•   ||  Global Website
  • FB: Physical systems and Environment
  • FB: Sustainability
  • Youtube: channel
Waste ManagementWaste ManagementWaste ManagementWaste Management
  • เกี่ยวกับเรา
    • ประวัติความเป็นมา
    • วิสัยทัศน์ พันธกิจ ภารกิจ
    • โครงสร้างการบริหารงาน
    • ผู้บริหาร
    • บุคลากร
      • งานบริหารและพัฒนาระบบ
      • งานออกแบบและผังแม่บท
      • งานสาธารณูปโภคและระบบอาคาร
      • งานจราจรและความปลอดภัย
      • งานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม
      • งานพัฒนาเพื่อความยั่งยืน
      • งานบริหารอาคารมหิดลสิทธาคาร
    • ช่องทางการติดต่อและแผนที่การเดินทาง
      • ช่องทางการติดต่อ
      • แผนที่ชื่อถนนสายหลักสายรอง
      • แผนที่การเดินทางมาศาลายา ณ จุดต่างๆ
      • แผนที่จุดบริการภายในมหาวิทยาลัย
      • แนะนำสถานที่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
    • ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ
  • บริการของเรา
    • อาคารสถานที่
      • มหิดลสิทธาคาร
      • ศูนย์การเรียนรู้มหิดล
      • สิริวิทยา
    • เส้นทางรถราง
    • การขอใช้พื้นที่ส่วนกลาง
    • รายงานพื้นที่จอดรถ
  • ประกาศ / นโยบาย / หลักเกณฑ์
    • มหิดลสาร
    • ประกาศ / เอกสารเผยแพร่
    • การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานบริหารและพัฒนาระบบกายภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
  • โครงการ
    • SDGs Project
      • SDGs
      • SDGs Operation
      • Mahidol Sustainability Week
      • Innovation for Campus Sustainability
      • Together for Mahidol Campus Sustainability 2025
      • วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
    • ประกาศนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
    • โครงการพัฒนาตามผังแม่บท
    • ISO 14001: 2015
✕

Waste Management

Published by admin at 16/07/2021
Categories
Uncategorized
Tags

การจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัย

นโยบายด้านการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดขอบเขตการจัดการขยะ ออกเป็น 5 ประเภท คือ ขยะทั่วไป  ขยะรีไซเคิล  ขยะอินทรีย์  ขยะอันตราย และขยะติดเชื้อ ให้ครอบคลุมในพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ของส่วนงาน เพื่อให้มหาวิทยาลัยเกิดระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและมีสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและสอดคล้องตามเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs 17) ต่อไป  ซึ่งมีแนวทางการจัดการ ดังนี้

  1. ขยะทั่วไป

1.1 พื้นที่ส่วนกลาง เป็นหน้าที่รับผิดชอบของงานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดตั้งงบประมาณในการกำจัดขยะ

1.1.1 การดูแลจุดพักขยะในพื้นที่ส่วนกลาง จำนวน 6 จุด โดยมีเทศบาลตำบลศาลายามาเป็นผู้จัดเก็บไปกำจัด ในช่วงเวลา 03.00 – 06.00 น. ขอแต่ละวัน และจะมีพนักงานจะเข้าฉีดพ่นรักษาความสะอาดเรียบร้อย

  

1.1.2 การจัดตั้งจุดทิ้งขยะชั่วคราวโดยรอบมหาวิทยาลัย จำนวน 22 จุด (ตั้งถัง 2 ใบ) และมีรอบเวลาจัดเก็บขยะ ในช่วงเวลา 07.00 น. และ 10.30 น.ของทุกวัน

  

1.1.3 การดูแลรักษาพื้นผิวถนนในพื้นที่ส่วนกลางโดยรอบมหาวิทยาลัย จะดำเนินการในช่วงเวลา 04.00 – 07.00 น.

  

1.2 พื้นที่ของส่วนงาน เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของส่วนงาน มีหน้าที่ในการดำเนินงานตามแผนและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะของมหาวิทยาลัย และรวบรวมขยะไปทิ้งการที่จุดพักขยะ ที่ตั้งอยู่รอบมหาวิทยาลัย จำนวน 6 จุด เพื่อให้เทศบาลศาลายา มาขนย้ายนำไปกำจัดต่อไป

  1. ขยะรีไซเคิล

งานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ในการขอตั้งงบประมาณและการกำกับดูแลและบริหารจัดการ “โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล” โดยสมาชิกประกอบด้วย หน่วยงานต่างๆ นักศึกษา และบุคลากร ตลอดจน บุคลภายนอก สามารถนำขยะที่ผ่านการคัดแยกมาจำหน่ายเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งโครงการจะมีหน้าที่ในการฝากถอนเงินของสมาชิก การขายขยะให้ร้านรับซื้อ การรณรงค์การคัดแยกขยะ การตรวจสอบข้อมูลเงินฝากของสมาชิก และการนำส่งรายได้จากการดำเนินโครงการเข้าสู่กองทุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ตลอดจนการนำองค์ความรู้ในการดำเนินโครงการเผยแพร่ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก

 

โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ได้มีการสำรวจขยะที่มีมูลค่า แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มกระดาษ ได้แก่ กระดาษA4 กระดาษกล่องสีน้ำตาล  กระดาษหนังสือพิมพ์ กระดาษ สมุด หนังสือ และกระดาษรวม ฯลฯ
  2. กลุ่มแก้ว ได้แก่ ขวดเหล้า เบียร์ น้ำหวาน รวมเป็นลัง และขวดแก้วรวม
  3. กลุ่มพลาสติก ได้แก่ ขวดน้ำพลาสติกใส ขวดน้ำพลาสติกขุ่น พลาสติกรวม ถุงพลาสติกสะอาด และท่อ PVC สายยาง
  4. กลุ่มเหล็ก ได้แก่ เหล็กหนา เหล็กบาง กระป๋องสปอนเซอร์ เบอร์ดี้ กระป๋องรวม และกระป๋องเครื่องดื่มอลูมิเนียม
  5. กลุ่มน้ำมันพืชใช้แล้ว

 

การต่อยอดกิจกรรมโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล

2.1 การนำขยะไปใช้ประโยชน์ต่อ และ Circular Economy

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำด้าน Circular Economy ของไทยซึ่งประยุกต์เป็นหลัก GC Circular Living มุ่งเน้นในการนำ “พลาสติกใช้แล้ว” กลับเข้าสู่ระบบผลิตอีกครั้ง เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่และลดการตกค้างในสิ่งแวดล้อม จึงได้สร้าง “YOU Turn Platform” เพื่อบริหารจัดการเรื่องดังกล่าว ตั้งแต่การจัดทำ Drop Point รับพลาสติกแข็ง (PET & HDPE) พลาสติกยืด (ถุง) ก่อน

นำไป Recycle ในโรงงานและบางส่วนยังสามารถนำไป Upcycle เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว โดยการรวบรวมขวดน้ำพลาสติกใส จากการรับบริจาคจากนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป    เพื่อนำไปผลิตเป็นเสื้อยืด หรือเสื้อกราวส์ จำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ ต่อไป

2.2 โรงเรียนเครือข่าย ในโครงการ Eco Town มหิดลกับชุมชน

โครงการธนาคารขยะรีไซเคิลได้ดำเนินการขยายเครือข่ายโครงการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและการจัดทำโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลสู่โรงเรียน เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนและโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายและเกิดเครือข่ายการทำงานด้านพันธกิจสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับชุมชน สอดคล้องตามแนวนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย  โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ ดังนี้

2.2.1 เครือข่ายจังหวัดนครปฐม 8 โรงเรียน

1. โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล 2. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
3. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล 4. โรงเรียนมัธยมวัดปุรณาวาส
5. โรงเรียนวัดทรงคนอง 6. โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา
7. โรงเรียนวัดสุวรรณาราม 8. โรงเรียนวัดมะเกลือ

2.2.1 เครือข่ายจังหวัดระยอง 22 โรงเรียน

1. โรงเรียนเกาะแก้วพิศดาร 2. โรงเรียนเทศบาล 1
3. โรงเรียนเทศบาล 2 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบบ้านเพ
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเขาสำเภาทอง 6. โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า
7. โรงเรียนวัดมาบชลูด 8. โรงเรียนบ้านหนองแฟบ
9. โรงเรียนวัดตากวน 10. โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42
11. โรงเรียนระยองวิทยาคม นิคมอุตสาหกรรม 12. โรงเรียนวัดมาบข่า
13. โรงเรียนวัดเขาสำเภาทอง 14. โรงเรียนบ้านหนองสะพาน
15. โรงเรียนชุมชนวัดทับมา 16. โรงเรียนวัดห้วยโป่ง
17. โรงเรียนวัดเนินกระปรอก 18. โรงเรียนวัดประชุมมิตรบำรุง
19. โรงเรียนวัดบ้านฉาง 20. โรงเรียนบ้านเขาห้วยมะหาด
21. โรงเรียนบ้านพยูน 22. โรงเรียนบ้านเขาซก อำเภอหนองใหญ่

2.2.3 เครือข่ายจังหวัดบุรีรัมย์ 3 โรงเรียน โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

1. โรงเรียนเทศบาล 1 2. โรงเรียนเทศบาล 2
3. โรงเรียนเทศบาล 3


3.ขยะอินทรีย์
 

 

3.1 พื้นที่ส่วนกลาง รับผิดชอบโดย งานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม โดยมีหน้าที่ในการจัดตั้งงบประมาณและการกำกับดูแลโครงการต่างๆ เช่น

3.1.1 โครงการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะประเภทเศษพืช โดยการรวบรวมขยะเศษพืชจากพื้นที่ส่วนกลางและจากหน่วยงานต่าง นำมาบดย่อยและนำไปหมักด้วยระบบกองเติมอากาศ ระยะเวลา 1 เดือน แล้วนำปุ๋ยหมักที่ได้มาตากแดดให้แห้งและนำมาย่อยอีกครั้ง จะได้ปุ๋ยหมักจากเศษพืชที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แล้วนำมาใช้ภายในมหาวิทยาลัยหรือจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ

3.1.2 โครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งผลิตโดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์ทำให้ได้น้ำหมักจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการเร่งการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ หรือการชำระล้างสิ่งสกปรก สร้างสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดี

3.1.3 ดูแลระบบการจัดการขยะจากเศษอาหาร โดยการรวบรวมและจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจนำไปใช้ในฟาร์มปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงปลา และเลี้ยงหมู โดยการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ สามารถสร้างรายได้ และมีการนำส่งสู่กองทุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย

3.2 พื้นที่ของส่วนงาน เจ้าหน้าที่ของส่วนงานมีหน้าที่ในการรวบรวมขยะอินทรีย์จากเศษพืชจากการดูรักษาความสะอาดพื้นที่ของหน่วยงานและการตัดแต่งพรรณไม้ แล้วนำมาส่งให้กับโครงการผลิตปุ๋ยหมัก อาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยหมักต่อไปขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหาร ให้แต่ละหน่วยงานเป็นผู้รวบรวมและดำเนินการตามแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย

 

  1. ขยะอันตราย

การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน คือการจัดการของเสียอันตราย หรือขยะพิษหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพหรือภาชนะบรรจุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุ สารเคมีอันตรายชนิดต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นสารพิษสารไวไฟ สารเคมีที่กัดกร่อนได้ สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันในมหาวิทยาลัยมีของเสียอันตราย ประเภทของเสียอันตรายจากชุมชนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่โทรศัพท์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และกระป๋องสเปรย์บรรจุสี เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมได้ทั้งในระหว่างขั้นตอนการจัดเก็บ ขนส่งและการกำจัด ปัจจุบันส่วนงานของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการคัดแยกของเสียอันตรายจากชุมชนออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป และได้ส่งกำจัดของเสียอันตรายจากชุมชนต่อสำนักงานเขตพื้นที่นั้นๆ แต่ส่วนงานที่ตั้งอยู่ในวิทยาเขตศาลายาไม่สามารถส่งกำจัดของเสียกับทางเทศบาลศาลายาได้ เนื่องจากทางเทศบาลไม่มีนโยบายในการรับกำจัดของเสียอันตรายจากชุมชน ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปนเปื้อนของเสียอันตรายสู่สิ่งแวดล้อม  จึงได้มีการจัดตั้งงบประมาณในการจ้างเหมากำจัด และดำเนินการรวบรวมของเสียอันตรายจากชุม ปีละ 1 ครั้งจากคณะ/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

4.1 พื้นที่ส่วนกลาง รับผิดชอบโดยงานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ในการจัดตั้งงบประมาณและการกำกับดูแลโครงการ การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในการดำเนินการตามแผนและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะอันตรายของมหาวิทยาลัยและดำเนินการประสานงานในการจัดหาผู้ประกอบการตามระเบียบพัสดุ เพื่อนำขยะอันตรายไปกำจัดอย่างถูกต้องและปลอดภัยตามมาตรฐานกรมโรงงานอุตสาหกรรม

4.2 พื้นที่ของส่วนงาน รับผิดชอบโดยเจ้าหน้าที่ของส่วนงานมีหน้าที่ในการดำเนินงานตามแผนและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะอันตรายของมหาวิทยาลัย โดยดำเนินการรณรงค์การคัดแยก การรวบรวมเก็บรักษา และส่งข้อมูลปริมาณขยะอันตราย ให้กับงานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการจัดเก็บและนำไปกำจัดต่อไป

  1. ขยะติดเชื้อ (บางประเภท)

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้มีการใช้หน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันจำนวนมากมหาวิทยาลัยจึงต้องดำเนินการรวบรวมและส่งกำจัด โดยมอบหมายให้งานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมดำเนินการรวบรวมหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจากทุกส่วนงาน แล้วส่งต่อให้ผู้ประกอบการนำไปกำจัดต่อไป

โครงสร้างการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

admin
admin

Link

 

For Staff

ระบบงานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์(e-Document)

ระบบจองรถตู้และห้องประชุมออนไลน์

ระบบลาออนไลน์

ระบบปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่น

e-Payroll เงินเดือน เงินค่าตอบแทนอื่น ๆ

ข้อมูลสวัสดิการและสิทธิประโยชน์

เข้าสู่ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMS)

แบบฟอร์มสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ All Drive (พื้นที่เก็บข้อมูล)

Statistics

สถิติการใช้ไฟฟ้า

สถิติการใช้น้ำ

ผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสีย

รายงานผลการปฏิบัติงานด้านภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม

Contact US

ช่องทางการติดต่อและแผนที่การเดินทาง

Event calendar

ปฏิทินกิจกรรมกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
© 2021 General Administration Division. All Rights Reserved.
    Manage Cookie Consent
    To provide the best experiences, we use technologies like cookies to store and/or access device information. Consenting to these technologies will allow us to process data such as browsing behavior or unique IDs on this site. Not consenting or withdrawing consent, may adversely affect certain features and functions.
    Functional Always active
    The technical storage or access is strictly necessary for the legitimate purpose of enabling the use of a specific service explicitly requested by the subscriber or user, or for the sole purpose of carrying out the transmission of a communication over an electronic communications network.
    Preferences
    The technical storage or access is necessary for the legitimate purpose of storing preferences that are not requested by the subscriber or user.
    Statistics
    The technical storage or access that is used exclusively for statistical purposes. The technical storage or access that is used exclusively for anonymous statistical purposes. Without a subpoena, voluntary compliance on the part of your Internet Service Provider, or additional records from a third party, information stored or retrieved for this purpose alone cannot usually be used to identify you.
    Marketing
    The technical storage or access is required to create user profiles to send advertising, or to track the user on a website or across several websites for similar marketing purposes.
    Manage options Manage services Manage {vendor_count} vendors Read more about these purposes
    View preferences
    {title} {title} {title}