มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ก่อสร้างในปี 2523 มีการใช้น้ำบาดาลตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจนถึงปี 2552 โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีประกาศให้ยกเลิกการใช้น้ำบาดาลเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการทรุดตัวสูง มหาวิทยาลัยจึงเริ่มใช้ระบบน้ำประปา ได้เริ่มใช้น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค โดยวางระบบท่อจ่ายน้ำประปาพร้อมบ่อวาล์วควบคุมการเปิด-ปิด จำนวน 15 บ่อ แบ่งควบคุมโซนพื้นที่ได้ 14 โซน สำหรับกรณีซ่อมแซมบำรุงรักษาระบบประปา จนกระทั่งปี พ.ศ.2560 พบว่าในการซ่อมแซมท่อประปาในแต่ละครั้งมีความจำเป็นต้องปิดประตูน้ำในบ่อวาล์วตามโซนพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานจำนวนมากไม่ได้รับการจ่ายน้ำประปาเป็นวงกว้าง เนื่องจากบ่อวาล์วที่ควบคุมการเปิด-ปิดน้ำประปาเดิม มีการควบคุมโซนอาคารที่กว้างมากเกินไป ประกอบกับมหาวิทยาลัยมีการก่อสร้างอาคารใหม่เพิ่มเติมกระจายตามพื้นที่ต่างๆ จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบท่อจ่ายน้ำประปาให้เป็นระบบRING LOOP ที่มีการวางท่อประปา และบ่อวาล์วควบคุมโซนการเปิด-ปิดน้ำประปาเพิ่มเติมจำนวน 7 บ่อ รวมเป็นจำนวน 22 บ่อ แบ่งควบคุมโซนพื้นที่ได้ 19 โซน เพื่อเพิ่ม RING LOOP ประปา และเดือนพฤศจิกายน 2560เกิดเหตุการณ์ท่อเมนหลักประปารั่วไหลส่งผลให้พื้นที่ทั้งมหาวิทยาลัยไม่ได้รับการจ่ายน้ำประปาเป็นระยะเวลา 36 ชั่วโมง
ด้วยระบบท่อเมนรับน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาคของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งเป็นท่อชนิดซีเมนต์ใยหินที่ก่อสร้างเมื่อปี 2543 ขนาด 300 มิลลิเมตร ความยาว 500 เมตร ช่วงบริเวณด้านหน้าสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลถึงสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ซึ่งแตกรั่วช่วงหน้าทางเข้าอาคารวัคซีน ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำประปาปริมาณมาก และไม่สามารถจ่ายน้ำประปาเข้าสู่ท่อเมนรับน้ำประปาเพื่อจ่ายให้ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยได้ จึงส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวางท่อเมนรับน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค ชนิด HDPE ขนาด 315 มิลลิเมตร พร้อมบ่อพักและอุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิด เพื่อเชื่อมต่อไปยังท่อเมนจ่ายน้ำประปา ขนาด 315 มิลลิเมตร ของมหาวิทยาลัย สำหรับสำรองเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำประปาแตกรั่วไหลที่ท่อเมนรับน้ำประปาเดิม (ซีเมนต์ใยหิน) โดยจะสามารถควบคุมการจ่ายน้ำประปาผ่านท่อสำรองได้ทันที และไม่มีผลกระทบต่อการใช้น้ำประปาภายในมหาวิทยาลัย ในปีจึงได้จัดทำโครงการวางท่อเมนรับน้ำประปา ขนาด 315 มิลลิเมตร เพื่อสำรองท่อเมนรับน้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค และให้จ่ายน้ำประปาได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีผลกระทบต่อทุกกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย เพื่อความเชื่อมโยง SDG: เป้าหมายที่ 6 : สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยส้าหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน และการจ่ายน้ำประปาให้หน่วยงานต่างๆ ต้องมีการติดตั้งมาตรวัดน้ำ ซึ่งมาตรฐานการประปามาตรวัดน้ำที่มีอายุเกิน 8 ปี จะมีค่าความคลาดเคลื่อนสูง ในปี 2564 มาตรน้ำใช้งานมานานกว่า 12 ปีเกิดสนิมผุกร่อนตามอายุการใช้งาน และมีสิ่งปนเปื้อนในน้ำประปา ทำให้อุปกรณ์ภายในมาตรน้ำเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว จึงทำให้วัดค่าปริมาณการใช้น้ำไม่เที่ยงตรง งานสาธารณูปโภคและระบบอาคาร กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมจึงมีการจัดทำโครงการงานติดตั้งมาตรวัดน้ำประปาดิจิตอล ระยะที่ 1 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นมหาวิทยาลัยก้าวสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งสามารถติดตาม และตรวจสอบข้อมูลการใช้ปริมาณน้ำผ่านระบบออนไลน์ นอกจากนี้ข้อมูลปริมาณน้ำที่ได้รับมีความเที่ยงตรง และสามารถแจ้งเตือนหากมีการใช้ปริมาณน้ำที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ประโยชน์เพื่อการจัดการดูแลบริหารการใช้น้ำอย่างยั่งยืนต่อไป
โดยหน่วยงานที่ได้รับการเปลี่ยนมาตรวัดน้ำแล้วสามารถเข้ามาดูข้อมูลได้ที่ https://waterdatacenter.com/login.html ได้แก่ 1) หอพักนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา 2) หอประชุมสิทธาคาร กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม 3) วิทยาศาสตร์การกีฬาและสระว่ายน้ำ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 4) อาคารเรียนวิทยาลัยนานาชาติ 5) คณะกาพภาพบำบัด 6) อาคารชุดพักอาศัย ศูนย์บริหารสินทรัพย์ 7) คอนโด D ศูนย์บริหารสินทรัพย์ 8) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย 9) สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน 10) สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว 11) คณะเทคนิคการแพทย์ 12) คณะวิทยาศาสตร์ 3 13) คณะสัตว์แพทย์ศาสตร์ 14) ศูนย์การเรียนรู้ MLC 15) อาคารสิริวิทยา คณะศิลปศาสตร์ 16) วิศวกรรมศาสตร์ 17) สถาบันโภชนาการ 18) อาคารอเนกประสงค์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 19) สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล 20) อาคารวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล 21) อาคารอเนกประสงค์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 22) อาคารเรียนรวมบัณฑิตวิทยาลัย 23) อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และ 24) อาคารศาลายา กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
การใช้น้ำประปาในชีวิตประจำวันของบุคลากร และนักศึกษา เป็นการก่อให้เกิดน้ำเสีย โดยน้ำเสียจะถูกรวบรวมไปบำบัดและปล่อยน้ำที่ผ่านมาตรฐานลงสู่คูคลอง โดยงานสาธารณูปโภคและระบบอาคารมีการตรวจวัดน้ำผิวดินเป็นประจำทุกเดือน โดยวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ และค่าความเป็นกรด – ด่าง หากตรวจพบค่าเกินมาตรฐาน งานสาธารณูปโภคและระบบอาคารจะมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำผิวดินให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเสมอ
และเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง งานสาธารณูปโภคฯ กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมจึงมีโครงการจ้างลอกท่อระบบระบายน้ำฝนเป็นประจำทุก 2 ปี ประกอบไปด้วย รางดิน รางปูน ท่อระบายน้ำใต้ดิน และบ่อตะแกรงรับน้ำจากถนน เพื่อรองรับน้ำฝนและน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว โดยระบายออกจากพื้นที่สู่ภายนอกไม่ให้เกิดการท่วมขังของน้ำภายในมหาวิทยาลัยและยังเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ จึงจำเป็นต้องมีสถานีสูบระบายน้ำฝน 3 สถานี ได้แก่ อาคารชลศาสตร์ 1 (ทิศเหนือ) อาคารวิศวกรรมศาสตร์ อาคารชลศาสตร์ 2 (ทิศใต้) และในปี 2564 ได้พัฒนาระบบสูบน้ำฝนเป็นระบบ Mahidol Monitoring System (MMS) เพื่อนำเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในการติดตามข้อมูลวัดระดับน้ำภายในคลอง เพื่อป้องกันสถานการณ์น้ำท่วม ภัยแล้ง สามารถติดตาม และตรวจสอบข้อมูลที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ข้อมูลจากการตรวจวัดสามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้เพื่อคาดการณ์ด้านน้ำท่วม และภัยแล้งซึ่งข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนบริหารจัดการ และการตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการต่อยอดข้อมูลทั้งในปัจจุบัน และอนาคตเพื่อพัฒนาคุณภาพที่ดีมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อสอดคล้องกับ SDG เป้าหมายที่ 9: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม และเป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงจัดทำโครงการงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับน้ำ และควบคุมสถานสูบระบายน้ำฝน รับ-ส่ง ข้อมูลระยะไกล มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูระดับน้ำภายในมหาวิทยาลัยได้ที่เว็บไซต์ http://10.41.31.245/dashboard_mahidol.php