พื้นที่กีฬาและนันทนาการกลางแจ้ง 2 | ||
โซนที่ 6 | การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสาธารณูปโภค | |
บล็อกที่ 6/1 บริเวณอาคารระบบบำบัดน้ำเสีย | ||
บล็อกที่ 6/2 บริเวณอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ | ||
บล็อกที่ 6/3 บริเวณสถานีไฟฟ้าย่อย | ||
โซนที่ 7 | พื้นที่ซึ่งส่วนราชการอื่นขอใช้ คือ บริเวณโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | |
โซนที่ 8 | ที่ดินเขตผลประโยชน์เพื่อการพาณิชยกรรม | |
บล็อกที่ 8/1 พื้นที่เพื่อการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ | ||
บล็อกที่ 8/2 บริเวณ MU Corner | ||
โซนที่ 9 | การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม | |
บล็อกที่ 9/1 บริเวณอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ | ||
บล็อกที่ 9/2 พื้นที่สีเขียวด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ | ||
บล็อกที่ 9/3 พื้นที่สีเขียวด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ |
ผังแสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน
ผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ฉบับปี 2551
2. การพัฒนาระบบภูมิทัศน์
- 2.1 แนวคิด ในการพัฒนาระบบภูมิทัศน์มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ต้องการสรรสร้าง-ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่นและร่มเย็น ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 3 ประการ ดังนี้ประการแรก คือ การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวที่อุดมไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ รวมทั้งรักษาระบบนิเวศของพื้นที่แต่ละส่วน ให้มีสภาพเป็นธรรมชาติเดิมให้มากที่สุดประการที่สอง คือ การนำพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวมาพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับกิจกรรม กีฬา นันทนาการ หรือเพื่อกิจกรรมการศึกษา และเป็นองค์ประกอบอาคารและสิ่งก่อสร้างอย่างสมดุลประการที่สาม คือ การสร้างแนวแกนหลักสีเขียวและเส้นทางสีเขียว (Green Way) ที่เชื่อมต่อพื้นที่ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งพักอาศัยท่ามกลางธรรมชาติอย่างบูรณาการ 2.2 การพัฒนาระบบภูมิทัศน์ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ประกอบด้วย 2.2.1 แนวแกนหลักมหาวิทยาลัย (University Axis) ประกอบด้วย 1) แนวแกนสีเขียวตะวันออก-ตะวันตก เป็นแกนหลักของการเดินเท้าและการขี่จักรยานภายในส่วนพื้นที่การศึกษา เชื่อมตั้งแต่ประตู 3 จนถึงถนนด้านหน้าหอพักนักศึกษาและพื้นที่ศูนย์กีฬา2) แนวแกนสีเขียวเหนือ-ใต้ เป็นแกนหลักของถนน การเดินเท้าและการขี่จักรยาน เริ่มตั้งแต่ประตูและถนนด้านข้างมหิดลสิทธาคาร แยกจากถนนบรมราชชนนี เชื่อมถนนถิ่นวิทยาการ ไปยังถนนศาลายาไทยาวาส-นครชัยศรี
ผังแสดงแนวแกนหลักของมหาวิทยาลัย
2.2 มุมมอง ที่หมายตา และช่องนำสายตา กำหนดมุมอง ที่หมายตา และช่องนำสายตา เพื่อสร้างภาพลักษณ์ทางกายภาพที่สวยงาม เป็นที่จดจำและเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย สร้างความรับรู้เกี่ยวกับทิศทางและเส้นทาง ตลอดจนสร้างทัศนียภาพที่ร่มรื่น
ผังแสดงมุมมอง ที่หมายตา และช่องนำสายตา
2.3 พื้นที่สำหรับกิจกรรม การออกแบบพื้นที่ภายนอกอาคารเพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ของประชาคมในมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมให้ประชาคมได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น โดยลักษณะของพื้นที่กิจกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ลานกิจกรรม ทางเดินกิจกรรม และจุดบริการ เพื่อสนับสนุนการมีสุขภาพที่ดี และความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนทุกช่วงอายุ สอดคล้องกับ SDGs ข้อที่ 3 Good Health and well-being
2.4 โครงข่ายพื้นที่สีเขียว การเชื่อมต่อพื้นที่สวนสาธารณะประเภทต่างๆ ด้วยแนวเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียว(Green Circulation) ในลักษณะสวนทางเดิน ทำให้เกิดเป็นพื้นที่สีเขียวต่อเนื่องขนาดใหญ่ เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และอนุรักษ์ระบบนิเวศทางบก การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อที่ 15 ( Life on Land )
ผังแสดงพื้นที่กิจกรรมและโครงข่ายพื้นที่สีเขียว
2.5 ระบบพื้นที่เพื่อการกีฬาและนันทนาการ การจัดพื้นที่สำหรับกิจกรรมกีฬาและการออกกำลังกายแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ พื้นที่สนามกีฬาหลัก พื้นที่สนามหญ้าเพื่อการออกกำลังกาย สระน้ำสำหรับพายเรือเล่น และเส้นทางจักรยานเพื่อการพักผ่อนและออกกำลังกาย
ผังแสดงพื้นที่เพื่อการกีฬาและนันทนาการ
2.2.6 ระบบการใช้ต้นไม้ เพื่อการใช้ประโยชน์ (Planting Use System) การคำนึงถึงระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระดับเรือนยอดต้นไม้ โดยการเชื่อมโยงระบบนิเวศ ทั้งที่มีอยู่เดิมและที่สร้างขึ้นใหม่ ให้มีความเขียวร่มรื่นเป็นธรรมชาติ เข้าด้วยกันด้วยแนวคิด Tree Canopy Landscape Ecology แนวคิดที่สำคัญคือ การพิจารณาขนาดของต้นไม้ทั้ง 3 ขนาด ได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน
แสดงแนวคิด Tree Canopy Landscape Ecology
ผังแสดงระบบการใช้ต้นไม้ (Planting System)
2.2.7 แนวคิดการเลือกพรรณไม้ (Landscapes Planting Concept) การเลือกพรรณไม้สำหรับพื้นที่ประเภทต่างๆ แนวคิดที่สำคัญสองประการ คือ เลือกพรรณไม้ แบ่งตามความสำคัญของถนนแต่ละเส้น และเลือกพรรณไม้แบ่งตามลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่สวน
ผังแสดงพื้นที่สีเขียวและแนวคิดการเลือกพรรณไม้
2.2.8 การให้แสงสว่าง (Lighting Concept) นอกจากแนวคิดการออกแบบสวนประเภทต่างๆ แล้ว การคำนึงถึงพื้นที่ใช้งานยามค่ำคืน ก็เป็นสิ่งสำคัญซึ่งต้องมีการกำหนดแนวทางการออกแบบ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สอดคล้องกับการใช้งาน โดยมีหลักแนวคิด คือ การพิจารณาความสว่างของพื้นที่ ให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะแต่ละพื้นที่ ซึ่งผังแม่บท ได้กำหนดค่าความสว่างที่เหมาะสม ตามมาตรฐานการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม
ผังแสดงระบบแสงสว่างในงานภูมิทัศน์
- การพัฒนาระบบการสัญจร
3.1 แนวคิด
ส่งเสริมการพัฒนาระบบถนนและที่จอดรถ ระบบทางจักรยาน และระบบทางเดินเท้าให้สอดคล้องกับแนวคิดของมหาวิทยาลัยสีเขียว(Green University) ประกอบด้วย ความปลอดภัย (Safety) ความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Tidiness) ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Environmentally Sound) ความพึงพอใจของชุมชน (Community Satisfaction) โดยมีแนวคิด ในการการพัฒนา ดังนี้
1) การเปลี่ยนมหาวิทยาลัยที่เน้นการสัญจรทางรถยนต์ไปเป็นการเดินเท้าและการขี่จักรยานโดย ลดความสำคัญของการสัญจรทางรถยนต์ ด้วยการปรับลดผิวถนนสายหลักให้เหลือเพียง 3 เลน ไม่มีเกาะกลาง โดยปรับพื้นผิวถนนเดิมมาเป็นทางเดินเท้าและจักรยาน พร้อมภูมิทัศน์ที่ร่มรื่น
2) จัดทางสัญจรทางรถให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการพัฒนาใหม่เท่าที่จำเป็นอย่างเพียงพอ
3) ควบคุมเส้นทางสัญจรทางรถไว้ที่พื้นที่รอบนอกกลุ่มอาคารการศึกษา เพื่อรักษาพื้นที่ภายในส่วนการศึกษาไว้สำหรับการเดินและการขี่จักรยานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ความร่มรื่น และใกล้ชิดกับธรรมชาติ
4) ก่อสร้างอาคารจอดรถ และปรับพื้นที่จอดรถเดิมเป็นที่ว่างสีเขียวเพื่อรองรับกิจกรรมของนักศึกษาและบุคลากร 5) เน้นบริการรถขนส่งสาธารณะและการสัญจรในมหาวิทยาลัยด้วยการเดินและขี่จักรยาน
3.2 ระบบถนนและที่จอดรถยนต์
3.2.1 เส้นทางโครงข่ายคมนาคม จำแนกเป็น
– | ถนนสายหลัก 7 สาย ทำหน้าที่เป็นทางสัญจรเข้า-ออก และเส้นทางหลักไปยังพื้นที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย |
– | ถนนสายรอง 10 สาย ทำหน้าที่เป็นถนนเชื่อมต่อกับถนนสายหลักเข้าสู่พื้นที่ภายในหน่วยงานต่างๆ |
– | ถนนบริการและทางสัญจรในหน่วยงาน |
– | ถนนคนเดินและการบริการเฉพาะช่วงเวลา |
ผังแสดงถนนสายหลัก-สายรอง
3.2.2 การเข้าออกและทิศทางการสัญจร กำหนดให้มีประตูทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัย 7 ประตู
3.2.3 ระบบการจอดรถและที่จอดรถยนต์ เสนอให้ก่อสร้างอาคารจอดรถขึ้น 4 อาคาร เพื่อรองรับจำนวนรถยนต์ประมาณ 2,000 คันในอนาคต พร้อมกับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อขนส่งผู้ใช้รถยนต์ไปยังส่วนต่างๆ โดยในระยะเร่งด่วนในระหว่างที่ยังไม่ก่อสร้างอาคารจอดรถ ให้ก่อสร้างที่จอดรถชั่วคราว
ผังแสดงถนน ทางเดินรถ อาคารจอดรถ
3.3 ระบบเส้นทางจักรยาน และที่จอดจักรยาน
ประกอบด้วยเส้นทางจักรยานสายหลักและสายรองขนานไปกับทางเดิน โดยแยกช่องทางเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและร่มรื่น กระตุ้นให้เกิดการใช้จักรยานในการสัญจรมากขึ้น
ผังแสดงแสดงเส้นทางจักรยาน
ผังแสดงทางจักรยานและจุดจอดจักรยาน
3.4 ระบบทางเดินเท้า ประกอบด้วยทางเดินสายหลักและสายรอง มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของทางเท้าที่สอดคล้องกับกิจกรรมและการเชื่อมต่อกับระบบภูมิทัศน์ โดยคำนึงถึงความสะดวกในการเข้าถึง ความปลอดภัย และการเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
ผังแสดงทางเดินเท้า
ผังแสดงทางเดินเท้ามีหลังคาคลุม
3.5 ขนาดของถนน การพัฒนาระบบการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย ตามผังแม่บท ฉบับปี ๒๕๕๑ ได้กำหนดขนาดของเส้นทางการจราจร ถนนสายหลัก ถนนสายรอง และถนนบริการและสัญจรภายในหน่วยงาน ตัวอย่างเช่น
3.6 ระบบขนส่งมวลชนภายใน (Shuttle bus) แนวคิดหลักในการจัดระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดการใช้รถยนต์ภายในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งสนับสนุนการเดินเท้าและการใช้จักรยาน
ผังแสดงเส้นทางรถขนส่งสาธารณะ
- การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ
การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค อันได้แก่ ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบสุขาภิบาล ศูนย์การบริการ ระบบสื่อสาร ระบบโทรศัพท์ ระบบการจัดการขยะ และแนวคิดระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต โดยคำนึงถึงการลดการใช้พลังงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม การลดการใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัย การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เป็นตัวอย่างแก่ชุมชน
ผังแสดงแนวระบบไฟฟ้า
ผังแสดงแนวเมน DUCT BANK ระบบสื่อสาร
ผังแสดงระบบท่อจ่ายน้ำประปา
ผังแสดงแนวคิดการปรับปรุงระบำบัดน้ำเสีย
ผังแสดงแนวคิดแนวคิดปรับปรุงระบบระบายน้ำฝน+กันน้ำท่วม
ผังแสดงจุดบริการสาธารณะภายในมหาวิทยาลัย
ผังแสดงโทรศัพท์สาธารณะและฉุกเฉิน
ผังแสดงเส้นทางรถขยะและจุดพักขยะ
- การควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง
เพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารในอนาคต โดยการควบคุมระบบการวางผังอาคารและสิ่งก่อสร้าง ให้มีการใช้ที่ดินที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม และมีลักษณะอาคารสอดคล้องกับอาคารข้างเคียงอย่างเป็นระบบ เพื่อความงดงามและ ลดความแออัดของอาคารในพื้นที่ มีการกำหนดทางเข้าออกอาคาร ทางบริการ การเปิดมุมมองและทางสัญจรจากภายในสู่ภายนอกอาคารเพื่อเชื่อมธรรมชาติกับอาคารให้เป็นหนึ่งเดียว โดยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเกิดอาคาร และการออกแบบอาคารในอนาคต ดังนี้
5.1 รูปผังอาคาร รูปแบบอาคารในแผนอนาคตจะต้องมีการพิจารณาถึงลักษณะผังอาคาร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบ เช่น ช่องเปิด มุมมอง พื้นที่เปิดโล่ง รูปแบบอาคารเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และการเชื่อมต่อในการใช้งาน
ผังแสดงแผนการก่อสร้างอาคาร ตามผังแม่บท
แสดงแปลนตัวอย่างการเปิดชั้นล่างโล่งสู่พื้นที่ว่างรอบ
แสดงภาพตัดตัวอย่างการเว้นที่ว่างระหว่างอาคารและภูมิทัศน์รอบอาคาร
แสดงแปลนตัวอย่างการเว้นที่ว่างและเปิดช่องว่าง
5.2 ความสูงอาคาร กำหนดแนวทางควบคุมความสูงของอาคาร โดยพิจารณาในแต่ละพื้นที่ บริบท อาคารข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากอาคารสูงบดบังทัศนียภาพต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และปฏิบัติตามกฎหมาย
การกำหนดความสูง(จำนวนชั้น)ของอาคารสร้างใหม่ตามผังแม่บท
พื้นที่ควบคุมความสูงอาคาร ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2549
5.3 ระยะถอยร่นอาคาร กำหนดแนวถอยร่นอาคารเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของแนวอาคารให้มีความต่อเนื่องกับอาคารเดิม ป้องกันการเกิดปัญหาความแออัดของอาคาร และพื้นที่เปิดโล่งทำให้อาคารได้รับแสงธรรมชาติ ช่องมองทางสายตา และพื้นที่กิจกรรมเพิ่มขึ้น
ผังระยะร่นอาคาร
5.4 ระยะร่นระหว่างอาคาร การพัฒนาและการขยายตัวต่อไปในอนาคต ต้องการพื้นที่ก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องการพื้นที่ว่างระหว่างอาคารเพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ดังนั้น ระยะห่างระหว่างอาคาร จึงควรกำหนดตามความเหมาะสมของกิจกรรม ของบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดิน และความต้องการเพิ่มคุณภาพทางสิ่งแวดล้อม โดยระยะร่นระหว่างอาคาร น้อยที่สุดไม่ควรต่ำกว่า 8 เมตร
แสดงระยะห่างระหว่างอาคาร
ผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ.2551 สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs)
เป้าที่ 3 พื้นที่กิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านสุขภาพ สุขอนามัย กีฬา การออกกำลังกาย และความเป็นอยู่ที่ดี (ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน)
เป้าที่ 4 พื้นที่กิจกรรมหรือโครงการที่ส่งเสริมการศึกษาที่เท่าเทียม การให้ความรู้/อบรมให้คนภายนอก การบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนการสอน
เป้าที่ 6 พื้นที่กิจกรรมหรือโครงการด้านการจัดการน้ำใช้ น้ำเสีย และมลภาวะทางน้ำ การประหยัด/ลดการใช้น้ำ การอนุรักษ์น้ำ การนำน้ำมาใช้หรือการชลประทานที่ยั่งยืนและความมั่นคงทางน้ำ
เป้าที่ 7 พื้นที่กิจกรรมหรือโครงการที่ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดใช้พลังงาน พลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด ส่งเสริมเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป้าที่ 12 พื้นที่กิจกรรมหรือโครงการที่ด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า การจัดการขยะ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เป้าที่ 13 พื้นที่กิจกรรมหรือโครงการด้านการจัดการรับมือภัยพิบัติ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าที่ 14 พื้นที่กิจกรรมหรือโครงการด้านการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ระบบนิเวศทางน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำทิ้ง
เป้าที่ 15 พื้นที่การใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ระบบนิเวศทางบก ความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ประจำถิ่น และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน