เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals หรือตัวย่อว่า SDGs) เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาของโลกภายหลังปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) กำหนดต่อเนื่องจาก MDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) ที่สิ้นสุดลงเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 70 (The 70th session of the United Nations General Assembly) เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2558 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาตินครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (The 2030 Agenda for Sustainable Development) และเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ นำไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ในช่วงระยะเวลา 15 ปี (เดือนกันยายน 2558 – สิงหาคม 2573) ประกอบด้วยเป้าหมายหลัก 17 เป้าหมายและเป้าประสงค์ 169 ข้อ เป็นเป้าหมายที่ใช้เป็นทิศทางในการพัฒนาประชาคมโลก มีความคลอบคลุม และให้ความสำคัญของด้านต่าง ๆ ที่สามารถเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น
ศึกษาข้อมูล SDGs เพิ่มเติมได้ที่
เป็นพื้นที่สำหรับถ่ายทอดเรื่องราว สร้างแรงบันดาลใจ และสื่อสารเรื่อง SDGs ในวิถีหรือรูปแบบของแต่ละคน เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจในเป้าหมายทั้ง 17 เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนว่ามีความสำคัญต่อประชากรโลกอย่างไร และเราสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร เนื่องจากเราทุกคนต่างมีความหลากหลาย ความสามารถและความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน เราสามารถขับเคลื่อนในเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของเราได้ เพราะ “ทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้น่าอยู่ขึ้นได้” หากทุกเป้าหมายสามารถสำเร็จได้ หมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดี เศรษฐกิจและสังคมที่ดีและเท่าเทียม เข้าถึงทุกคนบนโลกใบนี้ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายนั้นสิ่งสำคัญคือความร่วมมือและการเห็นพ้องในเป้าหมายที่ชัดเจน และการลงมือทำไปด้วยกัน