“ระบบบำบัดน้ำเสีย”
“ระบบบำบัดน้ำเสีย”
ด้วยระบบบำบัดน้ำเสียรวม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นแบบแอ็คติเวเต็ดสลัดจ์ สามารถรองรับน้ำเสียได้ 3,000 ลบ.ม.ต่อวัน ปัจจุบันรวบรวมน้ำเสีย 1,000 ลบ.ม.ต่อวัน จาก 17 หน่วยงาน คิดเป็น 60% ของทั้งมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีสถานีรวบรวมน้ำเสีย 4 สถานี ประกอบไปด้วยน้ำเสียจากห้องน้ำ โรงอาหาร และห้องปฏิบัติการ
ระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอ็คติเวเต็ดสลัดจ์ ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ถังเติมอากาศ (Aeration Tank) และถังตกตะกอน (Sedimentation Tank) โดยน้ำเสียจะถูกส่งเข้าถังเติมอากาศ ซึ่งมีจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก จุลินทรีย์เหล่านี้จะทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสียให้อยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำในที่สุด น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจะไหลต่อไปยังถังตกตะกอนเพื่อแยกสลัดจ์ออกจากน้ำใส สลัดจ์ที่แยกตัวอยู่ที่ก้นถังตกตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกสูบกลับเข้าไปในถังเติมอากาศใหม่เพื่อรักษาความเข้มข้นของจุลินทรีย์ในถังเติมอากาศให้ได้ตามที่กำหนด และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นสลัดจ์ส่วนเกิน (Excess Sludge) โดยนำไปทำปุ๋ยต่อไป สำหรับน้ำใสส่วนบนจะเป็นน้ำทิ้งถูกส่งต่อไปบ่อสัมผัสคลอรีน โดยจะใช้ไบโอคลอรีนที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม และจะนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปใช้ในหน่วยงานดังนี้ ระบบบำบัดน้ำเสียรวม ลานจอดรถบัส คณะสัตวแพทยศาสตร์ สถาบันแห่งชาติ เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ โดยนำน้ำไปใช้รดน้ำต้นไม้ ล้างเครื่องจักรอุปกรณ์ และล้างรถบัส
ทั้งนี้ มีกลุ่มบุคคล นักเรียน นักศึกษา และหน่วยงาน ขอเข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นจำนวนมาก โดยในปีที่ผ่านมามีผู้ที่ขอเข้าศึกษาดูงาน มากกว่า 350 คน อาทิเช่น