บำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ซ้ำ

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายมุ่งที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ที่ใส่ใจต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนโดยมุ่งเน้นให้เป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-University) และมียุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร(Resource Efficiency) ให้เป็นสังคมคาร์บอนต่ำ(Low Carbon Society)รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม (Community Engagement)

ด้วยการพัฒนาด้านกายภาพและนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-University) ทางมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการส่งเสริมให้ประชาคมมหิดลมีความตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของการของระบบนิเวศน์โดยรอบมหาวิทยาลัย ในแนวทางปฏิบัติ ในเรื่องของการประหยัดพลังงานน้ำกลับมาใช้ซ้ำและส่งเสริมให้บุคลากร นักศึกษา ประชาชน มีความรู้ ความตระหนักและเห็นคุณค่าในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์
1) เพื่อส่งเสริมนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-University)

2) เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากร ช่วยกันรณรงค์ในเรื่องของ พลังงานน้ำกลับมาใช้ซ้ำ

3) เพื่อรณรงค์ให้เห็นคุณค่าของถุงพลาสติกมากขึ้น ไม่ทิ้งโดยไม่จำเป็น เป็นการช่วยลดขยะและลดมลพิษที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

4) เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม

5) เพื่อนำไปสู่การเป็นต้นแบบในแนวการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-University) ให้แก่ สถาบันการศึกษา อื่นๆ

มาตรฐานคุณภาพน้ำที่ผ่านการบำบัด

ควบคุมคุณภาพน้ำโดยตรวจวิเคราะห์น้ำเสียทุก 1 เดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557-ปัจจุบัน ที่คลินิคสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าผ่านตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด(ประเภท ก.) ดังนี้

ประโยชน์ที่ได้รับ

สามารถใช้ทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดลดการใช้น้ำประปาได้ประมาณ 111 ลบ.ม./เดือน ลดค่าใช้จ่ายได้ 2,300 บาท/เดือน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้น้ำรีไซเคิลทดแทนการใช้น้ำประปา คิดเป็นปริมาณ 3 kg CO2 eq /เดือน ใช้งบประมาณในการลงทุน 150,000 บาท สามารถคืนทุนภายในระยะเวลา 5 ปีและเป็นต้นแบบแก่หน่วยงานอื่นๆ