Innovation for Campus Sustainability
Innovation for Campus Sustainability (นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน)
เป็นเวทีการประกวดสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลในการประลองความรู้ความสามารถผ่านการบูรณาการองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี โปรแกรมซอฟต์แวร์ หรือกิจกรรมกลุ่ม เพื่อลดมลพิษสิ่งแวดล้อม และเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นโดยพิจารณาความสมดุลใน 3 มิติของการพัฒนา ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1.มิติการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
2.มิติการพัฒนาด้านสังคมที่ยั่งยืน
3.มิติการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : 17 SDGs) ที่จัดทำขึ้นโดยองค์กรสหประชาชาติ (United Nations)
Innovation for Campus Sustainability 2021
SDGs Smart Action : นวัตกรรมสร้างได้
ส่งใบสมัครมาที่ https://forms.gle/21wwPSwsKEQFphLW6
กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จัดการประกวด Innovation for Campus Sustainability 2021 (นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน) ขึ้นเป็นปีที่ 4 ซึ่งเป็นเวทีสำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้นและสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน แม้ว่าปีนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ในประเทศไทยยังไม่ดีขึ้น แต่การประกวด Innovation for Campus Sustainability ยังดำเนินต่อไปในรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx Meeting และถ่ายทอดสดทาง Facebook: Mahidol University Sustainability
โดยทีมนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 8 ทีมได้เข้าร่วมโครงการ Incubation Program ของ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ในเดือนเมษายน – มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อบ่มเพาะและต่อยอดแนวคิดนวัตกรรม/เทคโนโลยี รวมทั้งองค์ความรู้ในทักษะการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งมีหัวข้อที่น้อง ๆ ได้เรียนรู้จาก Incubation Program ดังนี้
- Idea Generation & Opportunity Exploration
- Go to explore the opportunity/market
- Customer Insights
- Know your customer
- Core Technology, Solution and MVP
- Lean Canvas
- Entrepreneurial Finance
- Effective Pitching
การรอบคัดเลือก: นำเสนอแนวคิด (Proposal Presentation) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ในรอบนี้กรรมการจะคัดเลือกทีมนักศึกษา 4 ทีม ซึ่งจะได้รับเงินทุน 15,000 บาท เพื่อพัฒนาตันแบบนวัตกรรมและนำเสนอผลการทดสอบนวัตกรรมในการประกวดรอบชิงชนะเลิศ วันที่ 1 กันยายน 2564 ทั้งนี้มีผู้รับชมการถ่ายทอดสดสูงสุดทั้งสองรอบที่ 171 และ 192 คน
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีม Egg e egg egg ประกอบด้วย นางสาวอิ่มบุญ วิรัชศิลป์ และ
นายพศวัต เสนาะคำ จากวิทยาลัยนานาชาติ ด้วยผลงาน “Salaya Egg หรือ ไข่ศาลายา” ซึ่งเป็นไข่ที่มีเนื้อสัมผัส (texture) คล้ายไข่เค็มแต่ปราศจากความเค็มและโซเดียม เกิดจากการคำนึงถึงนวัตกรรมอย่างยั่งยืนทางสังคมที่ยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยังยืน และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยอยู่บนหลักการสร้างเพื่อการให้ (GIVE) แต่ต้องคิดว่า เราจะให้ใคร ให้อะไร และควรจะให้อย่างไร
G ในที่นี้คือ GOOD HEALTH (สุขภาพที่ดี)
I คือ IMPROVE (การพัฒนา)
V คือ VISION (วิสัยทัศน์)
E คือ ENVIRONMENT (สิ่งแวดล้อม)
ทีม Egg e egg egg มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด การผลิตจะต้องมีต้นทุนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์ต้องดีต่อสุขภาพ
“Salaya egg สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างความมั่นคงที่ยังยืน สร้างสังคมแห่งการช่วยเหลือและแบ่งปัน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถดูแลสุขภาพของคนในสังคมได้จริง ทาง Egg e egg egg team หวังว่าผลงานของเราจะเป็นแรงบันดาลใจให้นักพัฒนานวัตกรรมรุ่นใหม่ๆ ได้ผลิตนวัตกรรมที่เข้าถึงคนในสังคมและร่วมแบ่งปันความช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยมีการส่งต่อการให้อย่างไม่สิ้นสุด”
Salaya Egg สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ดังนี้
เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
โดยใช้วัตถุดิบและทรัพยากรในท้องถิ่น เผื่อส่งเสริมเกษตรภายในท้องถิ่น ส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่น
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
โดยการวิจัยและพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตรให้มีความหลากหลาย และเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค
เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน
โดยใช้วัตถุดิบและทรัพยากรในท้องถิ่น
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 ทีม NaB Omi ประกอบด้วย นายวิทวัส สุดทวี นายพิจักษณ์ อารยาวิชานนท์ และนางสาวณจรีย์ จันทร์เจิดศักดิ์ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ด้วยผลงาน แอพพลิเคชั่น “Khong Klang (ของขลัง)” ซึ่งเป็น e-commerce application หรือ แอพพลิเคชั่นเพื่อการซื้อขายสิ่งของ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนสินค้าต่าง ๆ ที่อยู่ในครัวเรือนของผู้ใช้ รวมไปถึงการลดการเกิดขยะในชุมชนนั้น ๆ ลงโดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
แอพพลิเคชั่น “Khong Klang (ของขลัง)” สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ดังนี้
เป้าหมายที่ 11 สร้างชุมชนและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย มีภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน
โดยตัวแอปพลิเคชันจะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าที่ปลอดภัยและเข้าถึงได้ง่ายในชุมชน ส่งผลให้การค้าขายในชุมชนได้รับการพัฒนาเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่ 12 การสร้างรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
แอพพลิเคชั่น “ของขลัง” ได้นำแนวความคิดแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งต่อสินค้า ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ทำให้สิ่งของหนึ่งชิ้นสามารถใช้ได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น ลดการทิ้งสิ่งของอย่างไม่จำเป็น และลดการใช้พลังงานในการเก็บ คัดแยกและทำลายขยะ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักในการสร้างผลงาน “ของขลัง”
เป้าหมายที่ 13 การเร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสและผลกระทบที่เกิดขึ้น
โดยในหัวข้อนี้เป็นความเกี่ยวข้องทางอ้อมของ “ของขลัง” โดยเมื่อลดการเกิดขยะได้ ผลที่ตามมานั้นคือการลดการเผากำจัดขยะลง รวมไปการลดขั้นตอนการผลิต ซึ่งมีส่วนช่วยให้การปล่อยกาศเรือนกระจกที่เป็นปัญหาของภาวะโลกร้อนลงอีกด้วย
เป้าหมายที่ 14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
ผลจากเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนที่ “ของขลัง” ได้นำมาใช้ จึงเกิดผลดีทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อขยะลดลง ความเสี่ยงที่ขยะเหล่านั้นจะถูกนำไปทิ้งไว้ที่แหล่งน้ำก็ลดลง ปริมาณของเสียจากโรงงานที่มีส่วนในการผลิตและทำลายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆก็จะลดลงเช่นกัน เป็นผลให้ทรัพยากรทางทะเลไม่ถูกกระทบจากมลภาวะที่มากับอุตสาหกรรม
เป้าหมายที่ 15 การสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุผลในเชิงเดียวกันกับ เป้าหมายที่13 และ14 การใช้ทรัพยากรบนบกเพื่อทำเครื่องใช้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ในครัวเรือน, เฟอร์นิเจอร์ไม้, หรือ ของสะสมต่าง ๆ ย่อมถูกใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดเมื่อเข้าสู่ระบบของ “ของขลัง” การผลิตที่ไม่จำเป็นจะลดลงเพราะความต้องการได้ถูกทดแทนจากของที่มีอยู่แล้วในสังคม ทำให้ระบบนิเวศทางบกไม่ถูกทำลาย ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการต้นทุนทรัพยากรในการผลิตของมนุษย์
รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ทีม SIRIMONG3KOL ประกอบด้วย นางสาวนภัสมนต์ ศรีนครา จากวิทยาลัยศาสนศึกษา นายศุภกฤต ตาลน้อย จากคณะวิทยาศาสตร์ และนางสาวอรญา ศรีเจริญวรรณ จากวิทยาลัยนานาชาติ ด้วยผลงาน แอปพลิเคชัน “Sirimongkol” ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาแบบวัดเสมือนจริง ซึ่งประกอบด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบทความแบบข้อความหรือแบบเสียง ช่องทางการทำบุญ และอีกมากมาย เพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ใช้หันมาดูแลเยียวยาจิตใจของตนเองไปพร้อมกับการพัฒนาทางจิตวิญญาณที่สอดแทรกสาระดี ๆ ทางพุทธศาสนาที่อาจไม่เคยรู้มาก่อน โดยมีลักษณะของการเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นในการเสริมสร้างความยั่งยืนในสังคม
“เนื่องจากในปัจจุบันสภาพจิตใจของผู้คนอาจมีความเครียดที่สะสมอย่ามากมาย จากสถานการณ์รอบตัว และไม่รู้จะหาทางออกให้กับตนเองอย่างไร ทางทีมผู้จัดทำ ได้เห็นโอกาสและมองลึกไปยังแก่นของปัญหานี้ และเชื่อว่าวิกฤตด้านจิตใจ สามารถหาทางออกได้ด้วยการเริ่มจากตนเอง จึงได้ออกแบบ Application “Sirimongkol” ขึ้นมา เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ และสามารถเยียวยาจิตใจตนเองได้ในเบื้องต้น และได้ ผสมผสานกันระหว่างพุทธศาสนาและจิตวิทยาเข้าด้วยกัน เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้ได้มากขึ้น กับฟีเจอร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น “ใจบุญ” ช่องทางการทำบุญ Online ในอนาคตสามารถ ทำบุญได้จริง และบอร์ดข่าวสารเกี่ยวกับ การทำบุญ เช่น การทำจิตอาสา หรือจะเป็น “ใจฟู” ช่องทางที่จะทำให้หัวใจของคุณ ผ่อนคลาย และ พองโตไปกับ การฟังและอ่านเรื่องราวต่าง ๆ และที่ขาดไม่ได้ “Daily Task” ฟีเจอร์ที่จะให้ผู้ใช้ได้เก็บบันทึกสิ่งต่าง ๆ เช่น อารมณ์ การจดบันทึก นั่งสมาธิ และกิจกรรมอื่น ๆ เช่น เซียมซี เป้าหมายพวกเรามุ่งเน้นไปถึงความยั่งยืนในสังคม เพราะเรา อยากร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมของพวกเราให้ดียิ่งขึ้น เพราะเราเชื่อว่า อ้อมกอดที่อบอุ่นที่สุด คืออ้อมกอดของตัวคุณเอง”
“Sirimongkol” สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ดังนี้
เป้าหมายที่ 3 ส่งเสริมสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน
โดย Sirimongkol มีเนื้อหาและกิจกรรมที่ช่วยให้สามารถเข้าถึงการเยียวยาจิตใจ ส่งผลด้านสุขภาพจิต
เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
โดย Sirimongkol ได้นำกิจกรรมทางศาสนา เช่น การตักบาตร เวียนเทียน เป็นกิจจกรรมที่จะได้รับแต้มและนำไปทำบุญจริง หรือการตกบาตรออนไลน์ที่สามารถเลือกชุดทำบุญได้ และมีเนื้อหาที่แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวใกล้บริเวณวัด เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชชุมชนท้องถิ่นด้วย
เป้าหมายที่ 13 การเร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสและผลกระทบที่เกิดขึ้น
โดย Sirimongkol สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการเดินทางไปวัดและการซื้อของที่ไม่จำเป็นให้กับทางวัด ลดการใช้ทรัพยากรในทุกด้านเนื่องจากเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์
รางวัลชมเชย ทีม EcoVision โดย นางสาวซอนย่า แยปปิเน่น จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ด้วยผลงาน “Green Rooftop” ซึ่งช่วยจัดการและลดปัญหาของความร้อนในเขตพื้นที่เมืองใหญ่โดยช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ผลงานนี้ยังมุ่งเน้นการส่งสาส์นสู่สังคมเพื่อการตระหนักรู้ถึงปัญหาด้านมลภาวะและปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง (Urban Heat Island) และเข้าร่วมการปรับเปลี่ยนดาดฟ้าให้เป็น Green Rooftop ร่วมกันอีกด้วย
“Green Rooftop” สนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ดังนี้
เป้าหมายที่ 3 ส่งเสริมสุขภาวะความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคน
โดย Green Rooftop ช่วยดูดซับมลภาวะทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ทำให้อากาศดีขึ้น
เป้าหมายที่ 11 สร้างชุมชนและการตั้งถิ่นฐานที่ปลอดภัย มีภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน
โดย Green Rooftop ช่วย ทำให้อุณหภูมิของอาคารลดลง ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบปรับอากาศ และลดภาวะและ
เป้าหมายที่ 13 การเร่งต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสและผลกระทบที่เกิดขึ้น
โดย Green Rooftop สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases)
นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษาอีกหลายทีมที่ได้เข้าร่วมประกวด ซึ่งแต่ละทีมจะต้องแสดงรูปแบบผลงานและตอบคำถามด้วยภาษาอังกฤษ เป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับนักศึกษาได้มีโอกาสเพื่อนำเสนอแนวคิดอย่างเต็มที่ อาทิ
- 1. ปุ๋ย CAP (Preparation of slow release fertilizer encapsulated by pineapple stem starch) สารเคลือบเม็ดปุ๋ยจากแป้งสับปะรดให้เป็นปุ๋ยละลายช้า โดยทีม CAPABLE จากคณะวิทยาศาสตร์
- Sutecka หรือสติกเกอร์กระดาษจากผักตบชวา โดยทีม Creative Environmental Science จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
- Bio Solar Garden Roof การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับการปลูกพืชบนหลังคา โดยทีม Live Roof จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์
- Free Food for Food Waste-Free โครงการที่ต้องการลดปริมาณขยะอาหาร (Food Waste-Free) โดยการแจกอาหารที่เหลือ (Free Food) สู่นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย โดยทีม Bring It On คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และวิทยาลัยนานาชาติ
และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญภายในมหาวิทยาลัยมาเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดในปีนี้ ได้แก่
- ดร.วนรักษ์ ชัยมาโย รองผู้อำนวยการ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม
- อาจารย์ ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิศวกรรมและระบบ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- ดร.เคตะ โอโน่ ผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ศาสตร์
- รองศาสตราจารย์ ดร.ไกรชาติ ตันตระการอาภา รองคณบดีฝ่ายทรัพยากรกายภาพและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
สามารถรับชมการประกวดย้อนหลังได้ที่
รอบคัดเลือก: นำเสนอแนวคิด (Proposal Presentation) วันที่ 30 มิถุนายน 2564 กิจกรรมการประกวด Innovation for Campus Sustainbility Contest 2021 รอบนำเสนอแนวคิด (Proposal Presentation) https://fb.watch/7RxyJ9zx5E/
รับชมต่อกับกิจกรรมการประกวด Innovation for Campus Sustainbility Contest 2021 รอบนำเสนอแนวคิด (Proposal Presentation) https://fb.watch/7RxCS5AxbK/
รอบชิงชนะเลิศ: นำเสนอต้นแบบนวัตกรรม (Prototype Presentation) วันที่ 1 กันยาน 2564 https://fb.watch/7RlJNywARS/
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- การประกวด “Innovation for Campus Sustainability Contest 2021” รอบชิงชนะเลิศ(https://op.mahidol.ac.th/pe/2021/11250/)
- ม.มหิดล จัดการประกวด Innovation for Campus Sustainability Contest 2021 (รอบชิงชนะเลิศ) https://mahidol.ac.th/th/2021/mahidol-innovation-sustainability/
- มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดรายชื่อน.ศ.ผู้ชนะการประกวด Innovation for Campus Sustainability 2021
https://news.trueid.net/detail/KdB3325a00GW
https://www.matichon.co.th/lifestyle/tech/news_2962865
- Innovation for Campus Sustainability 2021 โดยม.มหิดล ต่อยอดนโยบาย มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศและการพัฒนาอย่างยั่งยืน https://techsauce.co/pr-news/mu-innovation-for-campus-sustainability-2021