MU SDGs AWARD 2023

มหาวิทยาลัยมหิดลมีนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนตาม 17 เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : 17 SDGs) ที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรสหประชาชาติ (United Nations: UN) ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ ยุทธศาสตร์พัฒนารากฐานการเติบโตที่ยั่งยืน (Sustainability Growth) ยุทธศาสตร์การใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน (Sustainability Resource Use) และยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายสังคมที่ยั่งยืน (Sustainability Communication)

กองกายภาพและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดให้มีการประกวด MU SDGs Awards ขึ้นเพื่อตอบสนองนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการจัดอันดับ The Times Higher Education Impact Rankings โดยสนับสนุนให้ส่วนงานนำเสนอผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในรูปแบบ MU Case Study ผ่านทางเว็บไซต์ Mahidol University Sustainability เพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตาม 17 เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

ผลการจัดอันดับ MU SDGs Award 2023

มหาวิทยาลัยมหิดลขอขอบคุณทุกส่วนงานที่เข้าร่วมการจัดอันดับ MU SDGs Awards ประจำปี 2566 และขอแสดงความยินดีกับส่วนงานที่ได้รับรางวัล อย่างไรก็ตาม การประกวดครั้งนี้ทำให้พบว่าหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกันดำเนินกิจกรรม/โครงการ เพื่อตอบสนองนโยบายขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และส่งผลให้เกิดความสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตาม 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ (United Nations: UN)

เงื่อนไข/ข้อกำหนด

ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถเข้าร่วมประกวด MU SDGs Awards 2023 โดยคัดเลือก Case Study ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดมากที่สุดในแต่ละ SDG จากระบบฐานข้อมูลเว็บไซต์ ที่ส่วนงานกรอกอยู่อย่างต่อเนื่อง และยืนยัน Case Study ที่ส่งประกวดมาที่ แบบฟอร์มนี้ ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566

 

กำหนดส่งประกวดอย่างน้อย 4 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย SDG 17 และอีก 3 SDGs ที่ส่วนงานเลือกเพิ่มเติม โดยในแต่ละเป้าหมายฯ สามารถส่งประกวดได้ไม่เกิน 2 Case Study และเนื้อหา ต้องสอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนดตาม ภาคผนวก 1

 

หมายเหตุ SDG A, SDG B, SDG C คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ส่วนงานเลือกเพิ่มเติมจาก SDG 1 – SDG 16

เกณฑ์การพิจารณา

เมื่อกรอกข้อมูลครบตามระบบเว็บไซต์ และส่งเรื่องที่จะเข้าประกวดตามวันเวลาที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการฯ จะพิจารณาคะแนนตามเนื้อหา Case Study ที่กำหนดใน ภาคผนวก 2

ในแต่ละ Case Study ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของงานวิจัย การอบรมให้ความรู้ หรือกิจกรรม/โครงการที่ดำเนินการ ต้องมีการเรียบเรียงเนื้อหาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีมีเพียงภาษาใดภาษาหนึ่งคณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาคะแนนในเรื่องนั้น ซึ่งมีสัดส่วนการให้คะแนน ดังนี้

ข้อ รายละเอียด สัดส่วนคะแนน
1. หัวข้อการบรรยาย Case Study ครบถ้วนตามภาคผนวก 2 10
2. เนื้อหา Case study ความยาวไม่น้อยกว่า 1,000 คำ 80
2.1 แสดงขั้นตอน/กระบวนการดำเนินงาน

2.2 แสดงประโยชน์หรือผลลัพธ์ของ Case Study

2.3 แสดงกลุ่มเป้าหมายหรือพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์

2.4 แสดงระดับผลลัพธ์ (Impact) เช่น ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับนานาชาติ หรือแสดงการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

2.5 แสดงความต่อเนื่องและระยะเวลาของการดำเนินงาน

2.6 แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือหรือเครือข่ายที่ดำเนินงาน

2.7 แสดงภาพ/วิดีโอที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับ Case Study

3. มีการร้อยเรียงเรื่องราวที่เข้าใจง่าย มีความต่อเนื่องของเนื้อหา จัดองค์ประกอบสวยงาม ดึงดูดน่าสนใจ 10

หมายเหตุ:

1. กรณี Case Study ที่ส่งประกวดมีเพียงภาษาใดภาษาหนึ่งคณะกรรมการขอสงวนสิทธิ์ไม่พิจารณาคะแนนในเรื่องนั้น

2. การพิจารณาคะแนนขึ้นอยู่กับความเหมาะสม โดยใช้แนวทางจากตารางข้างต้น ซึ่งคำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด

การคิดคะแนน

คะแนนเต็ม 400 คะแนน คิดจาก SDG 17 (100 คะแนน) และ 3 SDGs ที่ส่วนงานเลือกเพิ่มเติม (300 คะแนน) ซึ่งใน SDG ใด ๆ ที่ส่วนงานส่งมา 2 Case Study จะคิดคะแนนจากเรื่องที่ได้คะแนนสูงที่สุดของเป้าหมายฯ นั้น ๆ ตาม ตัวอย่างการคิดคะแนน ดังนี้

รางวัล