โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล
(Recycle Waste Bank Project)
โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล
(Recycle Waste Bank Project)
มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการจัดทำผังแม่บทพัฒนาพื้นที่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2517 และได้มีการปรับปรุงผังแม่บทเมื่อปี พ.ศ.2535 อย่างไรก็ตามในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา มีเหตุปัจจัยหลายด้านทั้งสภาพแวดล้อมภายนอก เศรษกิจ สังคม บทบาทและความต้องการพัฒนาตัวเองของมหาวิทยาลัย รวมถึงความต้องการใช้ที่ดินเพื่อดำเนินภารกิจของคณะ/สถาบันต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามหาวิทยาลัยประสบปัญหาในหลาย ๆ ด้าน มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินโครงการ “Clean and Clear” ในปี 2551 รวมถึงได้จัดทำ “โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล” ในปี 2552 เพื่อรณรงค์ให้หน่วยงาน นักศึกษา บุคลากร มีการคัดแยกและลดปริมาณขยะและนำขยะที่ผ่านการคัดแยกมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยการเพิ่มมูลค่าของขยะ โดยการดำเนินโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ใช้พื้นที่บริเวณอาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นที่ตั้งโครงการ โดยมีการใช้ซอฟต์แวร์ (Soft ware) ระบบโปรแกรมธนาคารขยะรีไซเคิล มาดำเนินการเก็บข้อมูลสมาชิกทำให้การดำเนินโครงการมีความโปร่งใส น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบได้ เหมือนธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
โดยสมาชิกในมหาวิทยาลัยหรือบุคลภายนอกทั่วไปสามารถนำขยะรีไซเคิลที่คัดแยกมาจำหน่าย และสามารถถอนเงินหรือฝากสะสมไว้กับโครงการก็ได้ โดยโครงการจะมีสมุดคู่ฝากให้กับสมาชิก และผู้ที่สนใจสามารถนำขยะรีไซเคิลมาติดต่อกับโครงการในสถานที่ ตามวันและเวลา ดังนี้
การสมัครและการให้บริการ
ราคารับซื้อขยะรีไซเคิล
การดำเนินโครงการ (2552–2563) มีสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการ 2,377 คน และสมาชิกทั่วไปอีกจำนวน 5,000 คน มียอดรวมปริมาณขยะรีไซเคิล 2,136,627.58 กิโลกรัม มียอดรวมการรับซื้อขยะรีไซเคิลจากสมาชิก จำนวน 11,040,730.97 บาท และมีผลกำไร 10% จากการจำหน่ายขยะรีไซเคิลและนำฝากเข้ากองทุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1,784,635.63 บาท