UI GreenMetric University Ranking

UI GreenMetric University Ranking เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (University of Indonesia) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดอันดับระดับนานาชาติ (IREG) ตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 (พ.ศ. 2553) โดยผ่านการสำรวจการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับ Green Campus และการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีการกำหนดตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว ประกอบไปด้วย 6 ตัวชี้วัด ได้แก่

  1. การจัดการโครงสร้างพื้นฐาน (Setting and Infrastructure: SI)
  2. การจัดการพลังงาน (Energy and Climate Change: EC)
  3. การจัดการกากของเสีย (Waste: WS)
  4. การจัดการน้ำ (Water: WR)
  5. การคมนาคมขนส่ง (Transportation: TR)
  6. การศึกษาและวิจัย (Education and Research: ED)

สำหรับแนวทางการจัดทำข้อมูลเพื่อยื่นเสนอพิจารณาการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว สามารถดาวน์โหลดคู่มือและดูข้อมูลอื่น ๆ เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://greenmetric.ui.ac.id/

ทั้งนี้ มีมหาวิทยาลัยจากหลายประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว เนื่องจากเป็นการวัดความสำเร็จของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมหาวิทยาลัยมหิดลร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมการจัดอันดับ UI GreenMetric จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จำนวน 37 แห่ง และจาก 912 แห่งจากทั้งโลก โดยในปี 2563 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย ระยะเวลา 5 ปีซ้อน และได้อันดับที่ 62 ของโลก แสดงในภาพที่ 1 โดยผลคะแนนจากการพิจารณารายตัวชี้วัดทั้ง 6 ด้าน ของมหาวิทยาลัยมหิดล แสดงในตารางที่ 1 และภาพที่ 3

ภาพที่ 1 กราฟแสดงการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – 2563

ภาพที่ 2 แสดงอันดับที่ได้และผลคะแนนจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางที่1 ผลคะแนนรวมและคะแนนรายตัวชี้วัดทั้ง 6 ด้านของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2563

ปี Total Setting and Infrastructure Energy and Climate Change Waste Water Transportation Education & Research
2555 6,208 739 1,560 1,350 865 1,375 319
2556 6,370 706 1,455 1,350 865 1,375 619
2557 6,343 741 1,455 1,350 865 1,375 557
2558 5,736 678 1,200 1,425 565 1,009 589
2559 5,992 928 1,077 1,251 485 1,345 906
2560 5,782 829 1,095 1,302 560 1,162 834
2561 6,850 1,050 1,175 1,275 800 1,225 1,325
2562 7,350 1,100 1,175 1,125 1,000 1,475 1,475
2563 7,875 1,100 1,175 1,425 1,000 1,525 1,650

ภาพที่ 3 กราฟแสดงผลคะแนนรวมและคะแนนรายตัวชี้วัดทั้ง 6 ด้านของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2563

กิจกรรมเสวนาออนไลน์ UI GreenMetric University ปี 2563 Sustainable University Leader towards UI GreenMetric World University Rankings

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ Universitas Indonesia (University of Indonesia) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเรื่องการจัดอันดับระดับนานาชาติ (IREG) และ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก UI GreenMetric World University Rankings จัดงาน Sustainable University Leader toward UI GreenMetric World University Rankings เมื่อวันที่ 17 กรกฏาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเปิดงานและบรรยายในหัวข้อ “Sustainability in Higher Education” และ Prof. Dr. Ir. Riri Fitri Sari, M.Sc., M.M (Chairperson of UI GreenMetric) บรรยายในหัวข้อ “UI GreenMetric Remarks” และบรรยายเกี่ยวกับเกณฑ์ของการจัดอันดับ โดย Asst. Prof. Junaidi, M.A. (Vice-Chair of UI GreenMetric) ในหัวข้อ Guideline of UI GreenMetric World University Rankings 2020 โดย Prof. Ir. Gunawan Tjahjono, M.Arch., Ph.D. (Expert Member of UI GreenMetric) ในหัวข้อ 2020 UI GreenMetric Indicators and data submission process และปิดท้ายด้วยการบรรยายของ รองศาสตราจารย์ ดร. กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในหัวข้อ UI GreenMetric Ranking Performance of Thai’s University

การจัดงานครั้งนี้เพื่อแนะนำการเป็นเครือข่ายร่วมกับ UI GreenMetric แก่มหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศผ่านโปรแกรม ZOOM และ Facebook live เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับฟังได้สะดวกยิ่งขึ้น และอธิบายเกณฑ์ตามตัวชี้วัด และสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยไทยเข้าร่วมการจัดอันดับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมการวางแนวนโยบาย และวางเป้าหมาย เพื่อมุ่งสู่การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และพัฒนาการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ล้วนมีส่วนช่วยพัฒนามหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล