วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
วันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day เป็นวันที่ระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือจากนานาชาติทั่วโลกในด้านสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเป็นภัยคุกคามต่อ การดำรงอยู่ของมนุษย์ องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้วันสิ่งแวดล้อมโลกตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ของทุก ซึ่งในแต่ละปีโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(United Nations Environment Programme UNEP) จะเป็นผู้กำหนดประเด็นหลัก (Theme) ในการรณรงค์เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลกให้เป็นทิศทางเดียวกันทั่วโลก เพื่อให้เกิดความตื่นตัวในด้านวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมขึ้นทั่วโลก
มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ขับเคลื่อนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน(Mahidol University Sustainability Action) ตามเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (17 SDGs) เพื่อมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้ให้ความสำคัญกับวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยส่งเสริมการจัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก เป็นประจำทุกปี เพื่อสืบสานและรณรงค์ให้ประชาคมมหิดลรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปี 2566 วันสิ่งแวดล้อมโลก 2566 หรือ World Environment Day 2023 เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรมขยะกำพร้าและกิจกรรมปลูกต้นไม้
โดยได้ดำเนินกิจกรรมขยะกำพร้าตั้งแต่วันที่ 25–31 พฤษภาคม 2566 และวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เพื่อส่งเสริมให้เกิดความตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า ตลอดจนช่วยลดการส่งขยะไปยังหลุมฝังกลบ (Zero Waste to Landfill) ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวดำเนินการร่วมกับ N15 Technology ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จำนวน 196 คน ร่วมนำส่งขยะทั้งสิ้น 3,930 กิโลกรัม เพื่อผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF)
และดำเนินกิจกรรมปลูกต้นไม้ในวันที่ 2 มิถุนายน 2566 เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัยที่เป็นแหล่งดูดซับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สนับสนุนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2573 ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ผู้แทนจากส่วนงาน นักศึกษา และนักเรียน จำนวน 115 คน ร่วมกันปลูกต้นจิกน้ำจำนวน 53 ต้น บริเวณสวนตรงข้ามสถานีรถราง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 โดยมีศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.ท. ทพ.ชัชชัย คุณาวิศรุต รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอื้อมพร มัชฌิมวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายการคลัง อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ รวมถึงผู้แทนจากส่วนงานและนักเรียน นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันปลูกต้นจิกน้ำบริเวณทางเดินเท้าเลียบถนนดำรงวิจัย ตรงข้ามหอพักโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 82 ต้น เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงด้านการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัย ประกอบกับเพื่อเป็นแหล่งดูดซับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นการสนับสนุนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2573 ของมหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดงานวันสิ่งแวดล้อมโลก มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2564 ซึ่งวันสิ่งแวดล้อมโลกจะตรงกับวันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี โดยในปีนี้องค์การสหประชาชาติ (United Nation: UN) ได้กำหนดแนวคิดประจำปี คือ “การฟื้นฟูระบบนิเวศ (Ecosystem Restoration)” มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับแนวคิดดังกล่าว ตลอดจนเป็นส่วนหนึ่งของสนับสนุนและส่งเสริมให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม โดยมีกิจกรรมดังนี้
กิจกรรมปลูกต้นไม้ เป็นการจัดกิจกรรมแบบรักษาระยะห่าง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2564 โดยได้เรียนเชิญศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ก้องเขต เหรียญสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และอาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และผู้แทนจากส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 25 คน ร่วมกันปลูกต้นกัลปพฤกษ์
ณ บริเวณลานด้านหน้าหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและฟื้นฟูระบบนิเวศภายในมหาวิทยาลัย และเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นสวนการเรียนรู้นอกห้องเรียนในอนาคต โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมอยู่ในระดับมาก และอยากให้มีการจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในปีถัดไป
นอกจากนี้ยังได้มีการจัดกิจกรรมออนไลน์เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 เผยแพร่ผ่าน Facebook Live เพจ Mahidol University Sustainability ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม Plant-Based Online Symposium เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารประเภท Plant-Based พร้อมด้วยคำแนะนำในการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและดีต่อสิ่งแวดล้อมจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ในหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ 1. บริโภคอย่างไรให้ยั่งยืน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา (ผู้อานวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) 2.กินแล้ว Young โดย แพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (รองผู้อานวยการโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท) และ 3. สามพรานโมเดล โดย คุณอรุษ นวราช (กรรมการผู้จัดการ สวนสามพราน) และกิจกรรมเสวนาออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการบริโภคอย่างยั่งยืน (Food for Change: Plant-Based Diet)” เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกคนหันมาเลือกบริโภคอาหารประเภท Plant-Based ซึ่งจะช่วยลดอัตราความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ อันเป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา (คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) และคุณอรุษ นวราช (กรรมการผู้จัดการ สวนสามพราน) ร่วมกิจกรรมเสวนาในครั้งนี้ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 ได้สำรวจการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมของโพสต์กิจกรรมหลังจากเผยแพร่การวิดีโอถ่ายทอดสด พบว่ามีผู้เข้าถึงกิจกรรมดังกล่าวจำนวน 3,085 คน และมีส่วนร่วมทั้งสิ้น 341 ครั้ง
วันสิ่งแวดล้อมโลกปีนี้ วันที่ 5 มิถุนายน ปี 2563 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดประเด็นหลัก คือ Biodiversity (ความหลากหลายทางชีวภาพ) ดังนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยได้เรียนเชิญศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ธันย์ สุภัทรพันธุ์ รักษาการแทนรองอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ อาจารย์ ดร.ธิติคม พัวพันสวัสดิ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ และมีผู้แทนจาก 28 ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 90 คน ได้ร่วมกันปลูกต้นพิกุล หางนกยูง จำนวน 50 ต้น ในกิจกรรมดังกล่าว
เพื่อส่งเสริมให้ประชาคมมหิดล ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ระบบนิเวศ โดยจะมุ่งดำเนินการพัฒนา ปรับปรุง และอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวและพื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารและเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิต ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนมากกว่าระบบนิเวศอื่นๆ เช่น แหล่งนันทนาการทางน้ำ สวนเจ้าฟ้า อุทยานสิรีรุกขชาติซึ่งมีสมุนไพรมากกว่า 800 ชนิด รวมถึงปรับปรุงภูมิทัศน์ในบริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัย เช่น Mahidol Eco Park ที่ส่งเสริมการพัฒนาตามเป้าหมายที่ 15 (Life on Land) การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก เป้าหมายที่ 13 (Climate Action) การับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งกิจกรรมดังกล่าวนี้ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรภายใต้สังกัดคณะ สถาบัน ซึ่งส่งเสริมการพัฒนาเป้าหมายข้อ 17 (Partnerships for the Goals) ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Mahidol Eco Run
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดงาน “วันสิ่งแวดล้อมโลก Mahidol Eco Run” งานวิ่งสำหรับคนใส่ใจสิ่งแวดล้อม กล่าวรายงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยมหิดล ณ อาคารใบไม้ 3 ใบ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา องค์การสหประชาชาติ ประกาศให้ทุกวันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งปัญหาขยะพลาสติกเป็นปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการย่อยสลายที่ใช้เวลานาน และการสลายตัวของพลาสติกเป็นไมโครพลาสติก ที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหาร โดยมหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักถึงปัญหาของขยะพลาสติกมาโดยตลอด จึงดำเนินกิจกรรม Reduce & Reuse Plastic ในร้านค้าภายในมหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ.2559 ซึ่งสามารถลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในช่วงปีที่ผ่านมาได้มีการจัดกิจกรรมการวิ่งภายในมหาวิทยาลัยเพิ่มมากขึ้น และสร้างขยะพลาสติกจาก แก้วน้ำดื่มเป็นจำนวนมาก มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้นำแนวคิดการลดใช้พลาสติกมาประยุกต์ในการจัดกิจกรรมงานวิ่งในครั้งนี้ เพื่อสร้างต้นแบบการจัดกิจกรรมเดิน-วิ่ง ที่ไม่ก่อให้เกิดขยะพลาสติกไปพร้อมกับการมีสุขภาพที่ดี ซึ่งแบ่งเป็ นเดินเพื่อสุขภาพระยะทาง 1.7 กิโลเมตร และวิ่งระยะทาง 4 กิโลเมตร โดยเป็นการรวมตัวกันของผู้ที่รักสุขภาพและรักษ์โลกที่แสดงเจตนารมณ์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยนำแก้วส่วนตัวมาเติมน้ำที่จุดบริการน้ำและรับต้นไม้แทนเหรียญรางวัลเพื่อนำกลับไปปลูกเพิ่มพื้นที่สีเขียวต่อไป ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งเน้นที่จะสร้างความเป็ นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (ECO University) เพื่อเป็นต้นแบบที่มุ่งสู่เป้าหมาย เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) โดยองค์การสหประชาชาติมุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ อาทิ สภาวะโลกร้อน มลพิษทางอากาศขยะพลาสติก ซึ่งในปีที่ผ่านมหาวิทยาลัยมหิดลมีการจัดกิจกรรมวิ่ง มากกว่า 10 งาน ซึ่งในการจัดงานแต่ละครั้ง ก็ได้ก่อให้เกิดขยะพลาสติกเป็นจำนวนมาก เชื่อมั่นว่าการจัดงานในครั้งนี้จะเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยสร้างความตระหนักและตื่นตัวในด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถเริ่มที่ตัวเราเอง เช่น การที่เราพกแก้วน้ำมาวิ่งในวันนี้ก็เป็ นการช่วยลดการใช้พลาสติ กเพิ่มการนำกลับมาใช้ซ้ำเพื่อทุกคนจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน”*ขอขอบคุณข้อมูลจากกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
ดูรายละเอียดกิจกรรม Mahidol Eco Run 2019
มหิดลสาร หน้า 13 https://mahidol.ac.th/documents/gazette/2019/July/mobile/index.html#p=13
ลงทะเบียน 500 มาจริง 220 คน
ไฟล์สรุปการจัดงาน Ecorun https://drive.google.com/file/d/1jU2CyV8i_lJ13Vxh6u6BJZP4GQoJR182/view?usp=sharing
ปลูกรัก ฮัก MU
วันที่ 5 มิถุนายน 2561 ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ โชคชัย เมธีไตรรัตน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานเปิดโครงการ “ปลูกรัก ฮัก MU” และร่วมกันปลูกต้นชมพูพันธุ์ทิพย์บริเวณริมทางเดินอาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ณ อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยมีกิจกรรมและโครงการต่างๆมากมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนมีนโยบายมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ และมุ่งมั่นที่จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงได้จัดกิจกรรมวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ขึ้น เพื่อสืบสานและรณรงค์ให้ประชาคมมหิดลตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมผ่านการกระทำเชิงสัญลักษณ์ ด้วยการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับมหาวิทยาลัย โดยได้เชิญทุกส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมาร่วมกันทำกิจกรรมในครั้งนี้ https://mahidol.ac.th/th/2018/hug-mu/
โดยในปีนี ้กำหนดประเด็นหลักในการรณรงค์เรื่อง BeatPlastic Pollution มีคำขวัญว่า If youcan’t reuseit, refuseit “รักษ์โลก เลิกพลาสติก”สำหรัมหาวิทยาลัยมหิดล นอกเหนื อ จา กนโยบา ย การลดใช้ ถุ งพลาสติกในร้านค้าสะดวกซื ้อที่ได้ประกาศและลงมือทำอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ แล้ ว ทางมหาวิทยาลัยยังได้ จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในวันสิ่งแวดล้อมโลก ด้วยการจัดกิจกรรมการปลูกต้นไม้ร่วมกันเพื่อช่วยสร้างแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจก โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในวันอังคารที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๑เวลา๐๙.๓๐ น. บริเวณถนนการุณยมิตร (ด้ านข้ างคณะพยาบาลศาสตร์ ) ทั้งนี ้กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมจึงใคร่ขอเรียนเชิญบุคลากรนักศึกษา และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความตั้งใจจริงในการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของพวกเราชาวมหิดลครับ
- จำนวนผู้เข้าร่วมงาน 77 ท่านจาก 13 ส่วนงาน และ 3 กองใน OP
วันที่ 5-6 มิถุนายน 2560 ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดม คชินทร อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานพิธีเปิดค่ายเยาวชน “Idea Green Kids Camp ตัวเล็กคิดการใหญ่” รุ่นที่ 1 เนื่องในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน ณ ห้อง 411 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา
มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (Eco-University) ด้วยเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นไปตามมาตรฐานสากล ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบ ด้วยการสร้างให้เกิดดุลยภาพของมิติเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น โดยเชิญนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย มาทำกิจกรรมกลุ่มในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร่วมกัน เพื่อสร้างความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และเสริมสร้างพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านกา รอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กับตัวแทนผู้นำเยาวชนที่มาร่วมทำกิจกรรม เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ต่ออีกทางหนึ่งด้วย
ดูรายละเอียดกิจกรรม https://mahidol.ac.th/th/2018/green-kid/