FAQ: MU ITA 2022
ทุกส่วนงานจะต้องพัฒนาการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลโดยใช้เครื่องมือการประเมิน ITA ซึ่งเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561 – 2580 (MAHIDOL UNIVERSITY STRATEGIC PLAN 2018 – 2037)
1. การประเมินระดับมหาวิทยาลัย เป็นการประเมินที่สำนักงาน ป.ป.ช. จะประเมินมหาวิทยาลัยในภาพรวมและรายงานผลเป็นทางการในระดับประเทศ โดยมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อมารับผิดชอบการประเมินในทุกปี ซึ่งอาจมีการขอความอนุเคราะห์จากส่วนงานหรือหน่วยงานเพื่อร่วมดำเนินการในบางส่วน เช่น การเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ หรือการส่งบุคลากรมาร่วมให้ข้อมูลกับสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นต้น
2. การประเมินระดับส่วนงาน เป็นการที่มหาวิทยาลัยนำเครื่องมือการประเมิน ITA ให้ส่วนงานหรือหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดลนำไปพัฒนาเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงาน โดยมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้ประเมินผลการดำเนินงานของส่วนงานตามหลักเกณฑ์ของสำนักงาน ป.ป.ช. และจะรายงานผลเป็นรายส่วนงานหรือรายหน่วยงาน หากส่วนงานมีการพัฒนาตามเกณฑ์การประเมินอย่างทั่วถึงจะส่งผลให้คะแนนในระดับมหาวิทยาลัยสูงขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การประเมินทั้ง 2 ส่วนได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ด้านธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยโดยมหาวิทยาลัยจะต้องได้คะแนน ITA ในระดับสูง และส่วนงานหรือหน่วยงานต่าง ๆ จะต้องมีการพัฒนาระบบการดำเนินงานให้เกิดความโปร่งใสอย่างทั่วถึงทั้งมหาวิทยาลัย
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยกำหนดให้ส่วนงานหรือหน่วยงานจะต้องทำ OIT ในส่วนของ IIT และ EIT ให้พิจารณาตามความพร้อม
ตามหลักของการประเมินจำเป็นจะต้องดำเนินการให้ครบถ้วนเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสในการดำเนินงาน แต่อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยไม่ได้กำหนดให้ส่วนงานจะต้องดำเนินการให้ได้ครบถ้วนในปีแรก หากส่วนงานใดยังไม่สามารถดำเนินการให้ครบถ้วนได้ในปีแรกสามารถพัฒนาได้ในปีถัดไป
1. มหาวิทยาลัยจะมีหนังสือไปยังส่วนงานหรือหน่วยงานเพื่อให้แจ้งความประสงค์ในการทำ IIT และ EIT
2. เมื่อมหาวิทยาลัยได้รับแจ้งความประสงค์แล้ว มหาวิทยาลัยจะจัดทำแบบสอบถามออนไลน์ให้ทั้ง IIT และ EIT เพื่อนำไปเก็บข้อมูลตามปฏิทินการประเมิน
3. ส่วนงานหรือหน่วยงานจะต้องเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนตามขนาดกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำที่กำหนดในคู่มือภายในระยะเวลาที่กำหนดในปฏิทินการเมิน (ไม่สามารถเก็บข้อมูลก่อนได้)
แบบสอบถาม IIT และ แบบสอบถาม EIT มหาวิทยาลัยมีฉบับแปลภาษาอังกฤษให้โดยจะจัดส่งให้พร้อมกับฉบับภาษาไทยตามที่ส่วนงานแจ้งความประสงค์
ส่วนงานหรือหน่วยงานสามารถดำเนินการ IIT หรือ EIT อย่างหนึ่งได้ แต่แนะนำให้ดำเนินการทั้ง 2 ส่วนเมื่อนำคะแนนมารวมกับ OIT แล้วจะมีความครบถ้วนในทุกมิติของการประเมิน
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยกำหนดให้ส่วนงานหรือหน่วยงานดำเนินการเฉพาะ OIT ในส่วนของ IIT หรือ EIT ให้พิจารณาตามความพร้อม ดังนั้นการประกาศผลคะแนนอย่างเป็นทางการจะคิดเฉพาะส่วน OIT เท่านั้น ในส่วนของ IIT และ EIT เป็นการคิดคะแนนภายในของส่วนงานหรือหน่วยงานเอง
รูปแบบที่ 1 ดำเนินการเฉพาะ OIT คะแนนเต็ม 100 คะแนน (นำจำนวนข้อที่ได้คะแนน x 100/42 ข้อ)
รูปแบบที่ 2 ดำเนินการทั้ง 3 ส่วนจะนำผลรวมคะแนนของทุกเครื่องมือที่ถ่วงน้ำหนักแล้วมารวมกันเป็นผลการประเมิน ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
OIT คะแนนเต็ม 100 คะแนน (นำจำนวนข้อที่ได้คะแนน x 100/42 ข้อ) แล้วนำมาถ่วงน้ำหนักโดยให้ค่าน้ำหนัก 40
IIT คะแนนเต็ม 100 คะแนน (คิดจากคะแนนเฉลี่ยของข้อคำถามจากผู้ตอบ) แล้วนำมาถ่วงน้ำหนักโดยให้ค่าน้ำหนัก 30
EIT คะแนนเต็ม 100 คะแนน (คิดจากคะแนนเฉลี่ยของข้อคำถามจากผู้ตอบ) แล้วนำมาถ่วงน้ำหนักโดยให้ค่าน้ำหนัก 30
ทั้งนี้ การรายงานผลคะแนนรูปแบบที่ 2 จะรายงานเฉพาะส่วนงานที่ดำเนินครบทั้ง 3 เครื่องมือ และเป็นการรายงานภายในส่วนงานหรือหน่วยงานเท่านั้น
ผลการประเมินจะประกอบด้วยค่าคะแนน โดยมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน และจะต้องได้ 85 คะแนนขึ้นไปจึงจะถือว่า “ผ่าน” ซึ่งระดับผลการประเมิน (Rating Score) จำแนกออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้
คะแนน | ระดับ |
95.00 – 100 | AA |
85.00 – 94.99 | A |
75.00 – 84.99 | B |
65.00 – 74.99 | C |
55.00 – 64.99 | D |
50.00 – 54.99 | E |
0 – 49.99 | F |