กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล


คำถามที่พบบ่อย


งานพัฒนาการศึกษา
Q : แบบฟอร์ม มคอ.2 และมคอ.3 ค้นหาได้จากที่ไหน

A : สามารถ download แบบฟอร์มล่าสุดได้ที่ website กองบริหารการศึกษา ภายใต้ banner เรื่องขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร/ปรับปรุงหลักสูตร

Q : อยากได้คำอธิบายรายวิชาของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปจะหาได้จากที่ใด

A : สามารถดูข้อมูลได้ที่ website กองบริหารการศึกษาหรือติดต่อส่วนงานที่รับผิดชอบรายวิชานั้นๆ โดยตรง

Q : จะต้องส่งเอกสารการเสนอขอเปิดหลักสูตรใหม่/ปรับปรุงหลักสูตรล่วงหน้ากี่วันเพื่อให้สภามหาวิทยาลัยมหิดลอนุมัติและทันใช้ในแต่ละปีการศึกษา

A: • กรณีที่ส่วนงานขอเสนอเปิดหลักสูตรใหม่ จะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 121 วัน
     • กรณีที่ส่วนงานขอเสนอปรับปรุงหลักสูตรที่ต้องการพัฒนาในระยะเวลาก่อนครบวงรอบการปรับปรุงหลักสูตรหรือครบวงรอบการปรับปรุงหลักสูตร จะใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 104 วัน

Q : การเสนอขอปรับปรุงหลักสูตร สามารถส่งเล่ม มคอ.2 มายังกองบริหารการศึกษาได้เลยหรือไม่

A : ต้องเสนอ MU Template for Degree Profile ให้ทางมหาวิทยาลัยพิจารณาและเห็นชอบก่อนดำเนินการจัดทำเล่ม มคอ.2

Q : เมื่อส่วนงานเสนอขออนุมัติหลักการเปิดหลักสูตรใหม่และได้รับการอนุมติหลักการการเปิดหลักสูตรใหม่ จากสภามหาวิทยาลัยมหิดล จะมีระยะเวลาเท่าใดในการดำเนินการส่งเอกสารรายละเอียดหลักสูตรเพื่อเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตร

A : ส่วนงานมีระยะเวลาในการจัดทำข้อมูลรายละเอียดหลักสูตร เป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่สภามหาวิทยาลัยมหิดลอนุมัติหลักสูตร


งานบริการการศึกษา
Q : ระบบ TCAS คืออะไร

A: TCAS หรือ Thai University Center Admission System เป็นระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 เป็นระบบที่ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)

Q : ระบบ TCAS มีวิธีการรับอย่างไร และใช้เกณฑ์อะไรบ้าง

A:       รอบที่ 1  การรับด้วย Portfolio (ไม่มีการสอบข้อเขียน/ข้อปฏิบัติ) รับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ/ นักเรียนโควตา  มีการสอบสัมภาษณ์หรือทดสอบทักษะเฉพาะทาง  ใช้คะแนน GPAX  4 หรือ 5 ภาคเรียน  สมัครโดยตรงกับมหาวิทยาลัย

Portfolio คือ เอกสารที่แสดงตัวตน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ การเข้าร่วมกิจกรรม  ตลอดจนรางวัลที่ได้รับ  ที่มีความสอดคล้องกับสาขาที่เราจะสมัคร (จัดส่งไม่เกิน 10 หน้ากระดาษ A4 (ไม่รวมปก)

รอบที่ โควตา (มีการสอบข้อเขียน/ข้อปฏิบัติ) รับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่หรือภาค/ในโรงเรียนเครือข่าย/     ในโครงการความสามารถพิเศษ/ในเขตพิเศษของประเทศ ใช้คะแนน GPAX 4 หรือ 5 ภาคเรียน, คะแนน 9 วิชาสามัญ, คะแนน GAT/PAT  สมัครโดยตรงกับมหาวิทยาลัย

รอบที่ 3  การรับตรงร่วมกัน  รับนักเรียนทั่วไป/กสพท/โครงการอื่นๆ  ใช้คะแนน GPAX 4 หรือ 5 ภาคเรียน, คะแนน 9 วิชาสามัญ, คะแนน GAT/PAT นักเรียนสามารถเลือกสมัครได้ 6 สาขาวิชา แบบเรียงลำดับ ทปอ.เป็นส่วนกลางในการรับสมัคร

รอบที่ 4  การรับ Admission รับนักเรียนทั่วไป ใช้คะแนน GPAX, O-NET, GAT/PAT หรือคะแนนอื่นๆ        ที่ทางมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด  นักเรียนสามารถเลือกสมัครได้ 4 สาขาวิชา  แบบเรียงลำดับ

รอบที่ 5  การรับตรงอิสระ รับนักเรียนทั่วไป ใช้คะแนน GPAX 6 ภาคเรียน, คะแนน 9 วิชาสามัญ, คะแนน GAT/PAT  สมัครโดยตรงกับมหาวิทยาลัย

Q : การบริหารจัดการสิทธิ์ในระบบ TCAS คืออะไร

A:       ระบบการบริหารจัดการสิทธิ์ส่วนกลาง ของ ทปอ.  จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้สมัคร/สถาบันอุดมศึกษาได้เข้ามาใช้งานในระบบของทุกรอบ ประกอบด้วย การยืนยันสิทธิ์  การไม่ยืนยันสิทธิ์ การสละสิทธิ์ การคืนสิทธิ์ และการตรวจสอบสถานะการใช้สิทธิ์  ดูรายละเอียดทางเว็บไซต์  http://mytcas.com/

ทั้งนี้  ผู้สมัครแต่ละคนมี 1 สิทธิ์ในการเข้าศึกษา แต่สามารถสละสิทธิ์ที่ยืนยันไปแล้ว  เพื่อสมัครคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์ในรอบต่อไปได้อีก 1 ครั้ง (ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาได้สูงสุด 2 ครั้ง) โดยต้องสละสิทธิ์สาขาวิชาที่ได้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาไปแล้วในระบบ ก่อน ทำการคัดเลือกในรอบถัดไปได้

การยืนยันสิทธิ์  คือ กระบวนการที่ผู้สมัครเข้าไปในระบบเพื่อยืนยันสิทธิ์ ว่ามีความประสงค์จะเข้าศึกษาในสาขาวิชา/สถาบันอุดมศึกษา ที่ประกาศรายชื่อว่าตนเป็นผู้ผ่านการคัดเลือก ทั้งนี้ในระบบได้ออกแบบให้เลือกว่าจะ “ยืนยันสิทธิ์” หรือ “ไม่ยืนยันสิทธิ์”

การสละสิทธิ์ คือ กระบวนการที่ผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าไปในระบบ เพื่อแจ้งขอยกเลิกสิทธิ์ที่ได้ยืนยันไปแล้ว  ซึ่งจะกระทำได้เพียงครั้งเดียว  ในกรณีที่ต้องการจะสมัครคัดเลือกในรอบต่อไป

การคืนสิทธิ์  คือ เมื่อมีการสละสิทธิ์ในระบบ ผู้สมัครจะได้รับการคืนสิทธิ์โดยอัตโนมัติ เพื่อใช้สิทธิ์สมัครคัดเลือกในรอบต่อไปได้

การตรวจสอบสถานะการใช้สิทธิ์ คือ สาขาวิชา/สถาบันอุดมศึกษา/ผู้สมัครเข้าไปในระบบเพื่อตรวจสอบสิทธิ์ของผู้สมัครว่าสอดคล้องกับข้อกำหนด/แนวปฏิบัติในเรื่องการบริหารจัดการสิทธิ์ และผู้นั้นมีสิทธิ์ที่จะสมัครคัดเลือกรอบนั้น ๆ ได้หรือไม่

Q : สนใจจะสมัครเข้าศึกษาในคณะ/หลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหิดลต้องสมัครอย่างไร

A:       หลักสูตรไทย และหลักสูตรนานาชาติ (บางสาขา) เข้ารับในระบบ TCAS ในรอบที่ 1,  รอบที่ 2,  รอบที่ 5  สมัครโดยตรงกับมหาวิทยาลัย  โดยนักเรียนเลือกสมัครได้ 1 คณะ / หลักสูตร สมัครที่เว็บไซต์ https://tcas.mahidol.ac.th และรอบที่ 3, รอบที่ 4  สมัครโดยตรงกับ ทปอ. สมัครที่เว็บไซต์ http://mytcas.com/

          หลักสูตรนานาชาติ (บางสาขา) ไม่เข้ารับในระบบ TCAS (สมัครโดยตรงกับคณะ)  ได้แก่  วิทยาลัยนานาชาติ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์   และคณะวิทยาศาสตร์  ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ของแต่ละคณะ  หรือเว็บไซต์ https://tcas.mahidol.ac.th 


งานทะเบียนและประมวลผล

การยืนยันสิทธิ์เพื่อขอรับการเยียวยาค่าเล่าเรียน

Q : ถ้ายังไม่ได้จ่ายค่าเทอม แล้วต้องไปยืนยันสิทธิ์ส่วนลดค่าเทอมก่อนจ่ายไปไหม หรือว่าต้องจ่ายก่อนถึงจะขอเงินคืนได้

A : ถ้ายังไม่จ่ายค่าเทอม ต้องยืนยันสิทธิ์ก่อนแล้วระบบจะคำนวณส่วนลดค่าเทอมให้ถึงสามารถเข้าไปจ่ายเงินได้

Q : ลงทะเบียนเรียนเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้จ่ายค่าเทอม ค่อยไปลงทะเบียนยืนยันสิทธิ์ลดค่าเทอมจะมีปัญหามั้ย

A : ถ้าจ่ายค่าเทอมแล้ว ต้องยืนยันสิทธิ์เช่นกัน และระบบจะคืนเงินเข้าบัญชีที่ได้ลงทะเบียนยืนยันสิทธิ์ไว้

Q : ถ้ายังไม่ได้จ่ายค่าเทอม ตอนยืนยันสิทธิ์ต้องกรอกเลขบัญชีธนาคารด้วยมั้ย

A : จำเป็นต้องกรอกในระบบยืนยันสิทธิ์

Q : กดยืนยันการลงทะเบียนยังไม่ได้จ่าย สามารถจ่ายค่าเทอมในอัตราลด 50 % ได้หรือไม่ หรือต้องจ่ายเต็มจํานวนแล้ว

A : ถ้ายังไม่จ่ายค่าเทอม ต้องยืนยันสิทธิ์ก่อนแล้วระบบจะคำนวณส่วนลดค่าเทอมให้ถึงสามารถเข้าไปจ่ายเงินได้

Q : กรณีที่ยังไม่ได้ชําระค่าธรรมเนียมการศึกษาต้องยืนยันสิทธิ์ QR code เดียวกับรับเงินคืนใช่มั้ย

A : ใช่

Q : ต้องรอระบบอับเดทให้ หรือเราต้องชําระก่อนแล้วจึงยื่นเรื่องขอลดค่าเทอม

A : ลงทะเบียนยืนยันรับสิทธิ์เยียวยาแล้วระบบถึงจะอัพเดทให้

Q : พอดีว่ายอดเงินค่าเทอมที่ต้องได้รับลดการเยียวยาไม่ตรงกับเพื่อน

A : ขึ้นอยู่กับรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียน

Q : เรื่องการลดค่าธรรมเนียมทาง pc ได้ด้วยมั้ย

A : ได้สิทธิ์เยียวยาเฉพาะหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตเท่านั้น

Q : ยืนยันสิทธิ์แล้วแต่พอเข้าไปหน้าชําระเงินยังไม่ลดค่าเทอมให้ ต้องรอหรือว่าต้องชําระเต็มจํานวนก่อน

A : หลังยืนยันสิทธิ์แล้วต้องรอ 1-2 วัน ระบบจึงจะปรับลดใบแจ้งหนี้ให้

Q : ค่าเทอมใหม่ที่ลดแล้วยังไม่ขึ้นแจ้งในระบบเลย

A : หลังยืนยันสิทธิ์แล้วต้องรอ 1-2 วัน ระบบจึงจะปรับลดใบแจ้งหนี้ให้

Q : ถ้ายังไม่ได้ชําระค่าธรรมเนียมการศึกษาเขามีให้กรอกเลขบัญชีเราต้องกรอกไหม

A : จำเป็นต้องกรอก

Q : ในกรณีที่เพิ่มรายวิชาเพิ่มเติมไปจะได้ส่วนลดด้วยหรือไม่

A : ได้ส่วนลด

Q : ค่าเทอม 2/2563 ที่จ่ายเต็มไปแล้ว สรุปจะคืนยังไง

A : คืนโดยเป็นส่วนลดในเทอม 1/2564

Q : ค่าเทอมขึ้น 0.00 ต้องติดต่อไปที่ไหน

A : ติดต่อกองบริหารการศึกษา

Q : ทางมหาลัยจะมีเปิดรอบลงทะเบียนเพิ่มไหม หรือทางอื่นไหม

A : มีเปิดเพิ่ม

Q : ส่งเมลแจ้งความจํานงไปแล้วจะทราบได้อย่างไรว่าสามารถเพิ่ม/ลดรายวิชานั้นๆได้

A : เมื่อส่งแจ้งความจำนงแล้ว นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนเพิ่ม/ลด ด้วยตนเอง

Q : จะขอลดวิชานี่ต้องทํายังไงบ้าง สําหรับนักศึกษาที่ยังไม่ได้ชําระค่าเทอม

A : เมื่อส่งแจ้งความจำนงแล้ว นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนเพิ่ม/ลด ด้วยตนเอง

Q : ส่งเมลไปขอลดวิชาเสรี/ทั่วไปแล้ว แต่จะไม่ลดแล้ว ต้องทําอะไรไหม

A : นักศึกษาไม่ต้องดำเนินการลดรายวิชา

Q : ใบแจ้งหนี้ล่าสุดสถานะในการลงทะเบียนในใบที่อาจารย์ที่ปรึกษาต้องลงนาม ทําไมสถานะขึ้นเป็น E หรอ

A : ให้นักศึกษาตรวจสอบรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนในใบแจ้งหนี้หลัก (normal) เท่านั้น

Q : ค่าเทอม 2/2563 ที่จ่ายเต็มไปแล้ว แล้วมหาลัยแจ้งว่าจะคืนให้ในเทอม 1/2564 คือคืนรึยัง

A : ส่วนลดเทอม 1/2563 นำมาลดรวมกันกับส่วนลดตามมาตรการเยียวยาของ อว. ในเทอม 1/2564

Q : ค่าเทอมขึ้นว่า 0 บาทหมายความว่าอะไร

A : เป็นใบแจ้งหนี้ที่ไม่ต้องชำระเงิน

Q : จ่ายค่าเทอมแต่คิวอาร์โค้ดไม่ถูกต้อง

A : ติดต่อกองบริหารการศึกษา

Q : ถ้าไม่จ่ายค่าเทอมทาง e-payment กับ scan qr code สามารถจ่ายโดนการโอนผ่านเลขบัญชีได้มั้ย

A : สามารถจ่ายได้

Q : ต้องจ่ายค่าลงทะเบียนเรียนทั้งสองอันเลยมั้ยมี 1400 เกินมา จากก่อนที่จะลดค่าธรรมเนียมเหมือนจะยังไม่ได้บวกเพิ่ม

A : ติดต่อกองบริหารการศึกษาเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

เรื่องการลงทะเบียนเรียน

Q : ถ้าอยากจะดรอปเรียนต้องทํายังไง

A : ติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะที่นักศึกษาสังกัด

Q : ปี 1 เข้าศึกษาปี นี้สามารถดรอปได้มั้ย

A : ต้องพิจารณาเหตุผลในการดรอป ติดต่อคณะที่นักศึกษาสังกัด

Q : ถ้าอยากจะดรอปเรียนต้องทํายังไง

A : ติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะที่นักศึกษาสังกัด

เรื่องเอกสารสำคัญทางการศึกษา

Q : ขอใบรับรองการเป็นนักศึกษาได้ที่ไหน/ ขอใบ Transcript ได้ที่ไหน

A : สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ โพสต์ปักหมุดของ Facebook fanpage “กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล”

Q : ใบ transcript ของนักศึกษาที่จบตอนนี้ยังไม่ได้เลย

A : ใบแสดงผลการศึกษาและใบรับรองคุณวุฒิของนักศึกษาที่จบปีการศึกษานี้ หากยังไม่ได้รับ ให้ติดต่อคณะต้นสังกัด เนื่องจากทางคณะจะเป็นผู้แจกให้กับนักศึกษา หากได้รับไปแล้วและต้องการจะขอเพิ่ม ให้ทำเรื่องขอเพิ่มได้ที่ one stop service (ทำคำร้องขอเอกสารฯออนไลน์ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ โพสต์ปักหมุดของ Facebook fanpage “กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล” )

Q : ถ้าอยากจะดรอปเรียนต้องทํายังไง

A : ติดต่อฝ่ายการศึกษาของคณะที่นักศึกษาสังกัด

เรื่องการออกบัตรนักศึกษา

Q : เปิดบัญชี SCB เพื่อทำบัตรนักศึกษาในแอพพลิเคชั่นไม่ได้ข้อมูนักศึกษาไม่ถูกต้อง

A : ขอให้นักศึกษาส่ง ชื่อ/ รหัสนักศึกษา/ ปัญหาที่พบ มาที่อีเมล : musmartcard@mahidol.ac.th

Q : โทรศัพท์โหลดแอปธนาคารของ SCB ไม่ได้มีวิธีอื่นที่จะสามารถทำบัตรนักศึกษาได้มั้ย

A :  ขอให้นักศึกษาส่ง ชื่อ/ รหัสนักศึกษา/ ปัญหาที่พบ มาที่อีเมล : musmartcard@mahidol.ac.th

Q : เปิดผูกบัตรเดบิต ใช้บัญชีของผู้ปกครองได้ไหม

A : ต้องใช้บัญชีของนักศึกษาเองนะคะ โดยนักศึกษาสามารถขอเปิดบัญชี 0 บาท ได้ค่ะ (ไม่เสียค่าธรรมเนียมใบการเปิดบัญชีใหม่) สามารถดูรายละเอียดข้อมูลได้ที่เวบ New Student : http://www.student.mahidol.ac.th/newstudent/ หรือเปิดบัญชีใหม่ผ่านแอป scb easy

Q : สามารถเปิดบัตรนักศึกษาได้ถึงวันที่ 6 กันยายน 2564 ใช่มั้ย

A : ใช่ค่ะ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะพิจารณาร่วมกับธนาคารฯ เพื่อขยายเวลา สำหรับนักศึกษารายที่ยังไม่สามารถเปิดบัตรนักศึกษาได้ทันตามกำหนด

Q : สมัครบัตรนักศึกษาแต่ไม่เป็นเดบิตได้มั้ย

A : มหาวิทยาลัยกำหนดให้บัตรนักศึกษาเป็นบัตรเดบิตซึ่งดำเนินการร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งบัตรนี้ใช้กดเงินจากตู้ ATM โดยนักศึกษาไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีในขณะที่กำลังศึกษาอยู่

นักศึกษาใหม่

Q : อัพโหลดเอกสารใบระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ 1 : พ) ที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ด้านหลังยังไม่มีวันสำเร็จการศึกษา ต้องทำอย่างไร

A : หลังจากส่งไฟล์เอกสารไปยังมหาวิทยาลัยแล้วประมาณ 7 วัน นักศึกษาสามารถตรวจสอบผลการอนุมัติ ซึ่งกรณีดังกล่าวหากเอกสารไม่เรียบร้อย มหาวิทยาลัยจะไม่อนุมัติและแจ้งเหตุผลที่ไม่อนุมัติให้ทราบ นักศึกษาสามารถส่งเอกสารฉบับที่ถูกต้องไปยังมหาวิทยาลัยได้

Q : ส่งไฟล์รูปถ่ายที่สวมชุดนักศึกษาพิธีการของมหาวิทยาลัย เพื่อจัดทำบัตรประจำตัวนักศึกษาไม่ทันกำหนดเวลาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากยังหาชุดนักศึกษาไม่ทันต้องทำอย่างไร

A : กรณีดำเนินการตามกำหนดเวลาในรอบที่เข้าศึกษาไม่ทัน เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วสามารถส่งไฟล์รูปภาพเพิ่มเติมภายหลังได้ โดยส่งไฟล์รูปถ่ายตามกำหนดการของรอบต่อไป

Q : นักศึกษายังไม่มีชุดนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล จะหาซื้อได้ที่ไหน

A : ซื้อได้ที่มหาวิทยาลัยมหิดล รายละเอียดดูจาก Website http://www.student.mahidol.ac.th/newstudent
เลือกเครื่องแบบนักศึกษาใหม่ หรือ คลิกที่นี่

Q : ค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ต้องชำระในภาคการศึกษาต้น ที่เข้าศึกษาหลักสูตร...ประมาณเท่าไหร่

A : ประมาณ …. บาท และสามารถตรวจสอบประมาณการค่าใช้จ่ายได้ที่เว็บไซต์ http://www.student.mahidol.ac.th/newstudent/
เลือกดาวน์โหลดเอกสาร > ประมาณการค่าธรรมเนียมการศึกษา ปี 1 ภาคต้น หรือ คลิกที่นี่

Q : บันทึกข้อมูลทะเบียนประวัตินักศึกษาใหม่ออนไลน์ (e-Profile) ไม่ถูกต้อง จะแก้ไขอย่างไร

A : สามารถแก้ไขข้อมูลใหม่ที่ถูกต้องในระบบได้เลยค่ะ

Q : คะแนนสอบภาษาอังกฤษผมดีมาก ทำไมมหาวิทยาลัยลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษระดับ 1 ให้

A : มหาวิทยาลัยจะลงทะเบียนเรียนตามแผนการศึกษาให้กับนักศึกษา สำหรับรายวิชาภาษาอังกฤษจะลงทะเบียนเรียนระดับ 1 ให้ก่อน เนื่องจากมหาวิทยาลัยยังไม่ได้รับผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษ เมื่อมหาวิทยาลัยได้รับคะแนนสอบภาษาอังกฤษแล้ว จะปรับกลุ่มเรียนตามระดับคะแนนสอบของแต่ละคนต่อไป

Q : ทำไมต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกเสรีเพิ่มเติมภายหลังจากลงทะเบียนเรียนปกติแล้ว ทำไม่ลงพร้อมกับวิชาอื่น

A : การลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกเสรี ต้องให้โอกาสนักศึกษามีสิทธิ์เลือกเท่าเทียมกัน ดังนั้นเมื่อมหาวิทยาลัยรับนักศึกษาใหม่ครบทุกรอบแล้ว จึงจะเปิดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชาเลือกเสรีเอง โดยมหาวิทยาลัยจะแจ้งรายวิชาเลือกเสรีที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ทราบ

Q : นักศึกษาจะรับใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ชำระเงินไปแล้วเมื่อไร

A : ประมาณ 7 วันทำการ หลังจากที่นักศึกษาชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กองคลังจะกำหนดเล่มที่เลขที่ใบเสร็จรับเงินให้นักศึกษา นักศึกษาจึงจะพิมพ์ใบเสร็จรับเงินจากระบบพิมพ์ใบเสร็จได้ที่  https://smartedu.mahidol.ac.th พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน , ระบบพิมพ์ใบเสร็จ , พิมพ์ใบเสร็จและเอกสารประกอบเบิกการศึกษาบุตร

Q : เป็นนักศึกษากู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ไม่มีเงินสำรองจ่ายค่าธรรมเนียมการศึกษาต้องทำอย่างไร

A : ต้องยื่นคำร้องอผ่อนผันชำระค่าธรรมเนียมล่าช้าได้ที่ งานทะเบียนและประมวลผล กองบริหารการศึกษา หรือที่งานการศึกษาของคณะที่สังกัด หากประสงค์จะกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ website https://op.mahidol.ac.th/sa

นักศึกษาปัจจุบัน

Q : ลงทะเบียนรายวิชาเลือก....ภาค/ปี.... แล้วทำไมไม่ปรากฎรายวิชาและผลการศึกษาในใบแสดงผลการศึกษา

A : ตรวจสอบแล้วนักศึกษายังไม่ได้ชำระเงินค่าหน่วยกิตรายวิชาดังกล่าวในระบบลงทะเบียนเรียน ต้องยื่นคำร้องขอชำระเงินล่าช้าพร้อมค่าปรับล่าช้า ทั้งนี้หลังจากลงทะเบียนเรียนและชำระเงินทุกครั้ง ขอให้นักศึกษาตรวจสอบผลการลงทะเบียนเรียนและชำระเงินทุกครั้ง

Q : ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษระดับไม่ถูกต้องตามที่เรียนจริง ต้องแก้ไขอย่างไร

A : ต้องยื่นคำร้องขอลดรายวิชาที่ไม่ถูกต้อง และลงทะเบียนเรียนเพิ่มและชำระเงินค่าหน่วยกิตรายวิชาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ต้องมีคำรับรองจากอาจารย์ผู้สอนวิชานั้น ๆ ว่าเข้าศึกษาจริง

Q : ลงทะเบียนเรียนรายวิชาหนึ่ง แต่เข้าเรียนอีกรายวิชาหนึ่งเนื่องจากเข้าใจผิดว่าลงทะเบียนเรียนในรายวิชานั้น ๆ

A : ต้องยื่นคำร้องขอลดรายวิชาที่ไม่ถูกต้อง และลงทะเบียนเรียนเพิ่มและชำระเงินค่าหน่วยกิตรายวิชาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ต้องมีคำรับรองจากอาจารย์ผู้สอนวิชานั้น ๆ ว่าเข้าศึกษาจริง

Q : เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ลงทะเบียนเรียนแล้ว ใบแสดงผลการศึกษาคำนวณเกรดเฉลี่ยสะสมไม่ถูกต้อง

A : ตรวจสอบการลงทะเบียนเรียนว่านักศึกษาเคยลงทะเบียนเรียนซ้ำรายวิชาหรือไม่ หากลงทะเบียนเรียนซ้ำรายวิชาแล้วระบุประเภทการลงทะเบียนเรียนเป็นปกติ หรือ เป็นการลงทะเบียนเรียนซ้ำรายวิชา หากไม่ได้ระบุ เป็นการลงทะเบียนซ้ำรายวิชาที่ติด “F” มาก่อน ระบบจะคำนวณไม่ถูกต้อง หน่วยกิตรายวิชาที่ไม่ระบุประเภทลงซ้ำจะคำนวณตัวหารเป็นสองเท่า ทำให้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ถูกต้อง

Q : ประเมินผู้สอนรายวิชาไม่ทันระบบปิดแล้ว ต้องดำเนินการอย่างไร

A : หากระบบปิดแล้วไม่สามารถประเมินได้ มีผลกระทบต่อการดูผลการศึกษาในระบบล่าช้าไปประมาณ 1 สัปดาห์


งานเทคโนโลยีการศึกษา
Q : งานเทคโนโลยีการศึกษา กองบริหารการศึกษา ดูแลบริการใดบ้าง และดูแลให้กับใคร

A : ให้บริการด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์บนระบบ MUx โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาการใช้งานระบบ สนับสนุนความรู้ด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้แก่คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนในการพัฒนาบทเรียนออนไลน์(SPOC) สำหรับนักศึกษา ม.มหิดล และรายวิชาออนไลน์ สำหรับบริการความรู้ให้แก่บุคคลทั่วไป รวมถึงดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ผู้เรียนในระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย

Q : ระบบการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยมหิดล มีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร

A :  มี 2 แบบ แบ่งเป็น

1) ระบบ SPOC (Small Private Online Course) ประกอบไปด้วยบทเรียนออนไลน์สำหรับการจัดการเรียนการสอน เฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เท่านั้น

2) ระบบ MOOC (Massive Open Online Course)  เป็นรายวิชาออนไลน์ สำหรับบริการความรู้ให้แก่ประชาชน/บุคคลทั่วไป โดยในปัจจุบันสามารถลงทะเบียนเรียนได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

โดยทั้ง 2 แบบเข้าเรียนผ่านเว็บไซต์ https://mux.mahidol.ac.th

Q : การพัฒนาบทเรียนออนไลน์กับมหาวิทยาลัยมีทุนสนับสนุนส่วนงานหรือไม่

A : โปรดติดตามประกาศที่หน้าเว็บไซต์ https://op.mahidol.ac.th/ea/mux

Q : การเข้าใช้งานระบบ MUx สำหรับนักศึกษา มีวิธีการเข้าใช้งานอย่างไร

A : ดูรายละเอียดวิธีการเข้าใช้งาน คลิกที่นี่

Q : การเข้าใช้งานระบบ MOOC สำหรับบุคคลทั่วไป มีวิธีการเข้าใช้งานอย่างไร

A : ดูวิธีการเข้าใช้งาน คลิกที่นี่

Q : ส่วนงานต้องการใช้งานระบบพัฒนาบทเรียนออนไลน์สำหรับพัฒนาบทเรียนทำอย่างไร
Q : มีปัญหาในการเข้าใช้งานระบบ MUx ต้องทำอย่างไร

A : ติดต่องานเทคโนโลยีการศึกษา กองบริหารการศึกษา
โทร 02-849-4600 อีเมล muxdev@mahidol.edu
วัน-เวลาทำการ : วันจันทร์-วันศุกร์ 08.30-16.30 น.

Q : งานเทคโนโลยีการศึกษามีให้ยืมอุปกรณ์ เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาบทเรียนออนไลน์/รายวิชาออนไลน์หรือไม่ อย่างไร

A : งานเทคโนโลยีการศึกษามีอุปกรณ์ให้ยืม โดยให้ยืมเฉพาะคณาจารย์และบุคลากร ม.มหิดล อุปกรณ์ และเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาบทเรียนออนไลน์/รายวิชาออนไลน์ เท่านั้น ดูรายการอุปกรณ์ รายละเอียดบริการให้ยืม และขอจองใช้อุปกรณ์ คลิกที่นี่