นโยบายด้านการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดขอบเขตการจัดการขยะ ออกเป็น 5 ประเภท คือ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย และขยะติดเชื้อ ให้ครอบคลุมในพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ของส่วนงาน เพื่อให้มหาวิทยาลัยเกิดระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและมีสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและสอดคล้องตามเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs 17) ต่อไป ซึ่งมีแนวทางการจัดการ ดังนี้
1.1 พื้นที่ส่วนกลาง เป็นหน้าที่รับผิดชอบของงานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดตั้งงบประมาณในการกำจัดขยะ
1.1.1 การดูแลจุดพักขยะในพื้นที่ส่วนกลาง จำนวน 6 จุด โดยมีเทศบาลตำบลศาลายามาเป็นผู้จัดเก็บไปกำจัด ในช่วงเวลา 03.00 – 06.00 น. ขอแต่ละวัน และจะมีพนักงานจะเข้าฉีดพ่นรักษาความสะอาดเรียบร้อย
1.1.2 การจัดตั้งจุดทิ้งขยะชั่วคราวโดยรอบมหาวิทยาลัย จำนวน 22 จุด (ตั้งถัง 2 ใบ) และมีรอบเวลาจัดเก็บขยะ ในช่วงเวลา 07.00 น. และ 10.30 น.ของทุกวัน
1.1.3 การดูแลรักษาพื้นผิวถนนในพื้นที่ส่วนกลางโดยรอบมหาวิทยาลัย จะดำเนินการในช่วงเวลา 04.00 – 07.00 น.
1.2 พื้นที่ของส่วนงาน เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของส่วนงาน มีหน้าที่ในการดำเนินงานตามแผนและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะของมหาวิทยาลัย และรวบรวมขยะไปทิ้งการที่จุดพักขยะ ที่ตั้งอยู่รอบมหาวิทยาลัย จำนวน 6 จุด เพื่อให้เทศบาลศาลายา มาขนย้ายนำไปกำจัดต่อไป
งานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ในการขอตั้งงบประมาณและการกำกับดูแลและบริหารจัดการ “โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล” โดยสมาชิกประกอบด้วย หน่วยงานต่างๆ นักศึกษา และบุคลากร ตลอดจน บุคลภายนอก สามารถนำขยะที่ผ่านการคัดแยกมาจำหน่ายเข้าร่วมโครงการได้ ซึ่งโครงการจะมีหน้าที่ในการฝากถอนเงินของสมาชิก การขายขยะให้ร้านรับซื้อ การรณรงค์การคัดแยกขยะ การตรวจสอบข้อมูลเงินฝากของสมาชิก และการนำส่งรายได้จากการดำเนินโครงการเข้าสู่กองทุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ตลอดจนการนำองค์ความรู้ในการดำเนินโครงการเผยแพร่ให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภายนอก
โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ได้มีการสำรวจขยะที่มีมูลค่า แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
การต่อยอดกิจกรรมโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล
2.1 การนำขยะไปใช้ประโยชน์ต่อ และ Circular Economy
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำข้อตกลงความร่วมมือกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ผู้นำด้าน Circular Economy ของไทยซึ่งประยุกต์เป็นหลัก GC Circular Living มุ่งเน้นในการนำ “พลาสติกใช้แล้ว” กลับเข้าสู่ระบบผลิตอีกครั้ง เพื่อลดการใช้ทรัพยากรใหม่และลดการตกค้างในสิ่งแวดล้อม จึงได้สร้าง “YOU Turn Platform” เพื่อบริหารจัดการเรื่องดังกล่าว ตั้งแต่การจัดทำ Drop Point รับพลาสติกแข็ง (PET & HDPE) พลาสติกยืด (ถุง) ก่อน
นำไป Recycle ในโรงงานและบางส่วนยังสามารถนำไป Upcycle เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่ามากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย โดยมหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว โดยการรวบรวมขวดน้ำพลาสติกใส จากการรับบริจาคจากนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป เพื่อนำไปผลิตเป็นเสื้อยืด หรือเสื้อกราวส์ จำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ ต่อไป
2.2 โรงเรียนเครือข่าย ในโครงการ Eco Town มหิดลกับชุมชน
โครงการธนาคารขยะรีไซเคิลได้ดำเนินการขยายเครือข่ายโครงการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะและการจัดทำโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลสู่โรงเรียน เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนและโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายและเกิดเครือข่ายการทำงานด้านพันธกิจสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับชุมชน สอดคล้องตามแนวนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
2.2.1 เครือข่ายจังหวัดนครปฐม 8 โรงเรียน
1. โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ มหามงคล | 2. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม |
3. โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล | 4. โรงเรียนมัธยมวัดปุรณาวาส |
5. โรงเรียนวัดทรงคนอง | 6. โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา |
7. โรงเรียนวัดสุวรรณาราม | 8. โรงเรียนวัดมะเกลือ |
2.2.1 เครือข่ายจังหวัดระยอง 22 โรงเรียน
1. โรงเรียนเกาะแก้วพิศดาร | 2. โรงเรียนเทศบาล 1 |
3. โรงเรียนเทศบาล 2 | 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบบ้านเพ |
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเขาสำเภาทอง | 6. โรงเรียนวัดชากลูกหญ้า |
7. โรงเรียนวัดมาบชลูด | 8. โรงเรียนบ้านหนองแฟบ |
9. โรงเรียนวัดตากวน | 10. โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 |
11. โรงเรียนระยองวิทยาคม นิคมอุตสาหกรรม | 12. โรงเรียนวัดมาบข่า |
13. โรงเรียนวัดเขาสำเภาทอง | 14. โรงเรียนบ้านหนองสะพาน |
15. โรงเรียนชุมชนวัดทับมา | 16. โรงเรียนวัดห้วยโป่ง |
17. โรงเรียนวัดเนินกระปรอก | 18. โรงเรียนวัดประชุมมิตรบำรุง |
19. โรงเรียนวัดบ้านฉาง | 20. โรงเรียนบ้านเขาห้วยมะหาด |
21. โรงเรียนบ้านพยูน | 22. โรงเรียนบ้านเขาซก อำเภอหนองใหญ่ |
2.2.3 เครือข่ายจังหวัดบุรีรัมย์ 3 โรงเรียน โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
1. โรงเรียนเทศบาล 1 | 2. โรงเรียนเทศบาล 2 |
3. โรงเรียนเทศบาล 3 |
3.ขยะอินทรีย์
3.1 พื้นที่ส่วนกลาง รับผิดชอบโดย งานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม โดยมีหน้าที่ในการจัดตั้งงบประมาณและการกำกับดูแลโครงการต่างๆ เช่น
3.1.1 โครงการผลิตปุ๋ยหมักจากขยะประเภทเศษพืช โดยการรวบรวมขยะเศษพืชจากพื้นที่ส่วนกลางและจากหน่วยงานต่าง นำมาบดย่อยและนำไปหมักด้วยระบบกองเติมอากาศ ระยะเวลา 1 เดือน แล้วนำปุ๋ยหมักที่ได้มาตากแดดให้แห้งและนำมาย่อยอีกครั้ง จะได้ปุ๋ยหมักจากเศษพืชที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แล้วนำมาใช้ภายในมหาวิทยาลัยหรือจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจ
3.1.2 โครงการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งผลิตโดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์สังเคราะห์ทำให้ได้น้ำหมักจุลินทรีย์ที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการเร่งการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ หรือการชำระล้างสิ่งสกปรก สร้างสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดี
3.1.3 ดูแลระบบการจัดการขยะจากเศษอาหาร โดยการรวบรวมและจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจนำไปใช้ในฟาร์มปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงปลา และเลี้ยงหมู โดยการดำเนินกิจกรรมโครงการต่างๆ สามารถสร้างรายได้ และมีการนำส่งสู่กองทุนกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย
3.2 พื้นที่ของส่วนงาน เจ้าหน้าที่ของส่วนงานมีหน้าที่ในการรวบรวมขยะอินทรีย์จากเศษพืชจากการดูรักษาความสะอาดพื้นที่ของหน่วยงานและการตัดแต่งพรรณไม้ แล้วนำมาส่งให้กับโครงการผลิตปุ๋ยหมัก อาคารอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยหมักต่อไปขยะอินทรีย์ประเภทเศษอาหาร ให้แต่ละหน่วยงานเป็นผู้รวบรวมและดำเนินการตามแนวนโยบายของมหาวิทยาลัย
การจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน คือการจัดการของเสียอันตราย หรือขยะพิษหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ผลิตภัณฑ์เสื่อมสภาพหรือภาชนะบรรจุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบหรือปนเปื้อนวัตถุ สารเคมีอันตรายชนิดต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นสารพิษสารไวไฟ สารเคมีที่กัดกร่อนได้ สารกัมมันตรังสี และเชื้อโรคต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันในมหาวิทยาลัยมีของเสียอันตราย ประเภทของเสียอันตรายจากชุมชนอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่โทรศัพท์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และกระป๋องสเปรย์บรรจุสี เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดอันตรายหรือปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมได้ทั้งในระหว่างขั้นตอนการจัดเก็บ ขนส่งและการกำจัด ปัจจุบันส่วนงานของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีการคัดแยกของเสียอันตรายจากชุมชนออกจากขยะมูลฝอยทั่วไป และได้ส่งกำจัดของเสียอันตรายจากชุมชนต่อสำนักงานเขตพื้นที่นั้นๆ แต่ส่วนงานที่ตั้งอยู่ในวิทยาเขตศาลายาไม่สามารถส่งกำจัดของเสียกับทางเทศบาลศาลายาได้ เนื่องจากทางเทศบาลไม่มีนโยบายในการรับกำจัดของเสียอันตรายจากชุมชน ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการปนเปื้อนของเสียอันตรายสู่สิ่งแวดล้อม จึงได้มีการจัดตั้งงบประมาณในการจ้างเหมากำจัด และดำเนินการรวบรวมของเสียอันตรายจากชุม ปีละ 1 ครั้งจากคณะ/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายาโดยได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
4.1 พื้นที่ส่วนกลาง รับผิดชอบโดยงานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมมีหน้าที่ในการจัดตั้งงบประมาณและการกำกับดูแลโครงการ การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในการดำเนินการตามแผนและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะอันตรายของมหาวิทยาลัยและดำเนินการประสานงานในการจัดหาผู้ประกอบการตามระเบียบพัสดุ เพื่อนำขยะอันตรายไปกำจัดอย่างถูกต้องและปลอดภัยตามมาตรฐานกรมโรงงานอุตสาหกรรม
4.2 พื้นที่ของส่วนงาน รับผิดชอบโดยเจ้าหน้าที่ของส่วนงานมีหน้าที่ในการดำเนินงานตามแผนและนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะอันตรายของมหาวิทยาลัย โดยดำเนินการรณรงค์การคัดแยก การรวบรวมเก็บรักษา และส่งข้อมูลปริมาณขยะอันตราย ให้กับงานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งต่อให้ผู้ประกอบการจัดเก็บและนำไปกำจัดต่อไป
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้มีการใช้หน้ากากอนามัยเพื่อการป้องกันจำนวนมากมหาวิทยาลัยจึงต้องดำเนินการรวบรวมและส่งกำจัด โดยมอบหมายให้งานภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมดำเนินการรวบรวมหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วจากทุกส่วนงาน แล้วส่งต่อให้ผู้ประกอบการนำไปกำจัดต่อไป
โครงสร้างการจัดการขยะภายในมหาวิทยาลัยมหิดล