ม.มหิดล บ่มเพาะตัวตนหนบนทางแห่งความเป็นครู ใช้ใจสอนใจ
27/10/2022
ม.มหิดล เปิดคลังสมองพยาธิชีววิทยา ไขความลับพิชิตโรคร้าย
27/10/2022

ม.มหิดล คิดค้นและพัฒนา AI ฟังเสียงยุงลาย วางแผนป้องกันไข้เลือดออกเพื่อมวลมนุษยชาติ

ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกได้กลายเป็นโรคประจำถิ่นที่ขยายขอบเขตพื้นที่การแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง ไม่เพียงแต่ในพื้นที่เขตร้อน แต่ยังพบได้ในทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่เป็นแอ่ง หรือมีน้ำขัง ซึ่งกลายเป็นแหล่งแพร่พันธุ์ของยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก แม้แต่พื้นที่เขตหนาว เช่น ในแถบยุโรป ก็ยังพบความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลกระทบต่อโลกทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

เมื่อเร็วๆ นี้ Mahidol-Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก German Academic Exchange Service (DAAD) และ The Hanse-Wissenschaftskolleg Institute for Advanced Study in Germany สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนจัดการทางสาธารณสุขรณรงค์กำจัดยุงลายเพื่อมวลมนุษยชาติ

Professor Dr.Peter Fereed Haddawy รองคณบดีฝ่ายพัฒนางานวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้อำนวยการ Mahidol-Bremen Medical Informatics Research Unit (MIRU) นักวิทยาศาสตร์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อันดับ 1 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับของ Research.Com ผู้นำทีมวิจัยด้านเทคนิคในการสร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กล่าวว่า คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายสนับสนุนงานวิจัยเพื่อสุขภาวะ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและมวลมนุษยชาติ โดยบูรณาการด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มานานกว่าหนึ่งทศวรรษ

จากโจทย์ที่ได้รับในครั้งนี้ ทีมวิจัยได้นำเอาเซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับและคัดแยกเสียงที่แตกต่างกันของยุงลายในแต่ละประเภท ด้วยเทคนิค Machine Learning จากตัวอย่างที่ได้จากห้องปฏิบัติการเพาะพันธุ์และวิจัยยุงลายของภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

ในเบื้องต้นทีมวิจัยสามารถสร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบได้แล้ว และคาดว่าเมื่อหากพัฒนาแล้วเสร็จ และผ่านการทดสอบ ทั้งทางเทคนิค และทางภาคสนามแล้ว จะได้อุปกรณ์เซนเซอร์ระบบ IoT ที่สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายแพลตฟอร์มในขณะเดียวกัน เพียงติดตั้งและปล่อยให้เซนเซอร์ทำงานแบบอัตโนมัติ โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า และสะดวกกว่าการใช้เครื่องดักยุงแบบเดิม ซึ่งจะใช้ติดตั้งและตรวจจับตามแหล่งระบาดของยุงลายในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อการวางแผนรณรงค์กำจัดยุงลาย และป้องกันไม่เกิดการระบาดซ้ำ และจะขยายผลเพื่อการวางแผนรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในระดับโลกต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงสารนาถ ล้อพูลศรี นิยม หัวหน้าภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คณะฯ นอกจากมีบทบาทโดดเด่นในเรื่องการวิจัยโรคมาลาเรียในระดับแนวหน้าของโลกแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการวิจัยโรคเขตร้อนอื่นๆ รวมทั้งโรคไข้เลือดออก โดยในการสร้างสรรค์และพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับยุงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในส่วนของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไข้เลือดออก ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฏวิทยา และห้องปฏิบัติการเพาะพันธุ์และวิจัยยุงลายที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค จึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถส่งเสริมและสนับสนุนนวัตกรรมดังกล่าวให้สามารถบรรลุผลจนถึงปลายน้ำได้อย่างแน่นอน

ซึ่งอุบัติการณ์ของการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่ผ่านมา แม้จะพบว่าในช่วงวิกฤติ COVID-19 มีอัตราการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่อาจลดลงไปบ้างจากการเคลื่อนย้ายของประชากรที่ลดลง แต่ก็ยังคงไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะโรคไข้เลือดออกกลับมาได้เสมอ แม้ในไข่ยุงลายที่แห้งแล้ว ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานนับปี โดยสามารถเติบโตเป็นลูกน้ำเมื่อได้สัมผัสน้ำอีกครั้ง ประชาชนจึงควรระวังอย่างยิ่งไม่ให้โดนยุงกัด ซึ่งยุงลายที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue) ก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออก คือ ยุงตัวเมียที่ต้องออกหากินและดูดเลือดคนเพื่อเป็นอาหาร และเจริญพันธุ์ โดยการตัดวงจรชีวิตยุงลายสามารถทำได้โดยช่วยกันป้องกันสิ่งแวดล้อมรอบตัวไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

1.LINE TODAY 29-4-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/EXkll5P?utm_source=copyshare

https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/JPvJmpq?utm_source=copyshare

LINE TODAY 1-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/qomvKMm?utm_source=copyshare

LINE TODAY 4-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/8ne3Goq?utm_source=copyshare

2.Thainewsonline  29-4-65 https://www.thainewsonline.co/pr-news/news/833667

3.ThaiPR.NET 29-4-65 https://www.thaipr.net/education/3185208

4.RYT9.COM 29-4-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3318405

5.นิตยสารสาระวิทย์ 29-4-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/ai-prevention-mosquito/

6. blockdit https://www.blockdit.com/posts/626b8f94b24bf6087269891c

7.โพสต์ทูเดย์ 29-4-65 https://www.posttoday.com/social/general/681812

https://www.facebook.com/119948869834/posts/10160035040299835/?d=n

8.M2F 29-4-65 https://www.m2fnews.com/lifestyle/work-and-life/104414

https://www.facebook.com/132122323555010/posts/4741247525975777/?d=n

9.โลกวันนี้ 29-4-65 https://www.lokwannee.com/web2013/?p=431369

10.ผู้จัดการออนไลน์ 29-4-65 ผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/science/detail/9650000040793

11.newswit 29-4-65 https://www.newswit.com/th/Lc6A

12.The Glocal 30-4-65 https://www.facebook.com/100720421465047/posts/528625102007908/?d=n

13.Thai Innovation Center 30-4-65 https://thaiinnovation.center/2022/04/ai-prevention-mosquito/?fbclid=IwAR1INrUX3IJ-SrrjACVUGdnxt2PcZ5ZdA5vTICWn-8oNofsIB_JTWWmAUTg

https://www.facebook.com/115657123295283/posts/545291440331847/?d=n

14.เส้นทางเศรษฐี 1-5-65 https://www.sentangsedtee.com/today-news/article_211513

https://www.facebook.com/100064645543637/posts/361870052644510/?d=n

15.นสพ.ไทยรัฐ 2-5-65 หน้า 7 https://www.thairath.co.th/news/local/2382355

16.นสพ.สยามรัฐ 4-5-65 หน้า 9 https://siamrath.co.th/n/345147

ให้คะแนน
PR
PR