•   ||  Global Website
  • FB: Physical systems and Environment
  • FB: Sustainability
  • Youtube: channel
THINK CYCLE BANKTHINK CYCLE BANKTHINK CYCLE BANKTHINK CYCLE BANK
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ
    • โครงสร้างการบริหารงาน
    • ผู้บริหาร
    • บุคลากร
      • งานบริหารและพัฒนาระบบ
      • งานออกแบบและผังแม่บท
      • งานสาธารณูปโภคและระบบอาคาร
      • งานจราจรและความปลอดภัย
      • งานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม
      • งานพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
      • งานบริหารอาคารมหิดลสิทธาคาร
    • ช่องทางการติดต่อและแผนที่การเดินทาง
      • ช่องทางการติดต่อ
      • แผนที่ชื่อถนนสายหลักสายรอง
      • แผนที่การเดินทางมาศาลายา ณ จุดต่างๆ
      • แผนที่จุดบริการภายในมหาวิทยาลัย
      • แนะนำสถานที่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    • ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ
  • บริการของเรา
    • อาคารสถานที่
      • มหิดลสิทธาคาร
      • ศูนย์การเรียนรู้มหิดล
      • สิริวิทยา
    • เส้นทางรถราง
    • การขอใช้พื้นที่ส่วนกลาง
    • รายงานพื้นที่จอดรถ
  • ประกาศ / นโยบาย / หลักเกณฑ์
    • มหิดลสาร
    • ประกาศ / เอกสารเผยแพร่
    • การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานบริหารและพัฒนาระบบกายภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • โครงการ
    • SDGs Project
      • SDGs
      • SDGs Operation
      • Mahidol Sustainability Week
      • Innovation for Campus Sustainability
      • Together for Mahidol Campus Sustainability 2025
      • วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
    • ประกาศนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • โครงการพัฒนาตามผังแม่บท
    • ISO 14001: 2015
    • MU GREEN RANKINGS
✕
Eco Town
16/07/2021
Recycle Waste Bank Project
16/07/2021

THINK CYCLE BANK

Published by admin at 16/07/2021
Categories
  • uncategorized
Tags

ธนาคาร ทิ้ง-ไซเคิล

THINK CYCLE BANK
“
ทิ้งแบบหมุนเวียน……เพื่อเปลี่ยนโลก”

มหาวิทยาลัยมหิดลมีปณิธานสำคัญของการเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” โดยมีพันธกิจหลักเพื่อสร้างความเป็นเลิศทางด้านสุขภาพ ศาสตร์ ศิลป์ และนวัตกรรม บนพื้นฐานคุณธรรม เพื่อสังคมไทย และประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ และ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน เพื่อหนุนเสริมมหาวิทยาลัยสู่เป้าหมายการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก  โดยมีนโยบายส่งเสริมการสร้างมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (Eco University) ที่มีเป้าหมายชัดเจนของการสร้างให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย ด้วยการสร้างให้เกิดดุลยภาพของมิติเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันจะนำมาซึ่งความมีประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร ความเท่าเทียมกันของสังคม และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของบุคลากร นักศึกษา และชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย และจากผลสำเร็จของโครงการ “Clean and Clear” ในปี 2551 และการพัฒนาตามแนวยุทธศาสตร์ ในปี 2555 – 2563  มหาวิทยาลัยจึงมีแนวคิดในการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการต่างๆ มาให้บริการแก่ชุมชน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม โดยในเบื้องต้นนำร่อง ด้วยการนำองค์ความรู้ในการจัดตั้งและการบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลให้กับโรงเรียนโดยรอบมหาวิทยาลัย พร้อมกับการสาธิตและแนะแนวทางการดำเนินโครงการ ตลอดจนการให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในทางปฏิบัติและเกิดความยั่งยืนในการดำเนินโครงการโดยมีเป้าหมายในการสร้างเสริมความรู้และความเข้าใจให้นักเรียน/ครูและผู้ปกครอง ได้มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ และเกิดรายได้จากขยะที่ผ่านการคัดแยก เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ร่วมสร้างชุมชนคาร์บอนต่ำ  ส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์ชุมชนโดยเริ่มจากโรงเรียน ครอบครัว และกระจายสู่สังคม ภายใต้โครงการ “พันธกิจสัมพันธ์ Eco Town มหิดลกับชุมชน” ต่อไป

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมด้วย คุณวราวรรณ ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจการสื่อสารองค์กร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ร่วมงานเปิดตัวเปิดตัวโครงการ  “GC Think Cyecle Bank” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ในการต่อยอดโครงการส่งเสริมการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล เพื่อเปลี่ยนขยะให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยระบบธนาคารขยะรีไซเคิลออนไลน์เพื่อแก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทาง ปลูกจิตสำนึกการคัดแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ตามหลัก Circular Economy พร้อมสร้างเครือข่ายการจัดการขยะจากระดับครัวเรือนสู่ระดับจังหวัด โดยได้เปิดตัว 12 โรงเรียนนำร่อง พร้อมกับชุมชนในระยอง เพื่อการดำเนินโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ซึ่งเป็นแนวนโยบายของรัฐบาล ในเรื่องของการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือผลักดันให้เกิดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ณ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สำนักงานระยอง จ.ระยอง

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จัดอบรมการใช้โปรแกรมโครงการ Think Cyecle Bank “ทิ้งแบบหมุนเวียน…เพื่อเปลี่ยนโลก” เพื่อเป็นการรณรงค์ให้เยาวชนตระหนักถึงปัญหาขยะในชุมชนและมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการบริหารจัดการขยะ ทั้งการจัดเก็บ การแยกขยะ และการรีไซเคิลขยะ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชนของตน และมีรายได้จากการนำขยะรีไซเคิลที่รวบรวมมาขายที่ธนาคารขยะเป็นผลพลอยได้อีกด้วย  โดยมีโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วม 10 โรงเรียน ณ ร้านอาหารหาดแสงจันทร์ซีฟู้ด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ตลอดระยะเวลาของการดำเนินโครงการที่ผ่านมา มีจำนวนโรงเรียนในจังหวัดระยองเข้าร่วม จำนวน 22 โรงเรียน และมหาวิทยาลัยมหิดลยังได้ดำเนินการลงพื้นที่ในการตรวจเยี่ยม แก้ไขปัญหาให้กับโรงเรียนต่างๆ จนสามารถดำเนินการไปได้ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น (SDGs) นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามข้อ 12 (Responsible Consumption And Production) เป็นกิจกรรมหรือโครงการด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า การจัดการขยะ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และข้อ 13 (Climate action) เป็นกิจกรรมหรือโครงการด้านการจัดและการรับมือภัยพิบัติ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

และเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามข้อ 8. Decent Work and Economic Growth เป็นกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริมการจ้างงานที่เท่าเทียมหรือค่าตอบแทนที่เหมาะสม ลดการว่างงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม และการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และข้อ 12. Responsible Consumption And Production เป็นกิจกรรมหรือโครงการด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่า การจัดการขยะ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

admin
admin

Link

 

For Staff

ระบบงานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Document)

ระบบจองรถตู้และห้องประชุมออนไลน์

ระบบลาออนไลน์

ระบบปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่น

e-Payroll เงินเดือน เงินค่าตอบแทนอื่น ๆ

ข้อมูลสวัสดิการและสิทธิประโยชน์

เข้าสู่ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMS)

แบบฟอร์มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ All Drive (พื้นที่เก็บข้อมูล)

Statistics

สถิติการใช้ไฟฟ้า

สถิติการใช้น้ำ

ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสีย

รายงานผลการปฏิบัติงานด้านภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม

Contact US

ช่องทางการติดต่อและแผนที่การเดินทาง

Event calendar

ปฏิทินกิจกรรมกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
© 2021 General Administration Division. All Rights Reserved.
    Manage Cookie Consent
    To provide the best experiences, we use technologies like cookies to store and/or access device information. Consenting to these technologies will allow us to process data such as browsing behavior or unique IDs on this site. Not consenting or withdrawing consent, may adversely affect certain features and functions.
    Functional Always active
    The technical storage or access is strictly necessary for the legitimate purpose of enabling the use of a specific service explicitly requested by the subscriber or user, or for the sole purpose of carrying out the transmission of a communication over an electronic communications network.
    Preferences
    The technical storage or access is necessary for the legitimate purpose of storing preferences that are not requested by the subscriber or user.
    Statistics
    The technical storage or access that is used exclusively for statistical purposes. The technical storage or access that is used exclusively for anonymous statistical purposes. Without a subpoena, voluntary compliance on the part of your Internet Service Provider, or additional records from a third party, information stored or retrieved for this purpose alone cannot usually be used to identify you.
    Marketing
    The technical storage or access is required to create user profiles to send advertising, or to track the user on a website or across several websites for similar marketing purposes.
    Manage options Manage services Manage {vendor_count} vendors Read more about these purposes
    View preferences
    {title} {title} {title}