วิถีจักรยาน วิถีมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่จะมุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมียุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร(Resource Efficiency) เพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการจัดงานโครงการวิถีจักรยาน วิถีมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ 2551จนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานเป็นการสัญจรหลัก ลดการใช้เครื่องยนต์ซึงทำให้เกิดคาร์บอนและมุ่งส่งเสริมการอยู่ดีมีสุข สุขภาพกาย สุขภาพใจ การป้องกันโรค การพัฒนาความเชื่อมโยงทางสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกในท้องที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้ชื่อที่เรียกง่ายและคุ้นหูว่า “Jakka center” ประกอบด้วย การจัดตั้งศูนย์จักรยานที่ครบวงจร ในการซ่อมบำรุงและเช่ายืมเพื่อเรียนรู้การใช้จักรยานก่อนซื้อ และการปรับสภาพพื้นที่ทั่วทั้งพื้นที่ของวิทยาเขตให้เหมาะสมต่อการปั่นจักรยาน กิจกรรมส่งเสริมการปั่นจักรยาน และหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง สำหรับกิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้น ณ พื้นที่วิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่จะมุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมียุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร(Resource Efficiency) เพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จึงได้ดำเนินการจัดงานโครงการวิถีจักรยาน วิถีมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ 2551จนถึงปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานเป็นการสัญจรหลัก ลดการใช้เครื่องยนต์ซึงทำให้เกิดคาร์บอนและมุ่งส่งเสริมการอยู่ดีมีสุข สุขภาพกาย สุขภาพใจ การป้องกันโรค การพัฒนาความเชื่อมโยงทางสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกในท้องที่ให้ดียิ่งขึ้น โดยใช้ชื่อที่เรียกง่ายและคุ้นหูว่า “Jakka center” ประกอบด้วย การจัดตั้งศูนย์จักรยานที่ครบวงจร ในการซ่อมบำรุงและเช่ายืมเพื่อเรียนรู้การใช้จักรยานก่อนซื้อ และการปรับสภาพพื้นที่ทั่วทั้งพื้นที่ของวิทยาเขตให้เหมาะสมต่อการปั่นจักรยาน กิจกรรมส่งเสริมการปั่นจักรยาน และหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้อง สำหรับกิจกรรมดังกล่าวได้จัดขึ้น ณ พื้นที่วิทยาเขตศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล
การจัดตั้งศูนย์ Jakka center
โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นศูนย์ครบวงจรในการให้บริการเกี่ยวกับจักรยาน ทั้งการซ่อมบำรุง การสูบลมยาง การซื้ออะไหล่ รวมไปถึงการยืมจักรยานสาธรณะในกการใช้ทดลองปั่นก่อนซื้อจริงไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยจักรยานส่วนกลางมีจำนวนกว่า 300 คัน และมีการซ่อมบำรุงให้พร้อมใช้งานไม่ต่ำกว่า 80% ของจำนวนจักรยานส่วนกลางทั้งหมดทั้งหมด
การปรับพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการใช้งานจักรยาน
โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน คือการเปลี่ยนถนนให้เป็นพื้นที่กิจกรรมตรงส่วนกลางของมหาวิทยาลัยโดยพื้นที่กว่า 2.4 กิโลเมตรซึ่งเป็นถนนสายหลักเพิ่มต้นไม้ตามข้างต่างเพื่อเพิ่มร่มเงาและการดูซึมคาร์บอน โดยไม่อนุญาตให้รถยนต์เข้าพื้นที่ดังกล่าว ส่วนถนนสายรองก็ใช้วิธีการประยุกต์ให้เหมาะสมตามพื้นที่ เช่น การแบ่งถนนสัญจรและใช้สีททางจักรยานตามหลักสากล ซึ่งจะมีกิจกรรมร่วมกับนักศึกษาในการทาสีเมื่อเส้นทางจักรยานมีการเสื่อมสภาพ เพื่อเป็นการปลูกฝั่งค่านิยมความเรื่องเกี่ยวกับจักรยานของมหาลัย อีกทั้งการจัดทำที่จอดจักรยานเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทั่วทั้งทหาวิทยาลัย และ สถานที่ท่องเที่ยวเช็คอิน ในพื้นที่มหาวิทยาลัย ที่ใช้จักรยานเข้าถึงได้อย่างสะดวกปลอดภัย
นอกจากโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและการบริการ ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการปั่น เช่น กิจกรรม Rally จักรยานเอการท่องเที่ยว ซึ่งมีการร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นโดยรอบ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558-2561, หลักสูตรการเรียนการสอนเป็นวิชาทางเลือกโดยเป็นการสอนพื้นฐานทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 – ถึงปัจจุบัน
ตลอดระยะเวลากิจกรรมดังกล่าว มีจำนวนผู้ใช้จักรยานมากกว่า 6,000 คัน ในแต่ละปี ซึ่งมีทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้พื้นที่การทำกิจกรรมและออกกำลังกาย และจากผลสำรวจความพึงพอใจพบว่าผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจในพื้นที่กิจกรรมที่ดีและมีสุขภาพร่างกายที่ดี นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 11 (Sustainable Cities and Communities) ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน และข้อ13 (Climate Action) ดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ