Innovation for Campus Sustainability

Innovation for Campus Sustainability (นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน)

เป็นเวทีการประกวดสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในการประลองความรู้ความสามารถผ่านการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี โปรแกรมซอฟต์แวร์  หรือกิจกรรมกลุ่ม เพื่อลดมลพิษสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นโดยพิจารณาความสมดุลใน 3 มิติของการพัฒนา ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

1.มิติการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

2.มิติการพัฒนาด้านสังคมที่ยั่งยืน

3.มิติการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : 17 SDGs) ที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรสหประชาชาติ (United Nations)

Innovation for Campus Sustainability 2021

SDGs Smart Action : นวัตกรรมสร้างได้

คู่มือการประกวด 

แบบฟอร์มใบสมัคร

ส่งใบสมัครมาที่  https://forms.gle/21wwPSwsKEQFphLW6 

กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จัดการประกวด Innovation for Campus Sustainability 2021 (นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน)  ขึ้นเป็นปีที่ 4 ซึ่งเป็นเวทีสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นและสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน แม้ว่าปีนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ในประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น แต่การประกวด Innovation for Campus Sustainability ยังดำเนินต่อไปในรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting และถ่ายทอดสดทาง Facebook: Mahidol University Sustainability

โดยทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 8 ทีมได้เข้าร่วมโครงการ Incubation Program ของ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ในเดือนเมษายน – มิถุนายน 2564  ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อบ่มเพาะและต่อยอดแนวคิดนวัตกรรม/เทคโนโลยี รวมทั้งองค์ความรู้ในทักษะการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งมีหัวข้อที่น้อง ๆ ได้เรียนรู้จาก Incubation Program ดังนี้

  • Idea Generation & Opportunity Exploration
  • Go to explore the opportunity/market
  • Customer Insights
  • Know your customer
  • Core Technology, Solution and MVP
  • Lean Canvas
  • Entrepreneurial Finance
  • Effective Pitching

การรอบคัดเลือก: นำเสนอแนวคิด (Proposal Presentation) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ในรอบนี้กรรมการจะคัดเลือกทีมนักศึกษา 4 ทีม ซึ่งจะได้รับเงินทุน 15,000 บาท เพื่อพัฒนาตันแบบนวัตกรรมและนำเสนอผลการทดสอบนวัตกรรมในการประกวดรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 1 กันยายน 2564 ทั้งนี้มีผู้รับชมการถ่ายทอดสดสูงสุดทั้งสองรอบที่ 171 และ 192 คน

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีม Egg e egg egg ประกอบด้วย นางสาวอิ่มบุญ วิรัชศิลป์ และ
นายพศวัต เสนาะคำ จากวิทยาลัยนานาชาติ ด้วยผลงาน Salaya Egg หรือ ไข่ศาลายา” ซึ่งเป็นไข่ที่มีเนื้อสัมผัส (texture) คล้ายไข่เค็มแต่ปราศจากความเค็มและโซเดียม เกิดจากการคำนึงถึงนวัตกรรมอย่างยั่งยืนทางสังคมที่ยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยังยืน และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยอยู่บนหลักการสร้างเพื่อการให้ (GIVE) แต่ต้องคิดว่า เราจะให้ใคร ให้อะไร และควรจะให้อย่างไร

G ในที่นี้คือ GOOD HEALTH (สุขภาพที่ดี)

I คือ IMPROVE (การพัฒนา)

V คือ VISION (วิสัยทัศน์)

E คือ ENVIRONMENT (สิ่งแวดล้อม)

ทีม Egg e egg egg มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด การผลิตจะต้องมีต้นทุนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์ต้องดีต่อสุขภาพ

“Salaya egg สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างความมั่นคงที่ยังยืน สร้างสังคมแห่งการช่วยเหลือและแบ่งปัน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถดูแลสุขภาพของคนในสังคมได้จริง ทาง Egg e egg egg team หวังว่าผลงานของเราจะเป็นแรงบันดาลใจให้นักพัฒนานวัตกรรมรุ่นใหม่ๆ ได้ผลิตนวัตกรรมที่เข้าถึงคนในสังคมและร่วมแบ่งปันความช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยมีการส่งต่อการให้อย่างไม่สิ้นสุด”

Salaya Egg สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)  ดังนี้

เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่

โดยใช้วัตถุดิบและทรัพยากรในท้องถิ่น เผื่อส่งเสริมเกษตรภายในท้องถิ่น ส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่น

เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน 

โดยการวิจัยและพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรให้มีความหลากหลาย และเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค

เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน

โดยใช้วัตถุดิบและทรัพยากรในท้องถิ่น

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ทีม NaB Omi ประกอบด้วย  นายวิทวัส สุดทวี นายพิจักษณ์ อารยาวิชานนท์ และนางสาวณจรีย์ จันทร์เจิดศักดิ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้วยผลงาน แอพพลิเคชั่น “Khong Klang (ของขลัง)” ซึ่งเป็น e-commerce application หรือ แอพพลิเคชั่นเพื่อการซื้อขายสิ่งของ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนสินค้าต่าง ๆ ที่อยู่ในครัวเรือนของผู้ใช้ รวมไปถึงการลดการเกิดขยะในชุมชนนั้น ๆ ลงโดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

     

แอพพลิเคชั่น “Khong Klang (ของขลัง)”  สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)  ดังนี้

เป้าหมายที่ 11  สร้างชุมชนและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย มีภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน

โดยตัวแอปพลิเคชันจะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าที่ปลอดภัยและเข้าถึงได้ง่ายในชุมชน ส่งผลให้การค้าขายในชุมชนได้รับการพัฒนาเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างยั่งยืน

เป้าหมายที่ 12 การสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

แอพพลิเคชั่น “ของขลัง” ได้นำแนวความคิดแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งต่อสินค้า ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ทำให้สิ่งของหนึ่งชิ้นสามารถใช้ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ลดการทิ้งสิ่งของอย่างไม่จำเป็น และลดการใช้พลังงานในการเก็บ คัดแยกและทำลายขยะ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักในการสร้างผลงาน “ของขลัง”

เป้าหมายที่ 13 การเร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสและผลกระทบที่เกิดขึ้น

โดยในหัวข้อนี้เป็นความเกี่ยวข้องทางอ้อมของ “ของขลัง” โดยเมื่อลดการเกิดขยะได้ ผลที่ตามมานั้นคือการลดการเผากำจัดขยะลง รวมไปการลดขั้นตอนการผลิต ซึ่งมีส่วนช่วยให้การปล่อยกาศเรือนกระจกที่เป็นปัญหาของภาวะโลกร้อนลงอีกด้วย

เป้าหมายที่ 14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

ผลจากเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนที่ “ของขลัง” ได้นำมาใช้ จึงเกิดผลดีทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อขยะลดลง ความเสี่ยงที่ขยะเหล่านั้นจะถูกนำไปทิ้งไว้ที่แหล่งน้ำก็ลดลง ปริมาณของเสียจากโรงงานที่มีส่วนในการผลิตและทำลายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆก็จะลดลงเช่นกัน เป็นผลให้ทรัพยากรทางทะเลไม่ถูกกระทบจากมลภาวะที่มากับอุตสาหกรรม

เป้าหมายที่ 15 การสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน

ด้วยเหตุผลในเชิงเดียวกันกับ เป้าหมายที่13 และ14 การใช้ทรัพยากรบนบกเพื่อทำเครื่องใช้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ในครัวเรือน, เฟอร์นิเจอร์ไม้, หรือ ของสะสมต่าง ๆ ย่อมถูกใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อเข้าสู่ระบบของ “ของขลัง” การผลิตที่ไม่จำเป็นจะลดลงเพราะความต้องการได้ถูกทดแทนจากของที่มีอยู่แล้วในสังคม ทำให้ระบบนิเวศทางบกไม่ถูกทำลาย ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการต้นทุนทรัพยากรในการผลิตของมนุษย์

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3

รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ทีม SIRIMONG3KOL ประกอบด้วย  นางสาวนภัสมนต์ ศรีนครา จากวิทยาลัยศาสนศึกษา นายศุภกฤต ตาลน้อย จากคณะวิทยาศาสตร์ และนางสาวอรญา ศรีเจริญวรรณ จากวิทยาลัยนานาชาติ ด้วยผลงาน แอปพลิเคชัน Sirimongkol” ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแบบวัดเสมือนจริง ซึ่งประกอบด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบทความแบบข้อความหรือแบบเสียง ช่องทางการทำบุญ และอีกมากมาย เพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้หันมาดูแลเยียวยาจิตใจของตนเองไปพร้อมกับการพัฒนาทางจิตวิญญาณที่สอดแทรกสาระดี ๆ ทางพุทธศาสนาที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน โดยมีลักษณะของการเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นในการเสริมสร้างความยั่งยืนในสังคม

“เนื่องจากในปัจจุบันสภาพจิตใจของผู้คนอาจมีความเครียดที่สะสมอย่ามากมาย จากสถานการณ์รอบตัว และไม่รู้จะหาทางออกให้กับตนเองอย่างไร ทางทีมผู้จัดทำ ได้เห็นโอกาสและมองลึกไปยังแก่นของปัญหานี้ และเชื่อว่าวิกฤตด้านจิตใจ สามารถหาทางออกได้ด้วยการเริ่มจากตนเอง จึงได้ออกแบบ Application “Sirimongkol” ขึ้นมา เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ และสามารถเยียวยาจิตใจตนเองได้ในเบื้องต้น และได้ ผสมผสานกันระหว่างพุทธศาสนาและจิตวิทยาเข้าด้วยกัน เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้ได้มากขึ้น กับฟีเจอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น “ใจบุญ” ช่องทางการทำบุญ Online ในอนาคตสามารถ ทำบุญได้จริง และบอร์ดข่าวสารเกี่ยวกับ การทำบุญ เช่น การทำจิตอาสา หรือจะเป็น “ใจฟู” ช่องทางที่จะทำให้หัวใจของคุณ ผ่อนคลาย และ พองโตไปกับ การฟังและอ่านเรื่องราวต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้  Daily Task” ฟีเจอร์ที่จะให้ผู้ใช้ได้เก็บบันทึกสิ่งต่าง ๆ เช่น อารมณ์ การจดบันทึก นั่งสมาธิ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เซียมซี เป้าหมายพวกเรามุ่งเน้นไปถึงความยั่งยืนในสังคม เพราะเรา อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมของพวกเราให้ดียิ่งขึ้น  เพราะเราเชื่อว่า อ้อมกอดที่อบอุ่นที่สุด คืออ้อมกอดของตัวคุณเอง

Sirimongkol”  สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)  ดังนี้

เป้าหมายที่ 3 ส่งเสริมสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน

โดย Sirimongkol มีเนื้อหาและกิจกรรมที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงการเยียวยาจิตใจ ส่งผลด้านสุขภาพจิต  

 

เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

โดย Sirimongkol ได้นำกิจกรรมทางศาสนา เช่น การตักบาตร เวียนเทียน เป็นกิจจกรรมที่จะได้รับแต้มและนำไปทำบุญจริง หรือการตกบาตรออนไลน์ที่สามารถเลือกชุดทำบุญได้ และมีเนื้อหาที่แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใกล้บริเวณวัด เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชชุมชนท้องถิ่นด้วย

เป้าหมายที่ 13 การเร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสและผลกระทบที่เกิดขึ้น

โดย Sirimongkol สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการเดินทางไปวัดและการซื้อของที่ไม่จำเป็นให้กับทางวัด ลดการใช้ทรัพยากรในทุกด้านเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์

รางวัลชมเชย

รางวัลชมเชย ทีม EcoVision โดย นางสาวซอนย่า แยปปิเน่น จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ด้วยผลงาน “Green Rooftop” ซึ่งช่วยจัดการและลดปัญหาของความร้อนในเขตพื้นที่เมืองใหญ่โดยช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ผลงานนี้ยังมุ่งเน้นการส่งสาส์นสู่สังคมเพื่อการตระหนักรู้ถึงปัญหาด้านมลภาวะและปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง (Urban Heat Island) และเข้าร่วมการปรับเปลี่ยนดาดฟ้าให้เป็น Green Rooftop ร่วมกันอีกด้วย

Green Rooftop”  สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)  ดังนี้

เป้าหมายที่ 3 ส่งเสริมสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน

โดย Green Rooftop ช่วยดูดซับมลภาวะทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ทำให้อากาศดีขึ้น 

เป้าหมายที่ 11  สร้างชุมชนและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย มีภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน 

โดย Green Rooftop ช่วย ทำให้อุณหภูมิของอาคารลดลง ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบปรับอากาศ และลดภาวะและ

เป้าหมายที่ 13 การเร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสและผลกระทบที่เกิดขึ้น

โดย Green Rooftop สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)

นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาอีกหลายทีมที่ได้เข้าร่วมประกวด ซึ่งแต่ละทีมจะต้องแสดงรูปแบบผลงานและตอบคำถามด้วยภาษาอังกฤษ เป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้มีโอกาสเพื่อนำเสนอแนวคิดอย่างเต็มที่ อาทิ

  1. 1. ปุ๋ย CAP (Preparation of slow release fertilizer encapsulated by pineapple stem starch) สารเคลือบเม็ดปุ๋ยจากแป้งสับปะรดให้เป็นปุ๋ยละลายช้า โดยทีม CAPABLE จากคณะวิทยาศาสตร์
  2. Sutecka หรือสติกเกอร์กระดาษจากผักตบชวา โดยทีม Creative Environmental Science จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
  3. Bio Solar Garden Roof การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับการปลูกพืชบนหลังคา โดยทีม Live Roof จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
  4. Free Food for Food Waste-Free โครงการที่ต้องการลดปริมาณขยะอาหาร (Food Waste-Free) โดยการแจกอาหารที่เหลือ (Free Food) สู่นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย โดยทีม Bring It On คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และวิทยาลัยนานาชาติ

และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญภายในมหาวิทยาลัยมาเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดในปีนี้ ได้แก่

  • ดร.วนรักษ์ ชัยมาโย รองผู้อำนวยการ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • อาจารย์ ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิศวกรรมและระบบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ดร.เคตะ โอโน่ ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน

สามารถรับชมการประกวดย้อนหลังได้ที่

รอบคัดเลือก: นำเสนอแนวคิด (Proposal Presentation) วันที่ 30 มิถุนายน 2564  กิจกรรมการประกวด Innovation for Campus Sustainbility Contest 2021 รอบนำเสนอแนวคิด (Proposal Presentation) https://fb.watch/7RxyJ9zx5E/

รับชมต่อกับกิจกรรมการประกวด Innovation for Campus Sustainbility Contest 2021 รอบนำเสนอแนวคิด (Proposal Presentation) https://fb.watch/7RxCS5AxbK/

รอบชิงชนะเลิศ: นำเสนอต้นแบบนวัตกรรม (Prototype Presentation) วันที่ 1 กันยาน 2564  https://fb.watch/7RlJNywARS/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  1. การประกวด “Innovation for Campus Sustainability Contest 2021” รอบชิงชนะเลิศ(https://op.mahidol.ac.th/pe/2021/11250/)
  2. ม.มหิดล จัดการประกวด Innovation for Campus Sustainability Contest 2021 (รอบชิงชนะเลิศ) https://mahidol.ac.th/th/2021/mahidol-innovation-sustainability/
  3. มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดรายชื่อน.ศ.ผู้ชนะการประกวด Innovation for Campus Sustainability 2021

https://news.trueid.net/detail/KdB3325a00GW

https://www.matichon.co.th/lifestyle/tech/news_2962865

  1. Innovation for Campus Sustainability 2021 โดยม.มหิดล ต่อยอดนโยบาย มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน https://techsauce.co/pr-news/mu-innovation-for-campus-sustainability-2021

https://www.bangkokbiznews.com/news/962664