“ก้าวสู่ศูนย์”

9 to Zero

ทั่วโลกล้วนประสบกับผลกระทบอันรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และภาวะโลกร้อน ซึ่งหากไม่เริ่มดำเนินการอย่างทันท่วงทีจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินจากภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้นานาประเทศให้ความสนใจในการแก้ปัญหา โดยได้มีการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ เพื่อบรรลุข้อตกลงและป้องกันภัยพิบัติร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ณ ปัจจุบันได้มีการจัดงานประชุมนี้ขึ้นมาแล้ว 26 ครั้ง (COP1-COP26)

การประชุม COP26 ยังคงยึดตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) คือ ที่มุ่งเป้าสู่การบรรลุปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ให้ได้ภายในปี 2050 เพื่อรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส เหนืออุณหภูมิในช่วงก่อนการพัฒนาอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดให้อุณภูมิโลกต่ำกว่านั้นประมาณ 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพิ่มเติมข้อตกลงย่อย ๆ เช่น การลดก๊าซมีเทน การยกเลิกการตัดไม้ทำลายป่า และการช่วยเหลือประเทศหมู่เกาะที่เปราะบางต่าง ๆ เป็นต้น

มหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่มนุษย์ จึงกำหนดนโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 13 การปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น (Climate Action) ซึ่งมุ่งระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาแบบคาร์บอนต่ำ ซึ่งควรดำเนินการควบคู่ไปกับการ

บูรณาการมาตรการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตลอดจนการส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี

“การมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายในปี พ.ศ.2573”

“9 to Zero” หรือ “ก้าวสู่ศูนย์” จึงเป็นแผนของมหาวิทยาลัยมหิดลที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในมหาวิทยาลัยสุทธิเป็นศูนย์ภายใน 9 ปี หรือ ภายในปี ค.ศ.2030 (พ.ศ.2573) ที่จะสนับสนุนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ โดยมีการตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกเทียบกับการคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรณีปกติ (Business As Usual) เป็น 3 ระยะ คือ

  • ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 65 % ภายใน พ.ศ.2567 (ค.ศ.2024)
  • ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 85 % ภายใน พ.ศ.2570 (ค.ศ.2027)
  • ลดก๊าซเรือนกระจกได้ 100 % ภายใน พ.ศ.2573 (ค.ศ.2030)

ดาวน์โหลด [download id=”12241″]

Download [download id=”12247″]

“ก้าวสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ.2030 ด้วย 9 หลักการ”