10 พฤติกรรมสุดแย่ เสี่ยงทำให้ร่างกายเสียสมดุล
14/06/2018
ภัยร้ายในบ้าน! ป่วยบ่อย จามไม่หยุด ลองเช็คดู
14/06/2018

10 พฤติกรรมทำลายกระดูก

ปัญหาสุขภาพกระดูกเกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โภชนาการที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย หรือจากรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่ถูกต้อง โดยที่คุณเองก็ไม่รู้ตัว ทั้งหมดนี้ทำให้คุณต้องเผชิญกับปัญหาความผิดปกติ อันเกี่ยวเนื่องกับกระดูกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นับตั้งแต่อาการปวดหลังและคอ ไปจนถึง โรคกระดูกสันหลังเสื่อม โรคกระดูกสันหลังคดงอผิดปกติ หรือโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งสาเหตุสำคัญของอาการเจ็บป่วยเหล่านี้ มักเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวันนั่นเอง และนี่คือพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยง หากคุณไม่อยากเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพกระดูกที่จะตามมา

1. นั่งไขว่ห้าง
จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกคด

2. นั่งหลังงอ หลังค่อม
เช่น การอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง จนทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง เกิดการคั่งของกรดแล็คติก มีอาการเมื่อยล้า ปวด และมีปัญหาเรื่องกระดูกผิดรูปตามมา

3. ยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว
การยืนที่ถูกต้อง ควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จึงจะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย

4. ใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง
จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง

5. หิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ
จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ

6. นั่งกอดอก
จะทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปด้านหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้

7. นั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
จะทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัว

8. ยืนแอ่นพุง/หลังค่อม
การยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อยเพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกช่วงล่างไม่ให้แอ่น และทำให้ไม่ปวดหลัง

9. สะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว
ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋าโดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้เกิดการทำงานหนักอยู่ข้างเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้

10. ขดตัว/นอนตัวเอียง
ท่านอนหงายเป็นท่านอนที่ถูกต้องที่สุด ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง หากจำเป็นต้องนอนตะแคงให้หาหมอนข้างก่าย โดยก่ายให้ขาทั้งหมดอยู่บนหมอนข้าง เพื่อรักษาแนวกระดูกให้อยู่ในแนวตรง

ที่มาข้อมูล : โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ