ส่วนงานหลัก: มหาวิทยาลัยมหิดล
ส่วนงานร่วม: คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันวิจัยโภชนาการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย
ผู้ดำเนินการหลัก: กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ดำเนินการร่วม: มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation)
มหาวิทยาลัยมหิดลมีพันธกิจในการพัฒนาบุคลากรของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และแอฟริกา โดยมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนร่วมจาก The Rockefeller Foundation ในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (Capacity building) เสริมสร้างเครือข่าย (Networking) ตลอดจนการผลักดันให้เกิดชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP) เพื่อขยายผลอย่างยั่งยืนในประเทศกำลังพัฒนา
โดยในความร่วมมือดังกล่าวมีโครงการจากส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 4 ส่วนงาน คือ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันวิจัยโภชนาการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ณ ปัจจุบันโครงการภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวมีกำหนดเริ่มดำเนินการในไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 และไตรมาสแรกของปี 2566 รายละเอียดของโครงการ มีดังนี้
กิจกรรมที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการ
มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการประชุมโครงการ Capacity Building for Sustainable Future in Developing Countries
ร่วมกับ Rockefeller Foundation
วันที่ 22 – 23 กันยายน 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานการประชุมโครงการ Capacity Building for Sustainable Future in Developing Regions โดยมี Mr.Eric Arndt, Director, Asia Regional Office จาก The Rockefeller Foundation ร่วมให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ในโอกาสนี้ ดร.สืบพงษ์ กอวชิรพันธ์ สถาบันโภชนาการ รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพล วิบูลยศริน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โชติรส พลับพลึง รองคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญาและวิเทศสัมพันธ์ คณะเทคนิคการแพทย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธารา น่วมภา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ ร่วมนำเสนอโครงการผ่านระบบออนไลน์
โครงการดังกล่าว เป็นความร่วมมือของ กองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันโภชนาการ และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย และตั้งเป้าหมายในการนำองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยมหิดลไปสู่การสร้างศักยภาพ (capacity building) ด้วยการสนับสนุนจาก The Rockefeller Foundation และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อฝึกอบรม สร้างเครือข่ายและการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ (community of practice) อย่างยั่งยืน
Key message
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรโดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลก (Train the Trainers) นำไปสู่การยกระดับการรักษาพยาบาล การสร้างเครือข่าย และการกระจายองค์ความรู้สู่การพัฒนาทางการแพทย์นอกประเทศ (Training the Others) โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา
ตัวชี้วัด
-
จำนวนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข / จำนวนบุคลากร ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
SDG อื่นๆ ที่สอดคล้อง
-
SDG 4 – Quality Education (Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all)
-
รายละเอียดหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 10 หลักสูตรภายใต้ SDGs 14 – Quality Education…click here
SDGs หลัก
-
SDG 17 – Partnerships for the goals (Strengthen the means of implementation and revitalize the global partnership for sustainable development)
-
รายละเอียดกิจกรรมกองวิเทศสัมพันธ์ ที่ดำเนินการภายใต้เป้าหมายที่ 17 (SDG 17) …click here
-
SFG ย่อย
17.2 Relationships with NGOs, Regional and National Government
- 17.2.5 Collaboration with NGOs for SDGs
ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
-
Education for Sustainability
The Impact Ranking
-
Education for the SDGs (27.2%)