คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ ปริมาณรวมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซหัวเราะ เป็นต้น ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการ ตลอดวัฏจักรชีวิต ซึ่งแหล่งกำเนิดของก๊าซดังกล่าวมาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้ไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล กระบวนการในภาคอุตสาหกรรมหรือกสิกรรม เป็นต้น ซึ่งคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นการวัดผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการจากกิจกรรมของคนที่มีต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงปริมาณ โดยใช้ตัวบ่งชี้คือโอกาสในการเกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential; GWP)
ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
ทั้งนี้ ก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อนและถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจกมีจำนวนมาก ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ คือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทน ไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 7 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (Anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่
ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธีสารมอนทรีออลแล้ว
ที่มา
คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กร เช่น การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง ซึ่งวัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก แบ่งเป็น SCOPE ดังนี้
SCOPE I: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการบำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น
SCOPE II: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ เป็นต้น
SCOPE III: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่น ๆ (Other Indirect Emissions)
ได้แก่ การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
เป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์อย่างต่อเนื่องทั้งการใช้พลังงาน การเกษตรกรรม การพัฒนาและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง การตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบอื่น ๆ ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะโลกร้อน และนับวันปัญหาดังกล่าวก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำโปรแกรม MU Carbon Footprint ในปี 2558 เพื่อใช้เป็นระบบจัดเก็บฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะ/ส่วนงาน และพัฒนาโปรแกรม ECO Data เพื่อเก็บหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลสามารถประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ และเป็นการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ ตามยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน (Sustainability Resource Use) ของ นโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนายั่งยืน (Mahidol University Sustainability Action) ตามเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Ensure sustainable consumption and production patterns) ที่ครอบคลุมประเด็นการจัดการและการใช้ทรัพยากรธรรมธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action)
นอกจากนี้ เพื่อให้ส่วนงานมีความเข้าใจในการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint Organization) ได้อย่างมีมาตรฐาน จึงสนับสนุนส่วนงานจัดทำรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกและขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยการสร้างระบบการประเมินและทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย
โดยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ให้การสนับสนุนหน่วยงานในการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรดังนี้
วัตถุประสงค์
วิธีการดำเนินการ
ดำเนินการส่งใบสมัครและหลักฐานสำหรับการขอขึ้นทะเบียนแสดงเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และติดตามผลการขอขึ้นทะเบียนจนแล้วเสร็จตามขั้นตอนที่กำหนดโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) จนได้รับตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้ อบก. จะมีการจัดงาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ขึ้นในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี เพื่อเป็นการขอบคุณและมอบประกาศนียบัตรให้แก่องค์กรที่เข้าร่วมกิจกรรมและโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ภายใต้การดำเนินงานของ อบก.
โดยมีส่วนงานที่เข้าร่วมและได้รับการรับรองดังนี้
ปี 2560
ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล (Golden Jubilee Medical Center)
ปี 2561
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
พิธีเปิดโครงการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
ปี 2562
คณะทันตแพทยศาสตร์
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
Kick Off Carbon Footprint Organization คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ https://op.mahidol.ac.th/pe/2019/4060/
ปี 2563
วิทยาลัยนานาชาติ
วิทยาลัยนานาชาติเปิดโครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร
MUIC Receives Organization Carbon Footprint Assessment Award
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
และได้จัดทำ คู่มือการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงพยาบาล โครงการส่งเสริมกิจกรรมการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน download (pdf)
เป็นการสร้างความตระหนักในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริหารและบุคลากรให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นการสร้างต้นแบบผู้นำให้แก่ประชาคมมหิดล ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกิจวัตรประจำวันของผู้บริหารแต่ละท่านเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายบุคคลและดำเนินการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (Carbon Offsetting Program) หรือการซื้อคาร์บอนเครดิตมาชดเชย ซึ่งเป็นเครดิตที่ได้จากกิจกรรมที่ช่วยลด หรือทดแทนก๊าซเรือนกระจกที่เราปล่อยไปได้ เช่น การใช้พลังงานทางเลือก การใช้ก๊าซชีวภาพต่าง ๆ ฯลฯ และขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งหมายความว่า ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหิดลไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีนั้น
โครงการนี้เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2561 โดยทีมผู้บริหารมหาวิทยาลัยเข้าร่วมทั้งสิ้น 14 ท่าน และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 118 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ปี พ.ศ.2562 มีผู้บริหารเข้าร่วม 16 ท่าน และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 178 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ปี พ.ศ.2563 มีผู้บริหารเข้าร่วม 18 ท่าน และชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 219 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ทั้งสองโครงการนี้เป็นหนึ่งในการสร้างความมีประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของบุคลากร นักศึกษา และชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและองค์กรในการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนายั่งยืน (Mahidol University Sustainability Action) และเป็นตัวอย่างของหน่วยงานและสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ต่อไป
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เอกสารประกอบการอบรมการจัดทำคาร์บอนฟุตฟริ้นท์องค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล
https://op.mahidol.ac.th/pe/เอกสารเผยแพร่/#manual