มหาวิทยาลัยมหิดลมุ่งสู่มหาวิทยาลัยปลอดขยะ (Zero Waste University)
มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในมหาวิทยาลัย โดยได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นผ่านการขับเคลื่อนโครงการบริหารจัดการขยะ เพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยปลอดขยะ (Zero Waste University) โดยกำหนดเป้าหมายในการลดปริมาณขยะให้เหลือน้อยที่สุด และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยหลัก 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle)
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม ในหมวดการจัดการขยะร่วมกับส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตัวชี้วัดด้านการจัดการขยะ ปีงบประมาณ 2568
ลำดับ | KPI | ค่าเป้าหมาย | KPIs Level | การรายงานข้อมูล | หมายเหตุ |
1. | ปริมาณขยะทั่วไปทั้งหมด
ขยะทั่วไป หมายถึง ขยะหรือของเสียที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนํากลับมาใช้ใหม่ โดยจะถูกส่งไปยังหลุมฝังกลบ (Landfill) ทั้งนี้ ขยะทั่วไปไม่รวมถึง ขยะรีไซเคิล เศษอาหารและเศษใบไม้ ขยะกำพร้า ขยะอันตราย และขยะติดเชื้อ ซึ่งจะถูกแยกประเภทและส่งไปกำจัดตามกระบวนการที่มีมาตรฐานตามหลักสุขาภิบาล |
≤0.3 กิโลกรัม/คน/วัน | Monitoring | รายงานทุกไตรมาส | ส่งข้อมูลรายวัน |
2. | ร้อยละการรีไซเคิลเทียบกับขยะทั้งหมด
ขยะรีไซเคิล หมายถึง ขยะ ของเหลือ หรือวัสดุเหลือใช้ที่มีคุณสมบัติในการนำกลับมาแปรรูปหรือนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ โดยขยะรีไซเคิลประกอบไปด้วยวัสดุที่สามารถผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตอีกครั้ง เช่น ขวดหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติก แก้ว อะลูมิเนียม โลหะ กระดาษ รวมไปถึงการนำเศษอาหารหรือเศษใบไม้ ผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น |
≥15% | Monitoring | รายงานทุกไตรมาส | ส่งข้อมูลรายเดือน
ภายในวันที 15 ของทุกเดือน |