มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งสู่มหาวิทยาลัยปลอดขยะ (Zero Waste University)

            มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในมหาวิทยาลัย โดยได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นผ่านการขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการขยะ เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดขยะ (Zero Waste University) โดยกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณขยะให้เหลือน้อยที่สุด และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยหลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle)

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ในหมวดการจัดการขยะร่วมกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตัวชี้วัดด้านการจัดการขยะ ปีงบประมาณ 2568

ลำดับ KPI ค่าเป้าหมาย KPIs Level การรายงานข้อมูล หมายเหตุ
1. ปริมาณขยะทั่วไปทั้งหมด

ขยะทั่วไป หมายถึง ขยะหรือของเสียที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนํากลับมาใช้ใหม่ โดยจะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ (Landfill) ทั้งนี้ ขยะทั่วไปไม่รวมถึง ขยะรีไซเคิล เศษอาหารและเศษใบไม้ ขยะกำพร้า ขยะอันตราย และขยะติดเชื้อ ซึ่งจะถูกแยกประเภทและส่งไปกำจัดตามกระบวนการที่มีมาตรฐานตามหลักสุขาภิบาล

≤0.3 กิโลกรัม/คน/วัน Monitoring รายงานทุกไตรมาส ส่งข้อมูลรายวัน
2. ร้อยละการรีไซเคิลเทียบกับขยะทั้งหมด

ขยะรีไซเคิล หมายถึง ขยะ ของเหลือ หรือวัสดุเหลือใช้ที่มีคุณสมบัติในการนำกลับมาแปรรูปหรือนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยขยะรีไซเคิลประกอบไปด้วยวัสดุที่สามารถผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตอีกครั้ง เช่น ขวดหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก แก้ว อะลูมิเนียม โลหะ กระดาษ รวมไปถึงการนำเศษอาหารหรือเศษใบไม้ ผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น

≥15% Monitoring รายงานทุกไตรมาส ส่งข้อมูลรายเดือน

ภายในวันที 15 ของทุกเดือน

เอกสารดาวน์โหลด

  • แบบฟอร์มรายงานข้อมูลปริมาณขยะ ประจำปีงบประมาณ 2568

  • พื้นที่ศาลายา
  • พื้นที่พญาไท

  • พื้นที่บางกอกน้อย
  • พื้นที่บางพลี

  • วิทยาเขตกาญจนบุรี
  • วิทยาเขตนครสวรรค์

  • วิทยาเขตอำนาจเจริญ

  • เอกสารอื่นๆ