โครงการ Digital Power Meter System

[Automatic Meter Reading : AMR]

มหาวิทยาลัยมหิดล เลือกลงทุนก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อรับแรงดันไฟฟ้าในระบบ 115 เควี เพราะทราบถึงความมีเสถียรภาพในระบบ และประเภทอัตราค่าไฟฟ้าที่ถูกกว่าระดับแรงดันไฟฟ้าในระบบ 22 เควี แต่มหาวิทยาลัยฯ ไม่สามารถจดบันทึกการใช้พลังงานไฟฟ้าจากส่วนงานต่างๆ ได้เนื่องจากไม่มีโปรแกรมบริหารจัดการ คำนวณ บันทึกสถิติ การใช้พลังงานไฟฟ้า จึงขอความอนุเคราะห์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อจดหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า และออกใบเสร็จเรียกเก็บกับคณะ สถาบันฯ ส่วนงาน ที่รับกระแสไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายของสถานีไฟฟ้าย่อยมหิดล ในระบบแรงดัน 22 เควี ตามอัตราค่าไฟฟ้าประเภทต่างๆ ของประกาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เช่น ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง เป็นต้น ในพื้นที่ทั้งหมดที่รับไฟฟ้าระบบแรงดัน 22 เควี จากสถานีไฟฟ้าย่อยฯ มีเครื่องวัดหน่วยพลังงานไฟฟ้า มิเตอร์แรงสูง และมิเตอร์แรงต่ำ เป็นจำนวน 76 เครื่อง 84 ใบเสร็จ มีทั้งชนิดอนาล็อค (จานหมุน) ดิจิตอลเพาวเวอร์มิเตอร์ โดยรูปแบบการจดหน่วยการใช้ไฟฟ้าจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละรุ่น ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งมีความหลากหลายในการใช้งาน และยากต่อการจดบันทึกหน่วยการใช้ไฟฟ้า อนึ่งด้วยสถานที่และจำนวนมิเตอร์ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนและความเหลื่อมล้ำทางเวลา ซึ่งมีโอกาสในการเกิดความผิดพลาดจากผู้ปฏิบัติงาน (Human Error) ส่งผลให้ข้อมูลหน่วยการใช้พลังงานที่จดบันทึกไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการนำไปใช้งาน

งานสาธารณูปโภคและระบบอาคาร กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ Digital Power Meter System [Automatic Meter Reading : AMR เพื่อให้สามารถดึงข้อมูลจากมิเตอร์อัตโนมัติ โดยไม่ต้องใช้บุคลากรไปจดหน้ามิเตอร์ และลดค่าใช้จ่ายที่จ้างการไฟฟ้าในการดำเนินการจดหน่วยมิเตอร์ย่อยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากเหตุผลดังกล่าวแล้วยังมีการจัดทำระบบเว็ปไซต์ที่ช่วยแสดงการใช้ข้อมูลการใช้พลังงานในแต่ละสถานที่ที่ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า โดยสามารถจะนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อหาการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ของแต่ละส่วนงานภายในที่รับกระแสไฟฟ้าในระบบจำหน่าย22 เควีภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้ในอนาคตให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ อีกทั้งเพื่อให้การบริหารจัดการพลังงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ของมหาวิทยาลัยมหิดล

ลักษณะการเชื่อมต่อระบบ AMR

กระบวนการการทำงานของระบบ Digital Power Meter System [Automatic Meter Reading : AMR] แบ่งได้เป็น 4 ส่วนที่สำคัญดังนี้

  1. ส่วนของ HARDWARE ประกอบด้วย
  •  Meter
  • อุปกรณ์ประกอบเครื่องวัด (CT – VT)

การทำหน้าที่ของ HARDWARE โดยมิเตอร์จะทำหน้าที่บันทึกค่าพลังงานที่ใช้จริง และจะบันทึกทุกๆ 15 นาที

  1. ส่วนของ COMMUNICATIONS ประกอบด้วย
  • SWITCH HUB
  • MEDIA CONVERTER

การทำหน้าที่ของ COMMUNICATIONS จะทำหน้าที่การส่งข้อมูลค่าพลังงานที่บันทึกจากมิเตอร์ไปเก็บยัง SEVER และยังทำหน้าที่เช็คสถานะว่าปัจจุบัน มิเตอร์ตัวดังกล่าวยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบ AMR ได้หรือไม่

  1. ส่วนของ SYSTEM ประกอบด้วย
  • ASSET MANAGEMENT
  • DATA COLLECTION
  • DEVICE CONTROL
  • 3.4 DATA DELIVERY

การทำหน้าที่ของ SYSTEM จะทำหน้าที่รับข้อมูลค่าพลังงานที่บันทึกจากมิเตอร์มาประมวลผลบริหารจัดการคำนวณค่าไฟฟ้าตามโปรแกรมบริหารจัดการ เพื่อเตรียมออกใบแจ้งหนี้ และนำส่งข้อมูลการใช้พลังงานจริงขึ้นโชว์บนเว็ปไซด์ ที่ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดทำขึ้น

  1. ส่วนของ INTEGRATION ประกอบด้วย
  • BILLING
  • SCADA
  • REPORTING

การทำหน้าที่ของ INTEGRATION จะทำหน้าที่รับข้อมูล REPORT ที่ผ่านการบริหารจัดการและได้รับการอนุมัติจากผู้ดูแลระบบ เพื่ออนุมัติใบออกใบแจ้งนี้ เพื่อส่งต่อให้กับส่วนงานที่เกี่ยวข้องเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในเดือนนั้นต่อไป พร้อมทั้งจัดเก็บ REPORT เพื่อให้ส่วนงานได้นำข้อมูลการใช้พลังงานไปใช้ในการกรอกข้อมูลต่างๆต่อไป

ปัจจุบันระบบ Digital Power Meter System [Automatic Meter Reading : AMR สามารถจดหน่วยออกใบแจ้งหนี้แบบระบบอัตโนมัติได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา และได้ดำเนินการส่ง User และ Pass word ให้กับส่วนงานที่มีมิเตอร์อยู่ในจำนวน 76 ชุด เพื่อทดลองใช้งานเว็ปไซค์ www.mahidol-amr.com และเข้าถึงข้อมูลมิเตอร์ของส่วนงานนั้นๆ