ต้นแบบอย่างพอเพียง
Sufficiency Model
มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน พ.ศ. 2563-2566 เพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมจึงได้ทำโครงการต้นแบบอย่างพอเพียง (Sufficiency Model) เพื่อสื่อถึงองค์ความรู้ในรูปแบบของนิทรรศการ คือ การนำแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เข้ากับบริบทของมหาวิทยาลัย โดยใช้อาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นที่ตั้งของนิทรรศการ
ซึ่งโดยรอบอาคารจะเป็นพื้นที่สาธิตในการดำเนินการต่างๆ เช่น การทำปุ๋ยหมัก ธนาคารขยะรีไซเคิล แปลงผัก พลังงานจากกังหัน เป็นต้น ซึ่งเชื่อมโยงกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
โดยภายในอาคารเป็นส่วนของนิทรรศการแยกออกเป็น 3 Zone คือ
Zone 1 : ความพอประมาณ บอกเล่าเรื่องราวแนวความคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการทำ โคก หนอง นา โมเดล
Zone 2 : มีเหตุผล บอกเล่าเรื่องราวการประยุกต์ใช้หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบของการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยยั่งยืน (SDGs in Cam[us) ผ่านสื่อวีดีทัศน์ เช่นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ พลังงานสะอาด การจัดการพื้นที่สีเขียว
Zone 3 : มีภูมิคุ้มกันที่ดี คือการสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังความรู้ให้กับเด็กนักเรียนผ่านสื่อ Interactive ที่สามารถสัมผัสและดึงดูดการเรียนรู้ได้ง่าย เช่น การคัดแยกขยะ และ 5R รวมถึงการเป็นพื้นที่โชว์ผลงานหรือผลิตภัณฑ์จากหน่วยงานอื่นๆ ได้
มหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการ 2.1 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 120 วัน คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2564 และจะเปิดให้เข้าเยี่ยมชมได้ประมาณต้นปี 2565 สิ่งที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการนี้ คือ องค์ความรู้ของแนวคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์เข้ากับบริบทของมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้เยี่ยมชมกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียน นักศึกษา บุคลากร บุคคลทั่วไป จะได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามข้อ 4. Quality Education เป็นกิจกรรมหรือโครงการที่ส่งเสริมการศึกษา การให้ความรู้/อบรมให้คนภายนอก การบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนการสอน และข้อ 11. Sustainable Cities and Communities เป็นกิจกรรมหรือโครงการที่ส่งเสริมมรดกทางธรรมชาติ อนุสรณ์สถาน หรือภูมิทัศน์ หรือการจัดแสดงนิทรรศการ ศิลปะท้องถิ่น และพิพิธภัณฑ์