กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัญญาประดิษฐ์

ในบริบทการศึกษา

ปัญญาประดิษฐ์

ในบริบทการศึกษา

ปัญญาประดิษฐ์

ในบริบทการศึกษา

แนวทางสำหรับอาจารย์

ในการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการจัดการเรียนการสอน

คู่มือฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของ
เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสร้างสรรค์ (Generative AI)
ตลอดจนข้อดีและข้อจำกัด รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน ความปลอดภัย และจริยธรรม เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการนำเครื่องมือเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสร้างสรรค์

Generative AI

นิยามและกลไกการทำงาน

ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสร้างสรรค์เป็นระบบที่อาศัย
แบบจำลองภาษาขนาดใหญ่ ซึ่งประมวลผลจากฐานข้อมูล
ขนาดมหึมาเพื่อตอบสนองต่อคำถามหรือสร้างเนื้อหา
ตามความต้องการของผู้ใช้ ระบบนี้มีความคล้ายคลึงกับ
ระบบแนะนำคำศัพท์ที่ได้รับการพัฒนาให้มีความซับซ้อน
มากยิ่งขึ้น โดยปัญญาประดิษฐ์จะวิเคราะห์และคาดการณ์
รูปแบบการตอบสนองของมนุษย์ แล้วสังเคราะห์เนื้อหาขึ้นมา
ตามบริบทที่กำหนด

ความสำคัญ

ของการทำความเข้าใจ

ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสร้างสรรค

ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสร้างสรรค์อาจส่งผลกระทบต่อ
จริยธรรมและความซื่อสัตย์ทางวิชาการ เนื่องจาก
ความสามารถในการผลิตเนื้อหาทางวิชาการได้อย่างรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การห้ามใช้โดยเด็ดขาด
อาจไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้
กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำงานและชีวิตประจำวัน
มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีการ
ใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

แนวทางการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์

เพื่อการสร้างสรรค์ในการศึกษา

เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์เพื่อการสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
และลดความเสี่ยงจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสมในบริบททางวิชาการ มีแนวทางดังต่อไปนี้:

การสร้างความร่วมมือ
ระหว่างคณาจารย์และ
บุคลากรในมหาวิทยาลัย

จัดให้มีการอภิปรายเกี่ยวกับ
บทบาทของปัญญาประดิษฐ์
เพื่อการสร้างสรรค์ในกระบวน
การเรียนการสอนและ
การประเมินผล

ร่วมกันกำหนดแนวทาง
การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์
อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

สร้างความตระหนักรู้
แก่นักศึกษา

ให้ความรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงาน ข้อดี และข้อจำกัด
ของปัญญาประดิษฐ์เพื่อการ
สร้างสรรค์

อภิปรายประเด็น
ด้านความเป็นส่วนตัว ลิขสิทธิ์ ความปลอดภัย และผลกระทบ
ทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง

กำหนดนโยบาย
การใช้งานที่ชัดเจน
และเป็นระบบ

จัดทำแนวปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับ
การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อ
การสร้างสรรค์ในแต่ละรายวิชา

ระบุขอบเขตและวัตถุประสงค์ของ
การใช้งานที่เหมาะสมอย่างชัดเจน

การพัฒนา
วิธีการประเมินผล
ที่สอดคล้องกับ
เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

พิจารณาใช้วิธีการประเมินผล
แบบต่อเนื่องและเป็นขั้นตอน

ออกแบบการประเมินที่เน้นการ
วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้
ความรู้จากประสบการณ์
ส่วนบุคคลของนิสิตนักศึกษา

การบูรณาการ
ปัญญาประดิษฐ์
ในกระบวนการเรียนการสอน

วิเคราะห์โอกาสในการประยุกต์ใช้
ปัญญาประดิษฐ์ในแต่ละสาขาวิชา

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมใหนักศึกษา
ใช้ปัญญาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ
สนับสนุนการเรียนรู้
อย่างมีวิจารณญาณ