Mahidol Quality Fair

Share & Learn "แลกเปลี่ยนเรียนรู้ - สร้างแรงบันดาลใจ"

มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพเป็นอย่างยิ่ง โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญของความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพเพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ขององค์กร คือการจัดการความรู้ ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง และในเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx: Education Criteria for Performance Excellence) ที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำมาใช้ในการบริหารองค์กรในทุกส่วนงาน และเพื่อเป็นการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการจัดการความรู้ของแต่ละส่วนงาน

ในปี 2557 มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกองพัฒนาคุณภาพและกองทรัพยากรบุคคล จึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “มหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพคน-คุณภาพงาน สร้างให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความภาคภูมิใจ เกิดความสนใจในการเรียนรู้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเป็นพื้นที่สำหรับประชาคมชาวมหิดล ที่จะมาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนามหาวิทยาลัย และกิจกรรมดังกล่าวมีการเปิดรับผลงาน การแสดงผลงานด้านพัฒนาคุณภาพ กิจกรรมการบรรยาย การเสวนาจากผู้ทรงคุณวุฒิ

พัฒนาไม่หยุดนิ่ง

ปัจจุบันมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดลได้เปิดรับผลงานเข้าร่วมกิจกรรม
ใน 2 ประเภทผลงาน คือ

  1. กลุ่มผลงานที่ต้องได้รับคำยินยอมจากส่วนงานต้นสังกัด
      • Team Good Practice Award
        กระบวนการทำงานที่เป็นเลิศที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มบุคคล (Team) อาจเป็น Team ตามหน่วยงานที่ระบุในโครงสร้างองค์กรของส่วนงานหรือเป็น Team งานเฉพาะกิจที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อพันธกิจเฉพาะของส่วนงานก็ได้ และกระบวนการ (Process) ที่นำเสนอควรเป็นกระบวนการ (Process) หลักที่นำไปสู่วิสัยทัศน์ของ Team
      • Innovative Teaching Award
        กระบวนการที่เป็นเลิศในด้านการเรียนการสอน ซึ่งเป็นรูปแบบหรือกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน หรือการวัดและประเมินผล ที่ออกแบบใหม่ หรือปรับปรุงจากของเดิม โดยมีผลลัพธ์ให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Outcome) ที่ดีขึ้น
      • Public Policy Advocacy Award
        โครงการเพื่อชี้นำสังคมที่ประสบความสำเร็จ มีฐานคิดอย่างเป็นระบบจากงานวิจัยหรือวิชาการ สามารถเปลี่ยนมุมมองทัศนคติของสาธารณชน และ/หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายระดับประเทศ
        โครงการเพื่อชี้นำสังคมที่ประสบความสำเร็จ มีฐานคิดอย่างเป็นระบบจากงานวิจัยหรือวิชาการ สามารถเปลี่ยนมุมมองทัศนคติของสาธารณชน และ/หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายระดับประเทศ
  2. กลุ่มผลงานที่บุคลากรสามารถจัดส่งได้ด้วยตนเอง
      • Poster & Oral Presentation
        ผลงานที่มีการคิดวิเคราะห์หาสาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และนำสาเหตุหรือปัจจัยนั้นมาวางแผนปรับปรุง/พัฒนากระบวนการทำงาน โดยใช้หลักการของวงจรคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) /หลักการวิจัย หรือสร้างสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการใหม่ โดยแสดงให้เห็นผลผลิต/ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น/ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากขึ้น และนำไปสู่แนวทาง/ข้อสรุปเพื่อพัฒนาคุณภาพในระยะต่อไป
      • Storytelling
        เรื่องที่ปลุกเร้า สร้างพลัง ให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน กับบุคลากรทุกประเภทของมหาวิทยาลัยมหิดล

รางวัลและผลงานในมหกรรมคุณภาพที่ผ่านมา

ประเภทผลงาน

TGA Team Good Practice Award
ITA
Innovative Teaching Award
PPA
Public Policy Advocacy Award
STR
Storytelling
STR_O Storytelling (Online in Mahidol University Digital KM Masterclass)
ORA Oral Presentation
PPS
Poster Presentation
PPS_F
Poster Presentation (ส่วนงาน)
PPS_O Poster Presentation (Online in Mahidol University Digital KM Masterclass)


หมายเลข - ผลงาน - ส่วนงาน - ประเภทผลงาน
ผู้ส่งผลงาน - รางวัล
 

ผลการจัดกิจกรรม "แลกเปลี่ยนเรียนรู้ - สร้างแรงบันดาลใจ" ในมหกรรมคุณภาพ

วิจัยเพื่อพัฒนา

  1. การประเมินความพึงพอใจของผู้ส่งผลงาน
    และประสิทธิภาพของเว็บไซต์มหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล
    [1]
      • ระเบียบวิธีวิจัย
        การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ประชากรเป็นผู้ส่งผลงานเข้าร่วมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-test และ ANOVA ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมิด้วยเครื่องมือวิเคราะห์เว็บไซต์โดย Google Analytics, Google Lighthouse และ Google PageSpeed Insights
      • ผลการวิจัย
        มีความพึงพอใจในการจัดส่งผลงานมากที่สุด (x̄=4.43, S.D.= 0.74) ปัจจัยด้านเพศ (p=0.025) และประเภทบุคลากร (p=0.001) มีผลต่อความพึงพอใจโดยรวมในการจัดส่งผลงานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05)
      • ประสิทธิภาพเว็บไซต์ตามมาตรฐานเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้ (Core Web Vitals)
        ด้านระยะเวลาการรอการทำงานโดยรวม (Total Blocking Time, TBT) อยู่ในระดับดี ด้านความเร็วในการโหลดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด (Largest Contentful Paint, LCP) และความเสถียรของการจัดวางเค้าโครงเว็บไซต์ (Cumulative Layout Shift, CLS) อยู่ในระดับควรปรับปรุง
  2. ปัจจัยและอิทธิพลของการสนับสนุนจากองค์กร
    ที่มีผลต่อคะแนนผลงานในมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล
    [2]
      • ระเบียบวิธีวิจัย
        การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง ประชากรเป็นผลงานเข้าร่วมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ร่วมกับข้อมูลทุติยภูมจากรายงานการประเมินตนเองส่วนงานประจำปี 2563
      • ผลการวิจัย
        ผลงานมีคะแนนอยู่ในช่วง 40 – 60 คะแนน (ร้อยละ 52.11)
        เป็นผลงานที่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนงานใน 3 ประเด็นคือ
        1) มีผู้บริหารที่ทำหน้าที่ฝ่ายพัฒนาคุณภาพอย่างชัดเจน (ร้อยละ 90.14)
        2) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่อำนวยการพัฒนาคุณภาพและจัดการความรู้ของส่วนงาน (ร้อยละ 92.96)
        3) มีระบบพี่เลี้ยง หรือเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือมหกรรมคุณภาพ (ร้อยละ 87.68)
      • ความผันแปรของค่าคะแนนผลงาน
        การสนับสนุนของส่วนงานทั้ง 3 ประเด็นร่วมกันอธิบายความผันแปรของค่าคะแนนผลงานที่จัดส่งเข้าร่วมมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดลได้ร้อยละ 10.3 ประเด็นที่มีอิทธิพลในการทำนายการเปลี่ยนแปลงค่าคะแนนผลงานในมหกรรมคุณภาพได้ดีที่สุดคือ ส่วนงานมีผู้บริหารที่ทำฝ่ายพัฒนาคุณภาพหรือฝ่ายจัดการความรู้อย่างชัดเจน (β=0.176) ส่วนงานมีระบบพี่เลี้ยง เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือมหกรรมคุณภาพ (β=0.157) และส่วนงานมีคณะกรรมการที่อำนวยการพัฒนาคุณภาพและจัดการความรู้ของส่วนงาน (β=0.132) ตามลำดับ

Reference

  1. Promsarn, P., Thieng-R-Rome, S & Timsamran, S. (2021). Evaluation of participant satisfaction and website efficiency of the Mahidol Quality Fair, Journal of Professional Routine to Research, 8(2): 13-24
  2. Promsarn, P., Timsamran, S., Thuuenrun, N. & Srikong, B. (2021). Factors and Influences of Organizational Support with Scores of Conference Papers in Mahidol Quality Fair, Journal of Research and Development Buriram Rajabhat University, 16(1): 109-118