มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมหารือร่วมกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้าน Social Engagement กับ Policy Advocacy (MUSEF Executive Visit)

มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมหารือร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม เพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้าน Social Engagement กับ Policy Advocacy (MUSEF Executive Visit)
08/08/2022
มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมหารือร่วมกับคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ เพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้าน Social Engagement กับ Policy Advocacy (MUSEF Executive Visit)
23/08/2022

มหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมหารือร่วมกับสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้าน Social Engagement กับ Policy Advocacy (MUSEF Executive Visit)

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและบริการวิชาการ ประชุมหารือร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.มรกต ไมยเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เพื่อรับฟังและหาแนวทางความร่วมมือด้าน Social Engagement กับ Policy Advocacy (MUSEF Executive Visit) ในโอกาสนี้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เสนอแนวทางการดำเนินงานของโครงการด้านการรับใช้สังคม และโครงการนโยบายชี้นำสังคม โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย เข้าร่วมรับฟัง ณ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ได้นำเสนอโครงการรับใช้สังคม (Social Engagement) และนโยบายชี้นำสังคม (Policy Advocacy) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล และแหล่งทุนภายนอก ในรอบ 5 ปี (2560 – 2565) อาทิ

โครงการประเภทรับใช้สังคม (Social Engagement)
• โครงการโรงเรียนในประเทศไทย : กลไกในการสร้างความเท่าเทียมหรือเครื่องมือผลิตซ้ำความเหลื่อมล้ำในสังคม (อยู่ระหว่างผลักดัน) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติมดี อาพัทธนานนท์
• โครงการการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กกลุ่มเปราะบางในประเทศไทยผ่านงานศิลปะและสื่อดิจิทัล โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติมดี อาพัทธนานนท์
• โครงการการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับเด็กลูกหลานแรงงานข้ามชาติ จังหวัดสมุทรสาคร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ฐิติมดี อาพัทธนานนท์
• สาธารณศิลป์ : การสร้างสรรค์ศิลปกรรมเพื่อวิถีความเหมาะสมใหม่ในการขับเคลื่อนสังคมวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันทิดา จันทรางศุ

โครงการประเภทขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม (Policy Advocacy)
• โครงการการจัดการศึกษาแบบทวิ-พหุภาษาและการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในพื้นที่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดย ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต
• โครงการการพัฒนาศูนย์วิชาการและปฏิบัติการด้านรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.นันทิยา ดวงภุมเมศ
• โครงการนโยบายการพัฒนาปรีชาญาณนคร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พธู คูศรีพิทักษ์