การฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสาหรับบุคลากรทางการแพทย์

จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ตามพระราชดาริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

           สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี พร้อมกับได้พระราชทานเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลแขวงต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาล และด้วยทรงตระหนักว่าสุขภาพของประชาชนนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้น การพัฒนางานการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี จึงจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความรู้และความชำนาญ รวมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทันสมัย สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้จัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในหลักสูตรต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา
           โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการบริหารงานแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรของทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และประสานความร่วมมือกันในการพัฒนางานการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ กรมความร่วมมือ กระทรวงการต่างประเทศ และ สำนักงานโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สำนักพระราชวัง ได้ดำเนินการจัดการหลักสูตรฝึกอบรมทางการแพทย์และสาธารณสุขเฉพาะทางและหลักสูตรการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อาทิ หลักสูตรวิสัญญีวิทยา (Anesthesiology Program) หลักสูตรกุมารเวชศาสตร์ (Pediatrics Program) หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ (Nursing Program) หลักสูตรเวชศาสตร์ชันสูตร (Medical Laboratory Diagnosis) หลักสูตรทันตแพทยศาสตร์ (Dentistry Program) หลักสูตรโรคเมืองร้อน (Tropical Medicine Program) หลักสูตรเภสัชศาสตร์ (Pharmacy Program) และหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (Public Health Program) ให้แก่บุคลากรของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 จนถึงปัจจุบัน โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไปแล้วเป็นจำนวนรวม 1144 คน
             อนึ่ง เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ทำให้ไทย และ สปป.ลาว ปิดพรมแดนไม่สามารถเดินทางระหว่างกันได้ ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนางานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสาหรับบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยได้ปรับรูปแบบ ใน พ.ศ. 2565 เช่น การจัดอบรมผ่านระบบออนไลน์ โดยในปี 2565 นี้ มหาวิทยาลัยมหิดล จะจัดการอบรมให้บุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใน 7 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา 2) หลักสูตรกุมารเวชศาสตร์  3) หลักสูตรโรคเมืองร้อน  4) หลักสูตรการพยาบาลเด็ก 5) หลักสูตรเภสัชศาสตร์ 6. หลักสูตรการบริหารงานโรงพยาบาล 7. หลักสูตรโภชนาการ เป็นจำนวน 32 คน

ความเป็นมา

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดาเนินเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี พร้อมกับได้พระราชทานเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลแขวงต่างๆ ตามความต้องการของโรงพยาบาล เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของโรงพยาบาล และด้วยทรงตระหนักว่าสุขภาพของประชาชนเป็นสิ่งสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้น การพัฒนางานการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี จึงจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีความรู้และความชำนาญ รวมทั้งเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ทันสมัย ประกอบกับในระยะเวลาที่ผ่านมาสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในหลักสูตรต่าง ๆ ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการบริหารงานแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรของทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และประสานความร่วมมือกันในการพัฒนางานการแพทย์และสาธารณสุข ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อไป ในปี 2017 ได้มีการหารือร่วมกันคณะทำงานฝ่ายไทย และ สปป.ลาว โดยได้จัดทาแผนการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขขึ้น เป็นแผนระยะ 5 ปี ค.ศ.2019 – 2023 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขของ สปป.ลาวให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ทำให้ไทย และ สปป.ลาว ปิดพรมแดนไม่สามารถเดินทางระหว่างกันได้ ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนางานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสาหรับบุคลากรทางการแพทย์จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รุ่นที่ 24 ใน ค.ศ. 2022 โดยปรับรูปแบบเช่นการอบรมผ่านระบบออนไลน์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในด้านการตรวจวินิจฉัย การรักษาโรค การดูแลผู้ป่วย การดูแลสุขภาพการใช้ยา การบริหารงานสาธารณสุข และงานโภชนาการ
  2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการเขียนและการนาเสนอผลงานทางวิชาการ
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์

หลักสูตรการฝึกอบรม

เป็นการฝึกอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ได้แก่

  1. หลักสูตรสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา (Obstetrics and Gynecology Program)
  2. หลักสูตรกุมารเวชศาสตร์ (Pediatrics Program)
  3. หลักสูตรโรคเมืองร้อน (Tropical Medicine Program)
  4.  หลักสูตรการพยาบาลเด็ก (Pediatric Nursing Program)
  5. หลักสูตรเภสัชศาสตร์ (Pharmacy Program)
  6. หลักสูตรการบริหารงานโรงพยาบาล (Hospital Administration Program)
  7. หลักสูตรโภชนาการ (Nutrition Program)

ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในปี พ.ศ. 2565 ( 7 หลักสูตร จำนวน 32 คน)

หลักสูตร จำนวนผู้เข้าร่วม (คน)
1. หลักสูตรสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา 3
2. หลักสูตรกุมารเวชศาสตร์  3
3. หลักสูตรโรคเมืองร้อน  5
4. หลักสูตรการพยาบาลเด็ก  5
5. หลักสูตรเภสัชศาสตร์  3
6. หลักสูตรการบริหารงานโรงพยาบาล  10
7. หลักสูตรโภชนาการ  3
รวม  32

วิธีการฝึกอบรม ประกอบด้วย

การจัดการเรียนการสอน ผ่านระบบออนไลน์

การศึกษาดูงาน

ระยะเวลาในการฝึกอบรม แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

 

ระยะที่ 1 การจัดการเรียนการสอน ผ่านระบบออนไลน์
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 17 มีนาคม 2022
ระยะที่ 2 การทำวิจัยเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพ/ทักษะงานวิจัยผู้เข้ารับการฝึกอบรม
เดือนมีนาคม – กันยายน 2022
ระยะที่ 3 การศึกษาดูงาน ณ ประเทศไทย
ระยะเวลาประมาณ 14 วัน โดยจะจัดในช่วงสถานการณ์ โควิด 19 ดีขึ้น

สถานที่ฝึกอบรม

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
    • หลักสูตรสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา
    • หลักสูตรกุมารเวชศาสตร์
    • หลักสูตรการพยาบาลเด็ก
    • หลักสูตรการบริหารงานโรงพยาบาล
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
      • หลักสูตรโรคเมืองร้อน
คณะเภสัชศาสตร์
      • หลักสูตรเภสัชศาสตร์
สถาบันโภชนาการ
      • หลักสูตรโภชนาการ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  1.  มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
  3. โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สานักพระราชวัง

ดาวน์โหลดเอกสารโครงการ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง (Related Links)