ความรู้เกี่ยวกับการทุจริต ตอนที่ 4

การวางระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับการรับ – จ่ายเงินในโรงพยาบาล
18/07/2017
ความรู้เกี่ยวกับการทุจริต ตอนที่ 3
18/07/2017

ความรู้เกี่ยวกับการทุจริต ตอนที่ 4

กรณีศึกษาบทลงโทษจากการทุจริต

จากบทความเรื่องการทุจริตที่ได้นำเสนอไปแล้ว ทั้ง 3 ตอนนั้น เป็นการนำเสนอความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทุจริตและการควบคุมภายในเพื่อลดโอกาสการเกิดการทุจริตคอรัปชั่นจากการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะด้านการรับและจ่ายเงิน ในครั้งนี้ จึงขอนำเสนอกรณีตัวอย่างการทุจริตและบทลงโทษ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จริงในส่วนราชการผู้ให้บริการกับประชาชน ทั้งนี้ก็เพื่อความไม่ประมาทในการปฏิบัติงาน การตั้งข้อสังเกตหากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติจากการปฏิบัติงานประจำ และเพื่อตระหนักถึงผลจากการกระทำผิดที่จะตามมา

กรรมเพราะโกงเงินพระ

นางสาวกรรมสนอง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี 5 มีหน้าที่รับ-จ่ายเงินสดประจำวัน จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ป่วย และออกใบเสร็จ รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิต่างๆ ของ โรงพยาบาล

นางสาวกรรมสนอง ได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจาก ผู้มารับบริการตามเอกสารเวชระเบียนและตามใบเสร็จรับเงิน (ต้นฉบับ)จำนวน 4 ครั้ง รวมเป็นเงิน 8,400 บาท แต่เขียน สำเนาใบเสร็จรับเงินมีจำนวนเงินน้อยกว่าต้นฉบับและนำเงินส่งให้กับโรงพยาบาล เป็นเงิน 4,400 บาท และได้นำเงินส่วนต่างไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว รวมจำนวน 4,000 บาท เหตุที่ตรวจสอบพบการทุจริตดังกล่าวเพราะว่ามีพระภิกษุรูปหนึ่ง ได้นำใบเสร็จขอรับเงินค่าเลนส์ตาเทียมมาติดต่อเพื่อจะขอเงินคืน จำนวน 4,000 บาท เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนเลนส์ตา เมื่อตรวจสอบก็พบว่าสาเนาคู่ฉบับของใบเสร็จรับเงินฉบับ ดังกล่าว ระบุจำนวนเงินเพียง 2,000 บาท และเมื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังเทียบกับรายการค่ารักษาพยาบาลตามเอกสารเวชระเบียนคนไข้ในกับสำเนาใบเสร็จรับเงินแล้วพบว่าจำนวนเงินไม่ตรงกันอีก 3 ฉบับ พฤติกรรมของนางสาวกรรมสนอง ดังกล่าว เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ลงโทษไล่ออกจากราชการ

ยี่สิบหกล้านเท่านั้นเอง

นางแสบ เจ้าหน้าที่บริหารงานการเงินและบัญชี 6 มีหน้าที่และรับผิดชอบงานการเงินบัญชี และจัดทำหลักฐานการเบิกจ่าย รวมทั้งมีอำนาจ ลงนามเบิกถอนเงินฝากธนาคาร ร่วมกับผู้บริหารโรงพยาบาล ได้เบิกถอนเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโรงพยาบาล เพื่อนำฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันเงินบารุงของโรงพยาบาล โดยมอบฉันทะให้นางแสบ เป็นผู้รับเงิน แต่เมื่อนางแสบ รับเงินจากธนาคารมาแล้ว ก็ไม่นำฝากเข้าบัญชีกระแสรายวันเพื่อจะออกเช็คแต่กลับยักยอกเงินไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว โดยยักยอกเงินจากบัญชีต่างๆ คือ บัญชีค่าใช้จ่ายพัฒนาสถานบริการโรงพยาบาล 5% รวม 5 ครั้ง เป็นเงินจำนวน 2,233,000 บาท บัญชีกองทุนพัฒนาโรงพยาบาล 60% รวม 30 ครั้ง เป็นเงินจำนวน 13,696,063.03 บาท บัญชี -ประกันสังคม รวม 8 ครั้ง เป็นเงินจำนวน 4,953,162.09 บาท

นอกจากนี้ นางแสบ ยังได้ยักยอกเงินฝากธนาคารบัญชีกองทุนและมูลนิธิต่างๆของโรงพยาบาลอีก สรุปรวมทั้งหมดจำนวน 13 บัญชี เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 26,344,148.88 บาท และนางแสบ ได้ละทิ้งหน้าที่ราชการไปโดยไม่กลับมาปฏิบัติราชการอีกเลย ต่อมาได้ถูกตารวจจับกุมดำเนินคดี พฤติการณ์ของนางแสบ ดังกล่าว เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ลงโทษ ไล่ออกจากราชการ

เอาเงินหลวงไปใช้หนี้สหกรณ์

นายเติม เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 5 ได้นำใบถอนเงินไปให้นางซื่อ หัวหน้าสถานีอนามัยลงลายมือชื่อเพื่อถอนเงินค่าเวรจำนวน 4,000 บาท จากนั้น ก็เติมจำนวนเงินเพิ่มลงไปอีกเป็นเงิน 54,000 บาท แล้วถอนเงินนำไปชาระหนี้สินส่วนตัว นอกจากนี้ยังไปบอกนายเชื่อ ให้ลงนามในใบถอนเงินเปล่าๆ โดยบอกว่า จะนำไปเบิกถอนเงินค่าเวร จากนั้นนายเติม ก็นำใบถอนเงินไปกรอกจำนวนเงิน 280,000 บาท แล้วถอนเงินนำไปชาระหนี้เงินกู้สามัญของสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อ ที่จะขอใช้สิทธิกู้เงินใหม่ในวงเงิน 800,000 บาท พฤติกรรมของนายเติม ดังกล่าว เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ลงโทษไล่ออกจากราชการ

ใครป่วย

นายบุญมี เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 4 ได้เขียนใบเสร็จรับเงินของสถานีอนามัย (ต้นฉบับ) จำนวน 9 ฉบับ ว่าได้รับเงินค่ายาจากนางบุญน้อย มารดาของตนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สังกัดกรมหนึ่ง โดยที่นางบุญน้อย ไม่ได้มาตรวจและรักษาพยาบาล ที่สถานีอนามัยแต่อย่างใด ส่วนสำเนาใบเสร็จรับเงินนั้นกลับเขียนเป็นชื่อของคนอื่นระบุว่ารับเงินค่าบริการจำนวน 30 บาท จากนั้นก็ได้นำใบเสร็จตัวจริงไปให้นางบุญน้อย เบิกเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลจากกรมต้นสังกัด เป็นเงินจำนวน 30,100 บาท พฤติกรรมของนายบุญมี ดังกล่าว เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ลงโทษไล่ออกจากราชการ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

– กลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข