กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ติดต่อเรา MSP
26/04/2018

ถาม-ตอบ

1. การชดใช้ทุน

 – ภายหลังจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว ผู้รับทุนอาจได้รับการพิจารณาเข้าทำงานในต้นสังกัดของมหาวิทยาลัยมหิดล แต่หากต้นสังกัดไม่มีตำแหน่งรองรับ สามารถเข้าทำงานในส่วนงานอื่นภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ ถ้าไม่มีตำแหน่งว่างในมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่อไป

ผู้สมัครสามารถศึกษารายละเอียดการให้ทุน และการชดใช้ทุนของโครงการทุนมหิดลวิทยาจารย์
ได้ทางเว็บไซต์ https://op.mahidol.ac.th/ea/wp-content/uploads/2018/04/Agreement-for-Scholarship.pdf

2. อยากจะเป็นอาจารย์แพทย์ ทำอย่างไร

– ข้อนี้ขึ้นอยู่กับอะไรหลาย ๆ อย่าง เช่น เป็นอาจารย์แพทย์ในภาควิชาที่เป็นพรีคลินิก หรือภาควิชาทางคลินิกกฎเกณฑ์ในการรับอาจารย์ใหม่ของแต่ละภาควิชา ตำแหน่งอาจารย์ที่ว่างจะบรรจุอาจารย์ใหม่ของแต่ละภาควิชา เป็นต้น นอกจากนั้น ยังขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้สมัครที่จะมาเป็นอาจารย์ ซึ่งไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ความสามารถในสาขาวิชานั้น ๆ แต่คงต้องมีนิสัยดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ในปัจจุบันนี้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการทำงานวิจัย จะเป็นที่ต้องการของภาควิชาทั้งพรีคลินิกและทางคลินิก แต่ก็ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติอื่น ๆ ด้วย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

3. ใช้เวลากี่ปีจบ

– การศึกษาแพทยศาสตร์โดยทั่วไปใช้ระยะเวลา 6 ปี สำหรับนักศึกษาดุษฎีบัณฑิต ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป กำหนดไว้ไม่เกิน 4 ปี

4. ถ้าเรียนไม่ได้ ความสามารถไม่พอ จะถูกให้ออกหรือเปล่า นักเรียนทุนโครงการทุนมหิดลวิทยาจารย์ต้องมีคะแนนขั้นต่ำหรือไม่

– โครงการทุนมหิดลวิทยาจารย์ไม่มีระเบียบกำหนดคะแนนขั้นต่ำที่เกี่ยวเนื่องกับการให้ทุนโครงการทุนมหิดลวิทยาจารย์ ยึดถือระเบียบปฏิบัติของบัณฑิตวิทยาลัยเป็นสำคัญ

5. การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาและภาควิชา

– ข้อนี้เป็นข้อที่นักศึกษาต้องให้ความสำคัญต้องให้เวลาพอสมควร แนวทางโดยทั่วไป คือนักศึกษาควรจะได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการที่จะรับนักศึกษาเข้าทำงานได้ พูดคุยกับนักศึกษารุ่นพี่ในโครงการทุนมหิดลวิทยาจารย์ พูดคุยกับนักศึกษาที่ทำงานอยู่ในห้องปฏิบัติการนั้น ๆ พูดคุยกับอาจารย์ที่จะรับนักศึกษา ดูผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ของอาจารย์และห้องปฏิบัติการ ดูทุนวิจัยที่อาจารย์และห้องปฏิบัติการได้รับ เมื่อพอจะเลือกห้องปฏิบัติการที่สนใจได้จำนวนหนึ่งแล้ว ก็คงจะต้องเข้าไปพูดคุยและสังเกตกิจกรรมต่าง ๆ ของห้องปฏิบัติการเหล่านั้นโดยละเอียดเปรียบเทียบกัน แล้วจึงตัดสินใจอีกครั้ง