รถรางพลังงานไฟฟ้า (Electric Tram)

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายส่งเสริมการสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) โดยมีโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมหิดลสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่จะมุ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมียุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร(Resource Efficiency) ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาเป็นที่ตั้งของสำนักงาน ศูนย์ สถาบัน คณะและวิทยาลัยต่าง ๆ กว่า  32 หน่วยงาน จึงเป็นแหล่งการดำเนินกิจกรรมของนักศึกษาที่หลากหลายและยังมีวิทยาเขตอยู่ในหลายพื้นที่เพื่อลดการใช้งานรถยนต์ส่วนตัวที่ทำให้เกิดมลพิษสะสม มหาวิทยาลัยจึงมีการให้บริการรถโดยสารสาธารณะ เช่น บริการรถรางไฟฟ้าสาธารณะ รถรับ-ส่งระหว่างวิทยาเขต รถรับ-ส่งสถานีรถไฟฟ้า โครงการรถรางสาธารณะเริ่มจากการที่วิทยาเขตศาลายามีการเปลี่ยนแปลงโครงส้างเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศน์และกิจกรรม จากการทำถนนให้เป็นถนนคนเดิมทำให้ที่จอดรถตามท้องถนนลดน้อยลงและลดการให้รถยนต์เข้าสื้นที่กิจกรรมของนักศึกษาและบุลากร จึงทำให้ต้องเพิมเติมลานจอดที่อยู่ไกลจากตัวอาคารหลัก เลยมีการนำเอารถบริการรถรางสาธารณะเข้ามาสนับสนุน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถงปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านสิ่งวดล้อมและระบบนิเวศน์

เริ่มมีการเปลี่ยนรถรางบบเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงเปลี่ยนเป็นรถรางระบบไฟฟ้า (Electric Tram) เมื่อปีงบประมาณ 2560 เป็นต้นมาเป็นบริการขนส่งมวลชนแบบเชิงอนุรักษ์ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นพลังงานบริสุทธิที่ไม่เกิดวันพิษทางท้อถนน อีกทั้งลดการใช้เช้อเพลิงจำพวกน้ำมันละมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า

รถรางบริการมีขนาด 28 ที่นั่ง แบ่งออกเป็น 4 สาย เส้นทางหลักที่ครอบคลุมทั่วทั้งมหาวิทยาลัย มีรูปแบบโดดเด่นและลวดลายสีสันที่สวยงาม ประกอบไปด้วย

ลายดอกกันภัยมหิดล และลายกังหันพร้อมข้อความปณิธานและคำขวัญของมหาวิทยาลัย 5 ข้อความ สลับกันไปลวดลายละ 1 ข้อความ ซึ่งมาจากกิจกรรมการประกวดการออกแบบลวดลายจากนักศกษาละบุคลากร ให้บริการตังแต่เช้าตรู่จนถึงค่ำโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ หรือหากต้องการรถรางพิเศษ มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายและส่งเสริมให้เกิดพลังงานสะอาดที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

 

ในปี พ.ศ.2561 ได้มีนโยบาย“ขึ้นรถรางต่อรถบัส” เพื่อให้สามารถอำนวยคุณประโยชน์ในการเดินทางเข้าและออก  การสัญจรไปมาระหว่างส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยมหิดลให้แก่นักศึกษา บุคลากร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทั่วไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นนโยบายที่เป็นการลดระยะทางของ Shuttle Bus ที่มีการวิ่งวนในมหาวิทยาลัย รวมระยะทางเกือบ 10 กิโลเมตร ให้ลดลงเหลือแค่ไม่เกิน 2 กิโลเมตร โดยกำหนดจุดบริการ Shuttle Bus แค่จุดเดียวและใช้รถรางไฟฟ้าส่งต่อ เป็นการลดมลพิษในพื้นที่และค่าใช้จ่ายจากเช้อดพลงได้เป็นจำนวนมาก

ตลอดระยะเวลากิจกรรมดังกล่าว มีจำนวนผู้ใช้บริการรถรางไฟฟ้าทั้งนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอกจำนวนมากกว่า 10,000 คนในแต่ล่ะเดือน ทำให้รถยนต์และมลพิษในพื้นที่มี่จำนวนการวิ่งที่ลดลงมากและค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัยที่ลดลงอย่างเห็นผล นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน