การบรรยายเรื่อง “การบริหารจัดการในภาวะวิกฤต และการสื่อสารในภาวะวิกฤต” ให้แก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เครือข่ายบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Management) ระดับพื้นที่ ระดับส่วนงาน และระดับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน # 22 ส.ค. 2566

ผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง และทีมบริหารความต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมสังเกตการณ์การซ้อมแผนความต่อเนื่องในการดำเนินงาน พื้นที่พญาไท (BCP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 # 15 ส.ค. 2566
21/08/2023
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช พร้อมคณะ เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านการบริหารจัดการความเสี่ยง กับทางศูนย์บริหารจัดการความเสี่ยง มหาวิทยาลัยมหิดล # 24 ส.ค. 2566
28/08/2023

การบรรยายเรื่อง “การบริหารจัดการในภาวะวิกฤต และการสื่อสารในภาวะวิกฤต” ให้แก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เครือข่ายบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Management) ระดับพื้นที่ ระดับส่วนงาน และระดับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน # 22 ส.ค. 2566

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ต้อนรับ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในโอกาสบรรยายเรื่อง “การบริหารจัดการในภาวะวิกฤต และการสื่อสารในภาวะวิกฤต” ให้แก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย เครือข่ายบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Management) ระดับพื้นที่ ระดับส่วนงาน และระดับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการความเสี่ยง การเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานภายในภารกิจของมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างต่อเนื่องแม้ในสภาวะวิกฤต ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์นที รักษ์พลเมือง ชั้น 5 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Event
การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) เป็นเครื่องมือการบริหารที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในสภาวะวิกฤตต่างๆ ไม่ว่าจากภัยธรรมชาติหรือภัยที่เกิดจากการมุ่งร้ายต่อองค์กร เช่น อัคคีภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว โรคระบาด หมอกควันและฝุ่น PM2.5 การชุมนุมประท้วง จลาจลและก่อการร้าย Cyber attacks ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลให้องค์กรไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง การสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารจัดการจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการช่วงภาวะวิกฤต โดยมีวัตถุประสงค์ให้องค์กรสามารถบริหารและบริการได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก และสามารถฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยมหิดลได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจในแนวทางการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจให้ส่วนงานหรือหน่วยงานสามารถนำความรู้ แนวคิดและหลักการไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้แล้วเพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) หมวด 6 เรื่องระบบปฏิบัติการ (Operations) 6.2 ประสิทธิผลของการปฏิบัติการ (Operational Effectiveness) – ค. การเตรียมพร้อมด้านความปลอดภัยและต่อภาวะฉุกเฉิน (Safety and Emergency Preparedness) – (2) ความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity)