ความรู้เกี่ยวกับการทุจริต ตอนที่ 3

ความรู้เกี่ยวกับการทุจริต ตอนที่ 4
18/07/2017
ความรู้เกี่ยวกับการทุจริต ตอนที่ 2
18/07/2017

ความรู้เกี่ยวกับการทุจริต ตอนที่ 3

จากบทความตอนที่แล้ว ได้กล่าวถึงวิธีการป้องการและการปราบปรามการทุจริตในภาพรวมฉบับนี้จึงได้รวบรวมตัวอย่างการควบคุมภายในที่เกี่ยวกับการรับเงิน และการจ่ายเงิน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานต่อไป

การทุจริตและการยักยอกเงินสด

การทุจริตและยักยอกเงินสดหรือเงินฝากธนาคาร มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ เช่น

1. การยักยอกเงินลูกค้า (Lapping) พนักงานเก็บเงินสดที่ได้รับชาระหนี้จากลูกค้านำไปใช้ส่วนตัว โดยยังไม่บันทึกบัญชีการรับชำระหนี้ในวันที่ได้รับเงิน และจะรอไว้จนลูกหนี้รายอื่นนำเงินมาชำระหนี้จึงจะบันทึกการรับชำระหนี้จากลูกหนี้รายแรก หรือบันทึกแต่เพียงบางส่วน

2. การโอนเช็คลอย (Check Kiting) การทุจริตวิธีนี้กระทำโดยผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารและจะกระทำในวันสิ้นเดือน โดยผู้ทุจริตเขียนเช็คของธนาคารหนึ่งแล้วไปฝากไว้กับอีกธนาคารหนึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่ขาดบัญชีเงินฝากธนาคารในธนาคารหลังนี้จะสูงขึ้นเท่ากับเช็คที่นำฝากแต่เงินฝากธนาคาร ในธนาคารแรกจะยังไม่ลดลงทันที เพราะธนาคารอาจจะส่งเช็คไปเรียกเก็บเงินยังไม่ทันยอดเงินฝากธนาคารในธนาคารแรก จะสูงเกินกว่าความจริงเท่ากับจานวนเงินที่ถูกยักยอกไปใช้

3. การบันทึกรายการลวงในบัญชีรายจ่ายหรือบัญชีอื่น เพื่อยักยอกเงินสดไปใช้ส่วนตัว โดยการทำใบสำคัญปลอมเพื่อเบิกเงินหรือนาใบสำคัญที่เบิกจ่ายแล้วมาเบิกซ้ำอีกเพราะมิได้มีการประทับตราจ่ายแล้ว เป็นต้น

การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด มีหลักการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดดังนี้

1. แบ่งแยกหน้าที่ ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการนำเงินสดไปใช้ส่วนตัวแล้วบันทึกบัญชีเพื่อบิดเบือนรายการดังกล่าวโดยสะดวก

2. ไม่ให้พนักงานคนใดคนหนึ่งทำงานตั้งแต่ต้นจนจบคนเดียวเพราะจะเกิดทุจริตได้ง่ายหรือเกิดการหลงลืมได้ง่าย

3. ให้การทำงานของแต่ละคน สามารถทดสอบซึ่งกันและกันได้ มีการตรวจเช็ดระหว่างอย่างสม่าเสมอ

4. มีการตรวจสอบภายในอย่างสม่ำเสมอและ เพื่อประเมินผลการควบคุมการดำเนินไปด้วยดีเพียงใด มีสิ่งใดที่ต้องแก้ไขปรับปรุง แต่งตั้งผู้ตรวจสอบเพื่อตรวจเช็คความถูกต้อง

5. ใช้เครื่องมือช่วยในการควบคุมเงินสด เช่น เครื่องบันทึกเงินสด เป็นต้น

6. ใช้ระบบใบสำคัญเพื่อควบคุมการจ่ายเงิน เพราะต้องผ่านการอนุมัติใบสาคัญ และการจ่ายเช็คต้องจ่ายตามใบสำคัญที่อนุมัติ

7. เงินสดรับทุกรายการ ควรนำฝากธนาคารทั้งหมด เมื่อต้องการจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็ค

แนวปฏิบัติการควบคุมภายในด้านการเงิน

กิจกรรมการควบคุม

การรับเงิน

1. แบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบในการรับเงินและการบันทึกบัญชีให้ชัดเจน

2. จัดให้มีผู้รับผิดชอบกำกับดูแลการเก็บรักษาเงินให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับที่กำหนด

3. กำหนดหลักเกณฑ์การรับและการเก็บรักษาเงินให้รัดกุม เหมาะสม และเป็นลายลักษณ์อักษร

4. ให้มีการควบคุมการใช้ใบเสร็จรับเงินให้เป็นตามระเบียบที่กำหนด

5. ให้มีการออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งเมื่อมีการรับเงิน

6. กำหนดให้มีการตรวจยอดเงินกับหลักฐานการรับเงินทุกครั้ง

7. จัดทารายงานทางการเงินทุกสิ้นวันและสอบทำนโดยผู้มีอำนาจ

8. จัดให้มีตู้นิรภัยหรือสถานที่สำหรับเก็บรักษาเงินที่ปลอดภัย

9. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิคส์และจัดทาเป็นคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติ

การจ่ายเงิน

1. ศึกษา ทบทวน และปรับปรุง หลักเกณฑ์การจ่ายเงินให้เหมาะสมและชัดเจน

2. จัดให้มีผู้รับผิดชอบกำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านการจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับที่กำหนด กรณีที่จำเป็นอาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะสำหรับให้เจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน

3. จัดทำทะเบียนคุมการจ่ายเงินและสอบทานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามลำดับชั้น

4. จัดให้มีการฝึกอบรมให้ความรู้และจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานด้านการจ่ายเงิน

5. ให้มีการอนุมัติทุกครั้งที่มีการเบิกจ่ายเงิน

6. จัดให้มีการตรวจสอบเป็นประจำอย่างสม่าเสมอ และจัดให้มีการกำหนดจริยธรรม จรรยาบรรณของหน่วยงานให้ทุกฝ่ายถือปฏิบัติ

7. จัดให้มีหลักเกณฑ์การให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานด้วยดี และมีความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งมาตรการลงโทษผู้กระทำผิด

8. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจ่ายเงินที่ผ่านระบบอิเล็กทรอนิคส์ให้ชัดเจน และเป็นลายลักษณ์
อักษร

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://krurabieb.wordpress.com