วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงานประชุมวิชาการ AUN-TEPL ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “AI for Personalised Learning” ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย Singapore Management University ประเทศสิงคโปร์ Universiti Malaya ประเทศมาเลเซีย Universiti Brunei Darussalam ประเทศบรูไน และ University of the Philippines, Diliman, ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมี ดร.ชลธิศ ธีระฐิติ ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานเลขานุการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN) กล่าวต้อนรับ Assoc. Prof. Lieven Demeester, Director, Centre for Teaching, Singapore Management University กล่าวรายงาน ทั้งนี้ มีผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล และผู้บริหารส่วนงาน ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรเนติ สุขสมบูรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล เผ่าสวัสดิ์ ที่ปรึกษากองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ ดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมการประชุม นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN-TEPL ได้ร่วมแสดงความยินดีในการลงนามความร่วมมือ (MOU) ฉบับใหม่ ในโอกาสที่ University of the Philippines, Diliman, ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เข้าร่วมเครือข่าย ณ โรงแรม Millennium Hilton Bangkok และเผยแพร่งานประชุมผ่านระบบออนไลน์
โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล Mr. Rafael J. Barros Senior Lecturer of Information Systems, Singapore Management University, ประเทศสิงคโปร์ Dr. Hjh Syamimi Hj Md Ariff Lim Head of Teaching and Learning Centre, Universiti Brunei Darussslam ประเทศบรูไน และ Dr. Miguel Francisco Remolona Director of the Interactive Learning Center, University of the Philippines, Diliman, ประเทศฟิลิปปินส์ ร่วมอภิปรายในหัวข้อ “Empowering Educators : How AI Can Enhance Teaching and Learning” ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร.อนุชยาน์ มนทการติวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ AI การระบุแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการใช้ AI ในบริบทของการศึกษาในภูมิภาค ASEAN รวมทั้ง เป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันภายใต้เครือข่าย AUN-TEPL ในการพัฒนาและใช้ AI เพื่อการเรียนรู้แบบส่วนบุคคล