Sustainable Operations : ระบบปฏิบัติการที่ยั่งยืน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัยมหิดลที่สำคัญประการหนึ่งคือ บุคลากร ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้ความสำคัญกับบุคลากรและการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องตลอดมา ดังจะเห็นได้จากมีการนำเครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก การจัดงานมหกรรมคุณภาพนับเป็นเครื่องมือและกระบวนการหนึ่งที่ใช้เป็นพื้นที่ในแสดงการพัฒนางานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพงานไปพร้อมๆกับการพัฒนาบุคลากร โดยในปี 2567 นี้ งานมหกรรมคุณภาพจัดภายใต้หัวข้อ"Sustainable Operations : ระบบปฏิบัติการที่ยั่งยืน”

มหาวิทยาลัยมหิดลหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานมหกรรมคุณภาพ จะเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความคิดริเริ่มพัฒนาด้านต่างๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี
อีกทั้งเป็นพื้นที่แห่งความภาคภูมิใจสำหรับผู้ได้รับรางวัลและผู้นำเสนอผลงาน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกท่านเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ พัฒนาตน พัฒนางานนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องให้กับมหาวิทยาลัยต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมภพ  ประธานธุรารักษ์
รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ประธานคณะกรรมการจัดงาน

 
วันมหกรรม วันอังคารที่ 26 เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2567
ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และบนระบบออนไลน์ Mahidol University Digital KM Masterclass

กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง

 

พิธีเปิดมหกรรมคุณภาพและ มอบรางวัล Team Good Practice Award Innovative Teaching Award Public Policy Advocacy Award
โดย
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

Poster Round Session

การเสวนา “Student Sustainable Lifestyles”
โดย
คุณพิมพรรณ ดิศกุล ณ อยุธยา
ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์

อาจารย์ภูรัตน์ โอสถานุเคราะห์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

คุณธีรภัทร ศรีพิบูลพานิช
SDG Mobility and MaPS Program
นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาทรัพยากรชีวภาพและชีววิทยาสภาวะแวดล้อม (นานาชาติ)
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ดำเนินรายการโดย
อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รับประทานอาหารกลางวัน
การบรรยายกลุ่มผลงาน Team Good Practice Award/ Innovative Teaching Award/ Public Policy Advocacy Award/ Oral presentation/ Storytelling
Award
Presentations
ห้องบรรยาย 1

13:00-
13:20

Team Good Practice Award
T1-001 AM
ปฏิบัติการแก้จนด้วยภูมิปัญญาผ้าขิดลายตะขอสลับเอื้อ: อำนาจเจริญโมเดล

13:20-
13:40

T1-002 RA
การผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าแบบวันเดียวกลับ

13:40-
14:00

T1-003 RA
การพัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการสอดท่อนำเลือดสำหรับเครื่องพยุงการทำงานระบบไหลเวียนโลหิตและแลกเปลี่ยนก๊าซนอกร่างกาย (ECMO)

14:00-
14:20

Innovative Teaching Award
N1-001 RA
การใช้เกมคิดไตร่ตรอง (serious game) เพื่อการวัดผลแบบ outcome-based education เปลี่ยนการสอบที่เคร่งเครียดน่าเบื่อให้เป็นการวัดผลที่ท้าทาย สนุกและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

14:20-
14:40

Public Policy Advocacy Award
A1-001 IH
ขับเคลื่อนนโยบายการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนจากชุมชนฐานราก “โมเดลเพื่อนรักต่างศาสนา”

14:40-
15:00

A1-002 CF
โครงการร่วมด้วยช่วยกันสร้างทักษะสมองการคิดเชิงบริหาร (EF) เด็กไทย Building Brain Executive Function (EF) Together
Oral & Storytelling
Presentations
ห้องบรรยาย 2

ห้องบรรยาย 3

ห้องบรรยาย 4

ห้องบรรยาย 5

13:00-
13:15
Sustainable Operations บริการสุขภาพ 2 บริหารจัดการ Storytelling
R1-001 OPGA
โครงการ OP Recycle
R3-001 RA
การพัฒนากระบวนการให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าแบบวันเดียวกลับ
R5-001 MT
พลิกดินสู่คลาวด์พัฒนาวิธีการและระบบจัดเก็บรายได้โครงการประเมินคุณภาพห้องปฏิบัติการโดยองค์กรภายนอก (ระยะที่ 2)
S1-001 RA
3 สิ่งที่ปรารถนา
13:15-
13:30
R1-002 ICT
ลดการทิ้ง ลดการลงทุนกับสิ่งอันตรายจากชุมชน
R3-002 RA
ลดขั้นตอนและพัฒนากระบวนการประเมินการรอปลูกถ่ายไต-ตับอ่อน
R5-002 PY
การเพิ่มประสิทธิภาพการออกผลวิเคราะห์โดยการใช้ Computerized system validated spreadsheets
S1-002 SI
วันธรรมดาวันหนึ่ง
13:30-
13:45
R1-003 RA
Save Cost Lose Waste BD
R3-003 RA
เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบริการที่เป็นเลิศด้วยรูปแบบการให้ข้อมูลผู้ป่วยผ่าน Welcome card
R5-003 RA
โครงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการ Stock อุปกรณ์ล้างจมูก
S1-003 RA
Good Monday Blues
13:45-
14:00
R1-004 SI
โครงการยกยอดฉับไวไร้เอกสาร (Digitize carry forward)
R3-004 RA
การป้องกันและจัดการภาวะท้องผูกในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
R5-004 RA
ระบบรายงานตัวชี้วัดผ่านระบบธุรกิจอัจฉริยะ
S1-004 SI
"ยาหยอดตาวิเศษ"
14:00-
14:15
บริการสุขภาพ 1 บริการสุขภาพ 3 สนับสนุนการวิจัย
และการศึกษา
R2-001 RA
โครงการพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยนอกและญาติที่เข้ารับบริการ ณ ห้องผ่าตัดสูตินรีเวชด้วยสื่อ animation และ QR code
R4-001 DT
สื่อเพื่อน้อง
R6-001 NS
การตอบสนองความต้องการนักศึกษาอย่างยั่งยืน: แนวทางสู่ความสำเร็จในอนาคต (Du-De Team) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
S1-005 RA
คำว่าให้ไม่สิ้นสุด
14:15-
14:30
R2-002 RA
การพัฒนานวัตกรรมข้อต่อสำหรับวัดความดันในช่องท้อง (The Innovation Development of Port for Measurement Pressure in Abdomen)
R4-002 RA
ลดขั้นตอนการรับบริการตัดเย็บผ้ายืดกดรัดภาวะแขนบวม
R6-002 SH
การพัฒนาระบบการยื่นแบบเสนอโครงการวิจัยผ่านระบบออนไลน์ (e-submission)
S1-006 SI
ผีเสื้อขยับปีก
14:30-
14:45
R2-003 SI
M - Flow Tear Duct Stent (อุปกรณ์ทำทางเชื่อมระบายท่อทางเดินน้ำตาจากภาวะท่อน้ำตาอุดตัน)
R4-003 RA
การพัฒนากระบวนการตรวจสอบยา Drug Patch Test ก่อนส่งห้องผลิตยา
R6-003 DT
เกาะแน่นๆ นะน้องนะ
S1-007 RA
ยินดีให้ แม้ไม่รู้จัก
14:45-
15:00
R2-004 SI
คล้องแขนแสนสบาย
R4-004 RA
แนวทางการให้บริการการป้องกัน / ลด แผลปูดนูน แบบครบวงจร
R6-004 SI
โปรแกรมบันทึกคะแนนสอบแบบออนไลน์ผ่าน Tablet
S1-008 RA
ขอบคุณ...ที่เกือบหมดไฟ

การเสวนา “Sustainable operation showcases”
โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิทธิโชติ จักรไพวงศ์
รองอธิการบดีฝ่ายกายภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล

รองศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต
รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์พิทยา ด่านกุลชัย
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

รองศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์พิศลย์ เสนาวงษ์
รองคณบดีฝ่ายวิจัย กายภาพ และสิ่งแวดล้อม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ดำเนินรายการโดย
อาจารย์ ดร.ระพี บุญเปลื้อง
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ประกาศผลการพิจารณาผลงาน & มอบรางวัล
โดย
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
   

ข้อกำหนดทั่วไป

Key Dates !
ปิดรับส่งผลงาน 31 ส.ค. 67
ประกาศผลการคัดเลือก 31 ต.ค. 67
ยืนยันการนำเสนอผลงาน 1 พ.ย. 67
นำเสนอผลงาน 26 พ.ย. 67

ผลงาน

  1. จัดส่งแบบฟอร์มนำเสนอผลงาน พร้อมกับโปสเตอร์ผลงานในการลงทะเบียนส่งผลงานบนระบบ ตามแบบฟอร์มที่กำหนด
  2. ไม่คัดลอก-เลียนแบบผลงานอื่น/ผู้อื่น
    (การละเมิดลิขสิทธิ์-ผิดกฎหมาย-ผิดจริยธรรมถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง)
  3. ไม่เคยถูกคัดเลือกให้นำเสนอในงานมหกรรมคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลมาก่อน เว้นแต่มีการปรับปรุงกระบวนการ/ แนวทาง/ ผลลัพธ์เพิ่มขึ้นที่เห็นได้ชัดเจน
  4. ดำเนินการแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปีนับจนถึงวันจัดมหกรรมคุณภาพ
    (ต้องดำเนินการแล้วเสร็จหลังจากวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565)
  5. ผลงานที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก บทคัดย่อ (Abstract) และโปสเตอร์ (Poster) ผลงานจะถูกรวบรวมจัดพิมพ์บนหนังสือรวบรวมผลงาน และเผยแพร่บนเว็บไซต์มหกรรมคุณภาพและ Mahidol University Digital KM Masterclass
  6. ผลงานประเภท Storytelling ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก บทความจะถูกรวบรวมจัดพิมพ์บนหนังสือรวบรวมผลงาน

เจ้าของผลงาน / ผู้นำเสนอผลงาน / ทีมงาน

  1. ต้องเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล หรือบุคลากรภายใต้หน่วยงานในกำกับของส่วนงาน/มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคล ก็ได้
  2. อาจเป็นผลงานระหว่างหน่วยงาน/ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย โดยอาจมีองค์กรภายนอกร่วมด้วยในฐานะคู่ความร่วมมือ (Partner) หรือผู้ส่งมอบ (Supplier) ของกระบวนการก็ได้ (ทั้งนี้การพิจารณารางวัลจะให้น้ำหนักกับงานในส่วนที่พัฒนา/ดำเนินการขึ้นภายในมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นลำดับต้น)
  3. สามารถส่งผลงานได้มากกว่า 1 ผลงาน ทั้งนี้จะได้รับการพิจารณาให้ได้รับรางวัลสูงสุดเพียง 1 ผลงานเท่านั้น
  4. ผู้นำเสนอผลงานในวันมหกรรม ต้องมานำเสนอผลงานด้วยตนเองในวันงานตามเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการนำเสนอผลงาน

ประเภทผลงาน

ประเภทผลงาน
ที่ต้องได้รับการคัดเลือกจากส่วนงานต้นสังกัด
(จำกัดส่วนงานละ 2 ผลงานต่อกลุ่มผลงาน)
ประเภทผลงาน
ที่บุคลากรสามารถจัดส่งได้ด้วยตนเอง
(ไม่จำกัดจำนวน)
T
Team Good Practice Award
I
Innovative Teaching Award
P
Oral & Poster Presentation
ข้อมูลทั่วไป

กระบวนการทำงานที่เป็นเลิศที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มบุคคล (Team) อาจเป็น Team ตามหน่วยงานที่ระบุในโครงสร้างองค์กรของส่วนงานหรือเป็น Team งานเฉพาะกิจที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อพันธกิจเฉพาะของส่วนงานก็ได้ และกระบวนการ (Process) ที่นำเสนอควรเป็นกระบวนการ (Process) หลักที่นำไปสู่วิสัยทัศน์ของ Team



ผลงานควรประกอบไปด้วย
  1. ความสำคัญของปัญหา
    ระบุสภาพปัญหาและมีการวิเคราะห์ปัญหา ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์/ข้อมูลอ้างอิงชัดเจนมีความคิดริเริ่ม น่าสนใจและสมเหตุสมผล

  2. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
    วัตถุประสงค์สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่พบ มีการกำหนดตัวชี้วัด (Leading KPI และ Lagging KPI ) ที่เหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมาย

  3. กระบวนการพัฒนาเป็นทีม
    แสดงการกำหนดเป้าหมาย ตอนการพัฒนาของทีมที่สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร)

  4. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    แสดงผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดก่อนและหลังการดำเนินงานการพัฒนา ซึ่งอาจแสดงแนวโน้มการพัฒนา หรือเทียบเคียงกับคู่เทียบหรือคู่แข่ง

  5. การใช้ประโยชน์
    แสดงการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งภายในส่วนงาน ภายในมหาวิทยาลัย หรือองค์กรอื่นภายนอกมหาวิทยาลัยหรือแสดงการดำเนินการจดทรัพย์สินทางปัญญา

  6. ผลกระทบที่เกิดขึ้น
    แสดงผลสำเร็จของทีมส่งผลกระทบต่อการปรับปรุงกระบวนการสนับสนุน/ระบบงานหลัก/มีความสอดคล้องต่อแนวคิด SDGs /ส่งผลต่อผลลัพธ์หลักที่สำคัญหรือต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของส่วนงาน

 

T


Public Policy Advocacy Award

ข้อมูลทั่วไป

โครงการเพื่อชี้นำสังคมที่ประสบความสำเร็จ มีฐานคิดอย่างเป็นระบบจากงานวิจัยหรือวิชาการ สามารถเปลี่ยนมุมมองทัศนคติของสาธารณชน และ/หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายระดับประเทศ



ผลงานควรประกอบไปด้วย
  1. ประเด็นชี้นำสังคม
    เนื้อหาประเด็นการชี้นำสังคมตอบโจทย์ปัญหาสังคมและสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน และเชื่อมโยงกับการทำงาน/องค์กรของตนเอง ซึ่งมีการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างไร และสามารถแสดงให้เห็นถึงประโยชน์และความเป็นไปได้ที่สุดของการนำไปสู่การกำหนดนโยบายระดับชาติ

  2. วัตถุประสงค์
    วัตถุประสงค์ของโครงการส่งผลกระทบอย่างไรต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชน/สังคม/ประเทศ อย่างไร

  3. วิธีการดำเนินการ
    มีกระบวนการดำเนินงาน แผนการดำเนินงานอย่างไร และกำหนดตัวชี้วัดรวมทั้งกลุ่มเป้าหมายอะไรบ้าง รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐอย่างไร

  4. ผลลัพธ์
    ผลลัพธ์เป็นอย่างไร มีความสอดคล้อง/สะท้อนตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และกระบวนการที่สามารถสร้างการเรียนรู้/ตระหนักรู้ และมีแนวทางที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับชุมชน/สังคมอย่างไร

  5. ผลกระทบที่เกิดขึ้น
    ประโยชน์ทีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับชุมชน/ หน่วยงาน/ สถาบัน/ประเทศ อย่างไร

ข้อมูลทั่วไป

กระบวนการที่เป็นเลิศในด้านการเรียนการสอน ซึ่งเป็นรูปแบบหรือกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน หรือการวัด และประเมินผล ที่ออกแบบใหม่ หรือปรับปรุงจากของเดิม โดยมีผลลัพธ์ให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Outcome) ที่ดีขึ้น


ผลงานควรประกอบไปด้วย
  1. ที่มาของปัญหาและวัตถุประสงค์
    ระบุสภาพและมีการวิเคราะห์ปัญหา ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์/ข้อมูลอ้างอิงชัดเจน)

  2. วิธีการ design /redesign
    กระบวนการเรียนรู้ ที่แสดง innovative teaching approach แสดงแนวทางการ design /redesign กระบวนการเรียนรู้ สอดคล้องกับสาเหตุสำคัญของปัญหาและแสดงแนวคิดทฤษฏีทางการศึกษา และความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่แนวคิดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (innovative teaching and learning approach) หรือการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนรวมทั้งมีแผนดำเนินการแสดงกรอบระยะเวลาและวิธีปฏิบัติทุกขั้นตอน และมีการกำหนดตัวชี้วัดทั้ง leading & lagging Indicators

  3. แผนการดำเนินกิจกรรม และตัวชี้วัด
    มีแผนดำเนินการแสดงกรอบระยะเวลาและวิธีปฏิบัติทุกขั้นตอน มีการกำหนดตัวชี้วัดทั้ง leading & lagging Indicators และทำได้ตามแผน

  4. ผลลัพธ์
    มีการรายงานผลลัพธ์ การวัดผล ก่อนและหลังการดำเนินงานการพัฒนา ซึ่งอาจจะแสดงแนวโน้มการพัฒนาหรือผลลัพธ์เทียบเคียงกับคู่เทียบหรือคู่แข่ง

  5. ผลกระทบที่เกิดขึ้น
    แสดงผลลัพธ์ส่งผลกระทบต่อการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของรายวิชา/หลักสูตร หรือมีการขยายผลไปยังหลักสูตรอื่นของส่วนงาน



คณะกรรมการพิจารณาผลงาน จะคัดเลือกว่าผลงานใดมีคะแนนอยู่ในประเภทการนำเสนอด้วยวาจา หรือ นำเสนอด้วยโปสเตอร์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภทต้องจัดส่งเอกสาร และกระบวนการพิจารณาในรอบที่ 1 เช่นเดียวกัน

ข้อมูลทั่วไป

เป็นผลงานที่มีการคิดวิเคราะห์หาสาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และนำสาเหตุหรือปัจจัยนั้นมาวางแผนปรับปรุง/พัฒนากระบวนการทำงาน โดยใช้หลักการของวงจรคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) /หลักการวิจัย หรือสร้างสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการใหม่ โดยแสดงให้เห็นผลผลิต/ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น/ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากขึ้น และนำไปสู่แนวทาง/ข้อสรุปเพื่อพัฒนาคุณภาพในระยะต่อไป


แบ่งออกเป็น 11 กลุ่มผลงาน 4 ระดับการพัฒนา คือ


กลุ่มผลงาน

  1. Sustainable Development Goals (SDGs)
  2. งานทรัพยากรบุคคล
  3. กระบวนการเรียนการสอน
  4. การบริหารการศึกษา
  5. การพัฒนานักศึกษา
  6. การบริหารการวิจัย
  7. การบริหารงานทั่วไป
  8. การบริการวิชาการ
  9. การบริการสุขภาพ
  10. งานคลังและพัสดุ
  11. Eco University

ระดับการพัฒนาของผลงาน
  1. การพัฒนาคุณภาพเริ่มต้น
    Initial Quality Development (IQD)

    การนําสาเหตุหรือปัจจัยนั้นมาวางแผนปรับปรุง/พัฒนา เพื่อพัฒนาให้สาเหตุและปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบในเชิงบวกที่เพิ่มมากขึ้นในกระบวนการทำงาน


  2. การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
    Continuous Quality Improvement (CQI)

    การพัฒนาและดำเนินการ ปรับปรุง กระบวนการต่างๆ จนเกิดการหมุนของวงจร PDCA อย่างต่อเนื่อง มีการขยับเป้าหมายของผลงานขึ้นอย่าง ต่อเนื่องและสอดคล้องกับความเป็นไปได้

  3. การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
    Routine to Research (R2R)

    กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบของผู้ปฏิบัติงานประจำในการแก้ปัญหาและยกระดับการพัฒนางานที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ตามปกติ โดยมีผลลัพธ์เป็นการพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน อันส่งผลกระทบในการบรรลุเป้าประสงค์สูงสุดขององค์กร เป็นการทำให้งานประจำเป็นงานสร้างความรู้เป็นงานวิจัยได้ จะทำให้การทำงานมีคุณค่า ยิ่งทำงานนานยิ่งมีปัญญา ยิ่งเกิดความรู้ ยิ่งมีประเด็นที่น่าภาคภูมิใจได้มากขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นการถ่ายทอดกระบวนการคิดที่เกิดจากการปฏิบัติงานจริง ออกมา เป็นความรู้สู่ผู้อื่น

  4. นวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพ
    Innovation in Quality Development (InQD)

    การสร้าง/ออกแบบ/พัฒนา/ปรับปรุง สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ โปรแกรม บริการ วิธีการ ปฏิบัติกระบวนการ หรือประสิทธิภาพขององค์กร ที่แตกต่างจากเดิม หรือได้มาจากการคิดค้นวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ แก้ปัญหา หรือปรับปรุงระบบงาน เพื่อให้การทำงานสะดวกขึ้น หรือได้ผลงานมากขึ้น หรือบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น หรือใช้ ทรัพยากรได้น้อยลง หรือมีความเสี่ยงลดลง เป็นการสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ลูกค้า พนักงาน สังคม และ คู่ค้า) บนพื้นฐานของการดำรงหรือยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยการนําแนวคิด กระบวนการ เทคโนโลยี หรือผลิตภัณฑ์ ที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ หรือการใช้งานใหม่ พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือแล้วว่า ได้ผลดีในทางปฏิบัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
S
Storytelling
ข้อมูลทั่วไป

เป็นเรื่องที่ปลุกเร้า สร้างพลัง ให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน กับบุคลากรทุกประเภทของมหาวิทยาลัยมหิดล

 

กลุ่มผลงาน
  1. Sustainable Development Goals (SDGs)
  2. งานทรัพยากรบุคคล
  3. กระบวนการเรียนการสอน
  4. การบริหารการศึกษา
  5. การพัฒนาการศึกษา
  6. การบริหารการวิจัย
  7. การบริหารงานทั่วไป
  8. การบริการวิชาการ
  9. การบริการสุขภาพ
  10. งานคลังและพัสดุ
  11. Eco University

รูปแบบการนำเสนอ
  1. Talk (เล่าเรื่องในรูปแบบภาษาไทย ไม่เกิน 2,000 คำ)
  2. Clip (ความยาวไม่เกิน 7 นาที)

รางวัล

ประเภทผลงาน
ที่ต้องได้รับการคัดเลือกจากส่วนงานต้นสังกัด
(จำกัดส่วนงานละ 2 ผลงานต่อกลุ่มผลงาน)
ประเภทผลงาน
ที่บุคลากรสามารถจัดส่งได้ด้วยตนเอง
(ไม่จำกัดจำนวน)
T Team Good Practice Award
IInnovative Teaching Award P Oral presentation
นำเสนอผลงาน ณ มหิดลสิทธาคาร และ Mahidol University Digital KM Masterclass
คัดเลือกให้ได้รับรางวัล
  1. โล่ประกาศเกียรติคุณ
  2. เกียรติบัตร
  3. เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

T

Public Policy Advocacy Award

นำเสนอผลงาน ณ มหิดลสิทธาคาร และ Mahidol University Digital KM Masterclass
คัดเลือกให้ได้รับรางวัล
  1. โล่ประกาศเกียรติคุณ
  2. เกียรติบัตร
  3. เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

นำเสนอผลงาน ณ มหิดลสิทธาคาร และ Mahidol University Digital KM Masterclass
คัดเลือกให้ได้รับรางวัล
  1. โล่ประกาศเกียรติคุณ
  2. เกียรติบัตร
  3. เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท


นำเสนอผลงาน ณ มหิดลสิทธาคาร และ Mahidol University Digital KM Masterclass
ดีเด่น (5 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท

ชมเชย (15 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 2,500 บาท

C
Poster presentation
นำเสนอผลงาน ณ มหิดลสิทธาคาร และ Mahidol University Digital KM Masterclass

ระดับการพัฒนาของผลงาน

  1. การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
    Routine to Research (R2R)
  2. นวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพ
    Innovation in Quality Development (InQD)


ดีเด่น (5 รางวัล)

  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 3,000 บาท

ชมเชย (15 รางวัล)

  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 1,500 บาท

นำเสนอผลงาน บน Mahidol University Digital KM Masterclass

ระดับการพัฒนาของผลงาน

  1. การพัฒนาคุณภาพเริ่มต้น
    Initial Quality Development (IQD)
  2. การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
    Continuous Quality Improvement (CQI)


Popular Vote
(1 รางวัล)

  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท
S
Storytelling
นำเสนอผลงาน ณ มหิดลสิทธาคาร และ Mahidol University Digital KM Masterclass

ให้นำเสนอ
(4 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท

การนำเสนอในวันมหกรรม

Key Dates !
ประกาศผลการพิจารณา 31 ต.ค. 63
ยืนยันนำเสนอผลงาน 21 ต.ค. 63
ปิดลงทะเบียนเข้าร่วม 15 พ.ย. 63
จัดส่งไฟล์ Poster บนระบบ ภายใน 1-10 พ.ย. 63
นำเสนอผลงาน 24 พ.ย. 63

ข้อพึงระวัง

  1. ต้องลงทะเบียนยืนยันการนำเสนอผลงานภายในวันที่ 21 ตุลาคม 2563
  2. จัดส่งไฟล์เอกสารในแต่ละประเภท ระหว่างวันที่ 1-10 พฤศจิกายน 2563 บนระบบจัดส่งผลงาน
  3. ผลงานที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก (ในประเภท Oral และ Poster Presentation) จะถูกเผยแพร่บน Website Mahidol Quality Fair#2020 ในระบบ Intranet และจัดพิมพ์ลงบนหนังสือรวบรวมผลงาน
  4. ผู้ส่งผลงาน และผู้ร่วมทำผลงาน ต้องลงทะเบียนบนระบบเข้าร่วมกิจกรรมเช่นเดียวกับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั่วไป
  5. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด


การจัดทำเอกสารและสื่อนำเสนอ

T
Oral Presentation
I
Poster Presentation
P Story Telling
โปรดสนใจ
  1. ระยะเวลาในการนำเสนอผลงาน 10 นาที และช่วงตอบคำถาม 5 นาที
  2. ไม่จำกัดเทคนิค กระบวนการ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ หากนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint แนะนำอัตราส่วนที่แสดงผลได้ดีอยู่ที่ 16:9
  3. นำไฟล์นำเสนอผลงาน มาบันทึกลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้จัดกิจกรรมในเวลา 7.00 น. ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563
  4. จัดพิมพ์ผลงานที่นำเสนอ (Handout) จำนวน 10 ชุด (ขนาด 4 Slide / 1 แผ่น) เพื่อมอบให้คณะกรรมการฯ ในวันมหกรรม
  5. ผู้จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการนำเสนอ และขอสงวนสิทธิ์ไม่เชื่อมต่ออุปกรณ์ใด ๆ นอกเหนือที่ผู้จัดเตรียมไว้
  6. เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดปัญหากับฟ้อนต์ MS.ppt ผู้ส่งผลงานควร Embed font ให้แล้วเสร็จก่อนส่งผลงาน
    ดูวิธีการ Embed font ได้ที่นี่
โปรดสนใจ
  1. จัดทำผลงานในรูปแบบ Poster ขนาด 80 x 200 ซม. (ไม่จำกัดรูปแบบ-องค์ประกอบในการนำเสนอ)
  2. เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ขอให้บันทึกและจัดส่งไฟล์ ในรูปแบบ .jpg และ .pdf บนระบบจัดส่งผลงาน
    ในวันที่ 1- 10 พฤศจิกายน 2563
  3. ผู้จัดกิจกรรมให้บริการจัดพิมพ์ Poster หรือการแสดงผลในรูปแบบอื่น ๆ โดยที่เจ้าของผลงานไม่ต้องจัดพิมพ์ ไม่เสียค่าใช้จ่ายและนำมาติดตั้งเองแต่ประการใด

ตัวอย่างการจัดทำ Poster
(ไม่บังคับแต่ประการใด)
  1. Poster Template (MS.PowerPoint)
  2. Poster Template (AI)
  3. MQF2022_Logo (JPG)
  4. MQF2022_Logo (PNG)

โปรดสนใจ
  1. ระยะเวลาในการนำเสนอผลงาน 10 นาที และช่วงตอบคำถาม 5 นาที
  2. ไม่จำกัดเทคนิค กระบวนการ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ หากนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint แนะนำอัตราส่วนที่แสดงผลได้ดีอยู่ที่ 16:9
  3. เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ขอให้บันทึกและจัดส่งไฟล์ ในรูปแบบ .ppt หรือ .pptx บนระบบจัดส่งผลงาน
    ในวันที่ 1- 10 พฤศจิกายน 2563
  4. ผู้จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการนำเสนอ และขอสงวนสิทธิ์ไม่เชื่อมต่ออุปกรณ์ใด ๆ นอกเหนือที่ผู้จัดเตรียมไว้
  5. เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดปัญหากับฟ้อนต์ MS.ppt ผู้ส่งผลงานควร Embed font ให้แล้วเสร็จก่อนส่งผลงาน
    ดูวิธีการ Embed font ได้ที่นี่

ขอแสดงความยินดีกับผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอในวันมหกรรม

Key Dates !

ประกาศผล 31 ต.ค. 67
ยืนยันนำเสนอผลงาน ภายใน 3 พ.ย. 67
ปิดลงทะเบียนเข้าร่วม 6 พ.ย. 67
นำเสนอผลงาน 26 พ.ย. 67

🔺โปรดสนใจเป็นพิเศษในทุกประเภทผลงาน กรณีผ่านการคัดเลือก

  1. ผู้ส่งผลงานต้องแจ้ง "ยืนยัน" หรือ "สละสิทธิ์" การนำเสนอผลงานที่ได้รับการคัดเลือกบนระบบภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567
  2. ผู้นำเสนอผลงานต้องเป็น เจ้าของผลงาน/ ผู้ส่งผลงาน / ผู้ร่วมทำผลงาน ที่มีรายชื่อบนเกียรติบัตรที่ได้แจ้งมา เท่านั้น
  3. ผู้นำเสนอผลงานและทีมงานฯ ที่มานำเสนอ ณ มหิดลสิทธาคารทุกท่าน ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสำรองที่นั่ง อาหารว่าง อาหารกลางวัน และเอกสารประกอบกิจกรรม เช่นเดียวกับผู้สนใจทั่วไปในรูปแบบ Onsite (เข้าร่วมกิจกรรม ณ มหิดลสิทธาคาร) บนระบบลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม ภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2567 และมานำเสนอผลงานในวันและเวลาที่กำหนดไว้ โดยตรวจสอบได้จากกำหนดการบนเว็บไซต์ MQF2024
  4. ในกรณีที่ผู้นำเสนอผลงาน มิได้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมและนำเสนอนำเสนอผลงานในวันและเวลาที่กำหนดไว้ ถือว่าสละสิทธิ์ในการนำเสนอผลงานดังกล่าว
  5. มหกรรมคุณภาพ จะจัดส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมนำเสนอและเข้าร่วมกิจกรรมโดยไม่ถือเป็นวันลา ไปยังส่วนงานของท่าน
  6. รายชื่อผลงานที่ผ่านการพิจารณาและสถานะการยืนยัน


Team Good Practice Award/ Innovative Teaching Award/ Public Policy Advocacy Award

การจัดทำและนำเสนอผลงาน

  1. จัดทำผลงานเพื่อนำเสนอด้วยวาจา (Oral presentation) โดยไม่จำกัดเทคนิค กระบวนการ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ หากนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint แนะนำอัตราส่วนที่แสดงผลได้ดีอยู่ที่ 16:9 และจัดทำไฟล์นำเสนอในรูปแบบ Portable Document Format (.pdf) มาพร้อมกับไฟล์ต้นฉบับด้วย
  2. ระยะเวลาในการนำเสนอผลงาน 15 นาที และช่วงตอบคำถาม 5 นาที
  3. ผู้จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำเสนอและขอสงวนสิทธิ์ไม่เชื่อมต่ออุปกรณ์ใด ๆ นอกเหนือที่ผู้จัดเตรียมไว้
  4. ในวันมหกรรม ต้องนำผลงานที่ต้องการใช้นำเสนอมาทดสอบและติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ระหว่างเวลา 8:00 – 9:00 น. ในจุดลงทะเบียนผู้นำเสนอผลงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงาน
  5. การนำเสนอผลงาน จะนำเสนอแก่ผู้เข้าร่วมมหกรรมคุณภาพในห้องบรรยายและถ่ายทอดสดแก่ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass
  6. บทคัดย่อของผลงาน จะถูกรวบรวมบนหนังสือรวบรวมผลงาน โดยเผยแพร่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และเทปการบรรยาย จะถูกเผยแพร่บนระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass

รางวัล

  1. ผู้นำเสนอผลงานรับมอบรางวัลในช่วงเวลา 09:00 – 09:30 น.
  2. ผลงานที่ได้นำเสนอนี้ จะได้รับรางวัลเป็นโล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และ เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

New.NO.
Ref.
ชื่อผลงาน - หน่วยงาน
ประเภท
ผู้นำเสนอผลงาน
สถานะ
         


ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอด้วยวาจา (Oral presentation)

การจัดทำและการนำเสนอผลงาน

  1. จัดทำผลงานเพื่อนำเสนอด้วยวาจา (Oral presentation) โดยไม่จำกัดเทคนิค กระบวนการ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ หากนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint แนะนำอัตราส่วนที่แสดงผลได้ดีอยู่ที่ 16:9 และจัดทำไฟล์นำเสนอในรูปแบบ Portable Document Format (.pdf) มาพร้อมกับไฟล์ต้นฉบับด้วย
  2. ผู้จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำเสนอและขอสงวนสิทธิ์ไม่เชื่อมต่ออุปกรณ์ใด ๆ นอกเหนือที่ผู้จัดเตรียมไว้
  3. ระยะเวลาในการนำเสนอผลงาน 10 นาที และช่วงตอบคำถาม 5 นาที
  4. ในวันมหกรรม ต้องนำผลงานที่ต้องการใช้นำเสนอมาทดสอบและติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ระหว่างเวลา 8:00 – 9:00 น. ในจุดลงทะเบียนผู้นำเสนอผลงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงาน
  5. การนำเสนอผลงาน จะนำเสนอแก่ผู้เข้าร่วมมหกรรมคุณภาพ ในห้องบรรยาย และถ่ายทอดสดแก่ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass
  6. บทคัดย่อของผลงาน จะถูกรวบรวมบนหนังสือรวบรวมผลงาน โดยเผยแพร่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และเทปการบรรยาย จะถูกเผยแพร่บนระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass

รางวัล

  1. ผู้นำเสนอผลงาน ฟังประกาศผลการพิจารณาผลงานและมอบรางวัล ในช่วงเวลา 16:00-16:30 น.
  2. ผลงานจะถูกพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลดีเด่น (ได้รับเกียรติบัตร และ เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท) หรือรางวัลชมเชย (ได้รับเกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 2,500 บาท) ซึ่งพิจารณาลำดับรางวัลแยกในแต่ละห้องบรรยายย่อย
  3. สามารถศึกษาเกณฑ์การพิจารณารางวัลได้ที่ เกณฑ์การพิจารณาผลงานในมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประเภทผลงานนำเสนอด้วยวาจา (Oral Presentation) ที่ได้รับการนำเสนอในวันมหกรรม

New.NO.
Ref.
ชื่อผลงาน - หน่วยงาน
ประเภท
ผู้นำเสนอผลงาน
สถานะ
         


ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอด้วยวาจา ประเภทเรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling)

การจัดทำและการนำเสนอผลงาน

  1. สำหรับผลงานในรูปแบบ Talk ท่านสามารถเล่าเรื่องราว หรือมีเอกสารการนำเสนอประกอบได้ เช่น จัดทำผลงานเพื่อนำเสนอด้วยวาจา (Oral presentation) โดยไม่จำกัดเทคนิค กระบวนการ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ หากนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint แนะนำอัตราส่วนที่แสดงผลได้ดีอยู่ที่ 16:9 และจัดทำไฟล์นำเสนอในรูปแบบ Portable Document Format (.pdf) มาพร้อมกับไฟล์ต้นฉบับด้วย
  2. สำหรับผลงานในรูปแบบ Clip สั้น จะนำผลงานที่ท่านได้จัดส่งให้กับเราเผยแพร่ในช่วงเวลาดังกล่าว
  3. ผู้จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการนำเสนอและขอสงวนสิทธิ์ไม่เชื่อมต่ออุปกรณ์ใด ๆ นอกเหนือที่ผู้จัดเตรียมไว้
  4. ระยะเวลาในการนำเสนอผลงาน 10 นาที และช่วงตอบคำถาม 5 นาที
  5. ในวันมหกรรม ต้องนำผลงานที่ต้องการใช้นำเสนอมาทดสอบและติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ระหว่างเวลา 8:00 – 9:00 น. ในจุดลงทะเบียนผู้นำเสนอผลงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงาน
  6. การนำเสนอผลงาน จะนำเสนอแก่ผู้เข้าร่วมมหกรรมคุณภาพ ในห้องบรรยาย และถ่ายทอดสดแก่ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass
  7. ผลงานต้นฉบับ จะถูกรวบรวมบนหนังสือรวบรวมผลงาน โดยเผยแพร่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และเทปการบรรยาย จะถูกเผยแพร่บนระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass

รางวัล

  1. ผลงานที่ได้นำเสนอนี้ จะได้รับรางวัลเป็น เกียรติบัตร และ เงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท
  2. ผู้นำเสนอผลงาน รับมอบรางวัลในช่วงเวลา 16:00-16:30 น.

New.NO.
Ref.
ชื่อผลงาน - หน่วยงาน
ประเภท
ผู้นำเสนอผลงาน
สถานะ
         


ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอด้วยโปสเตอร์ (Poster presentation)
จัดแสดง ณ มหิดลสิทธาคาร

ผลงานระดับพัฒนาการงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research, R2R) หรือ
นวัตกรรมในการพัฒนาคุณภาพ (Innovation in Quality Development, InQD)

การนำเสนอผลงาน

  1. ผู้จัดกิจกรรม ได้จัดทำโปสเตอร์ผลงานของท่านในรูปแบบ Rollup เพื่อการนำเสนอผลงานในกิจกรรมนี้ เรียบร้อยแล้วโดยท่านไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
  2. นำเสนอผลงานในช่วง Poster Round Session เวลา 09:30-11:00 น.
  3. ผู้นำเสนอผลงานสามารถนำโปสเตอร์ผลงานของท่านกลับได้หลังจากเวลา 15:00 น. โดยลงทะเบียนแจ้งการนำกลับ ณ จุดลงทะเบียนผู้นำเสนอผลงาน
  4. บทคัดย่อของผลงาน จะถูกรวบรวมบนหนังสือรวบรวมผลงาน โดยเผยแพร่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และโปสเตอร์ของผลงาน จะถูกเผยแพร่บนระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass

รางวัล

  1. ผลงานจะถูกพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลดีเด่น (ได้รับเกียรติบัตร และ เงินรางวัล จำนวน 3,000 บาท) รางวัลชมเชย (ได้รับเกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 1,500 บาท) ซึ่งพิจารณาลำดับรางวัลแยกในแต่ละกลุ่มผลงาน และรางวัลขวัญใจมหาชน (Popular Vote) จำนวน 3 รางวัล (ได้รับเกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท)
  2. ผู้นำเสนอผลงาน ฟังประกาศผลการพิจารณาผลงานและมอบรางวัล ในช่วงเวลา 16:00-16:30 น.

New.NO.
Ref.
ชื่อผลงาน - หน่วยงาน
ประเภท
ผู้นำเสนอผลงาน
สถานะ
         


ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอด้วยโปสเตอร์ (Poster presentation)
จัดแสดงในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Mahidol University Digital KM Masterclass

ผลงานในระดับพัฒนาการคุณภาพเริ่มต้น (Initial Quality Development, IQD) หรือ
การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement, CQI)

การจัดแสดงผลงาน

  1. โปสเตอร์ของผลงาน จะถูกเผยแพร่บนระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass

รางวัล

  1. ผู้ส่งผลงานต้องลงทะเบียนรับเกียรติบัตรการส่งผลงานในจุดลงทะเบียนผู้นำเสนอผลงาน ระหว่างเวลา 8:00 – 9:00 น. ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ส่งผลงานมิได้มารับเกียรติบัตรในวันและเวลาดังกล่าว จะถือว่าผู้ส่งผลงานไม่ประสงค์รับเกียรติบัตรแต่อย่างใด
  2. ผลงานจะถูกพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลขวัญใจมหาชน (Popular Vote) จำนวน 3 รางวัล (ได้รับเกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท)
  3. ผู้ส่งผลงานฟังประกาศผลการพิจารณาผลงานและมอบรางวัล ในช่วงเวลา 16:00-16:30 น.
  4. บทคัดย่อของผลงาน จะถูกรวบรวมบนหนังสือรวบรวมผลงาน โดยเผยแพร่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และโปสเตอร์ของผลงาน จะถูกเผยแพร่บนระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass

New.NO.
Ref.
ชื่อผลงาน - หน่วยงาน
ประเภท
ผู้รับเกียรติบัตร
สถานะ
         


ผลงานประเภทเรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) ที่ได้รับการคัดเลือกให้
จัดแสดงในรูปแบบออนไลน์ผ่าน Mahidol University Digital KM Masterclass

การจัดแสดงผลงาน

  1. ผลงานต้นฉบับ จะถูกเผยแพร่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์บนระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass

รางวัล

  1. ผู้ส่งผลงานต้องลงทะเบียนรับเกียรติบัตรการส่งผลงานในจุดลงทะเบียนผู้นำเสนอผลงาน ระหว่างเวลา 8:00 – 9:00 น. ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ส่งผลงานมิได้มารับเกียรติบัตรในวันและเวลาดังกล่าว จะถือว่าผู้ส่งผลงานไม่ประสงค์รับเกียรติบัตรแต่อย่างใด
  2. ผลงานต้นฉบับจะถูกเผยแพร่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์บนระบบ Mahidol University Digital KM Masterclass

New.NO.
Ref.
ชื่อผลงาน - หน่วยงาน
ประเภท
ผู้รับเกียรติบัตร
สถานะ
         

         

ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

  1. กิจกรรมนี้สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลเท่านั้น ทั้งนี้ ท่านต้องมี MU Account (@mahidol.ac.th/ @mahidol.edu) เพื่อใช้ในการลงทะเบียนนี้
  2. มี 2 รูปแบบการเข้าร่วมกิจกรรม คือ
    • Onsite (เข้าร่วมกิจกรรม ณ มหิดลสิทธาคาร) จำกัดจำนวน 1200 ท่าน (เต็มจำนวนแล้ว) และ
    • Online (เข้าร่วมกิจกรรมผ่านระบบ Cisco Webex Meetings) ไม่จำกัดจำนวน
  3. เราจะจัดส่งรหัสและช่องทางการเข้าร่วมกิจกรรม โดยจัดส่งไปยัง Email Address ที่ท่านได้ให้ข้อมูลไว้ก่อนวันมหกรรม หลังจากลงทะเบียนเสร็จสิ้นแล้ว ก่อนวันมหกรรม 1 สัปดาห์
  4. ในกรณีที่ท่านต้องการเปลี่ยนรูปแบบการเข้าร่วมกิจกรรม ขอให้ท่านแจ้งความประสงค์กลับมายังมหกรรมคุณภาพ ในช่องทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Reply mail) ภายในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2567
  5. หากรายชื่อด้านล่าง ไม่แสดงผล ท่านสามารถดูได้ที่นี่ (โปรดคลิก)
  6. หนังสือขออนุมัติให้ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2567 ร่วมกิจกรรมโดยไม่ถือเป็นวันลา





         
ลำดับ
เวลา
ชื่อ-สกุล
ส่วนงาน / สังกัด
 
         

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อเราได้ที่

สอบถาม ขอความช่วยเหลือ ผ่าน Line @ Official
http://nav.cx/emITFlD คลิกเลย
----------------------------------------------------------------

นายปิยะณัฐ พรมสาร นักวิชาการพัฒนาคุณภาพ (ผู้เชี่ยวชาญ)
น.ส.ณัฐธิดา เถื่อนหรุ่น นักวิชาการพัฒนาคุณภาพ
โทร 0 2849 6064, 0 2849 6062-5
email address: mahidolqd@mahidol.edu
ระหว่างเวลา 9.00 - 16.00 น. ในวันทำการ
หรือที่ Facebook Fanpage: facebook.com/MahidolQD/
----------------------------------------------------------------
สำนักงานโครงการมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล
กองพัฒนาคุณภาพ ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี ศาลายา
มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทร 0 2849 6062 - 5, 0 2849 6059 โทรสาร 0 2849 6061
Website: https://op.mahidol.ac.th/qd/
----------------------------------------------------------------
แผนที่การเดินทาง ในรูปแบบ Portable Document Format (PDF)
สื่อประชาสัมพันธ์