ด้วยแนวคิดที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยโดยใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่ดีของนักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดลจึงมีนโยบายที่จะสนับสนุนการเดินและขี่จักรยานในฐานะเป็นการสัญจรหลักภายในมหาวิทยาลัย โดยโครงการหนึ่งที่มีความสำคัญคือ โครงการเปลี่ยนถนนของงรถยนต์ให้เป็นถนนคนเดินโดยลดพื้นที่จราจรจำนวน 3 เลนจาก 6 เลน เพื่อเปลี่ยนเป็นเส้นทางเดินเท้าและทางจักรยานให้หลายๆ คนได้ออกกำลังกายด้วยการ เดิน วิ่งและขี่จักรยาน มีโอกาสได้เดินเท้าพบปะทักทายกัน มีต้นไม้ปลูกให้ร่มเงา รวมถึงเกิด Green Lifestyle จากการมีพื้นที่ใหม่ๆ ให้จัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่เพิ่มสีสันและความหลากหลายในชีวิตมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับกฎบัตรโตรอนโตเพื่อกิจกรรมทางกาย (The Toronto Charter for Physical Activity : A Gobal Call for Action) ที่มุ่งส่งเสริมการอยู่ดีมีสุข สุขภาพกาย สุขภาพใจ การป้องกันโรค การพัฒนาความเชื่อมโยงทางสังคมและการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น

ปัจจุบัน แม้จักรยานในศาลายามีจำนวนกว่า 7,000 คัน และภาพนักศึกษาขี่จักยานเป็นกลุ่มในทางจักรยานมีให้เห็นชินตา มหาวิทยาลัยยังต้องการที่จะลดการใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ และส่งเสริมการขี่จักรยานเพื่อเพิ่มจำนวนของผู้ขี่จักรยานภายในมหาวิทยาลัยให้มากขึ้นจากกลุ่มนักศึกษา บุคลากรรวมถึงผู้ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงมหาวิทยาลัย โดยจัดสภาพแวดล้อมที่จูงใจและสะดวกต่อการขี่จักรยานให้เพิ่มมากขี้น เช่น การปรับปรุงเส้นทางจักรยาน การจัดที่จอดรถจักรยานเพิ่มเติม การจัดระบบจักรยานสาธารณะ (จักรยานสีขาว) ศูนย์บริการจักรยาน และการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้และส่งเสริมการขี่จักรยาน เป็นต้น

นอกจากโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและการบริการ มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญกับการสื่อสารแนวคิดกับบุคลากรและนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย เช่น การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ปลูกฝังค่านิยม และการผลักดันให้เกิดกระแสการใช้จักรยานกับชุมชนภายนอกและในมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกด้วย

project9
slide008