{:th}
ภาระหน้าที่
ภาระหน้าที่
กองบริหารงานวิจัย เป็นหน่วยงานกลาง เพื่อเชื่อมโยงประสานงานระหว่างนักวิจัยในมหาวิทยาลัยกับแหล่งทุนวิจัย และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ทั้งภายในและต่างประเทศ ให้คำปรึกษาแนะนำและให้การบริการแก่บุคลากรในมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ในการขอทุนสนับสนุน วิเคราะห์ และประเมินผลงานของอาจารย์และนักวิจัยที่ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งด้านการวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลในสาขาต่าง ๆ โดยมีหน้าที่ตามพันธกิจ ดังนี้
• เพิ่มประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยในการบริหารจัดการ จัดสรรเงินทุนวิจัยที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
• แสวงหาหนทางการเพิ่มศักยภาพ ความสามารถของบุคลากร เพื่อให้รับเงินทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมากขึ้น
• วิเคราะห์ถึงสาขาวิจัยที่นักวิจัยในมหาวิทยาลัยมีความเข้มแข็ง มีขีดความสามารถสูง และให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง
• ส่งเสริมและสร้างวัฒนธรรมการวิจัยให้กับบุคลากรในมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งส่งเสริมให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นในการทำวิจัย
• พัฒนาโครงสร้างการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย จากต้นน้ำถึงปลายน้ำแบบครบวงจร เพื่อให้ผลงานวิจัยนวัตกรรมถูกนำไปใช้ประโยชน์เชิงสังคม และพาณิชย์
• ชี้แนะและชี้นำสาขางานวิจัยที่นักวิจัยในมหาวิทยาลัยควรพัฒนา เพื่อให้เป็นไปตามกระแสโลก นโยบายของประเทศ และของหน่วยให้ทุนวิจัย
• ประสานงานกับบัณฑิตวิทยาลัย ให้เป็นฐานในการสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
• กระตุ้นให้งานวิจัยประสบความสำเร็จในเวลาที่กำหนดอย่างมีประสิทธิผล
• ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำกลุ่มวิจัยที่ดีให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย รวมถึงสร้างบรรยากาศการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย
• ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิจัยในสาขาเดียวกันและ ระหว่างสาขา รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยกับภาคเอกชนในลักษณะร่วมทุน เพื่อทำโครงการวิจัยร่วมสถาบัน
• ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดลกับนักวิจัยต่างประเทศ เพื่อเสริมความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ
• จัดให้มีหน่วยงานดูแลผลประโยชน์ด้านการวิจัย
• บริหารจัดการฐานข้อมูลการวิจัยให้มีประสิทธิภาพ
หน้าที่และความรับผิดชอบ
งานบริหารและส่งเสริมการวิจัย
• งานบริหารทั่วไป (งานธุรการ สารบรรณ การเงิน และการเบิกจ่ายพัสดุและการจัดซื้อ)
• รวบรวม สืบค้นข้อมูลวิจัยนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยนวัตกรรมให้ตรงกับความต้องการของแหล่งทุนภาครัฐ เอกชน สังคม ทั้งในและต่างประเทศ
• ประสานโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยกับสถาบันภายนอก
• ประสานงานการจัดทำข้อตกลงการวิจัย สัญญาความร่วมมือด้านการวิจัย MOU ร่วมกับหน่วยงานภายนอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
• งานสร้างเครือข่ายงานวิจัย ทั้งภายใน ภายนอกมหาวิทยาลัย และต่างประเทศ
• หน่วยสนับสนุนการขอทุนวิจัยจากแหล่งทุนต่างประเทศ
• ประสานงานโครงการวิจัยที่เสนอขอรับทุนจากแหล่งทุนภาคเอกชน และร่วมดำเนินงานกับบริษัทเอกชน
• ประสานงานศูนย์ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหิดล และบริหารโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านต่าง ๆ
• งานจัดอบรมพัฒนาศักยภาพ และความสามารถนักวิจัย (การเขียนโครงการขอทุน การส่งเสริมการตีพิมพ์ในวารสารสากล)
• ประสานงานกับศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัยในคน และสำนักงานมาตรฐานจริยธรรมและจรรณยาบรรณการวิจัย
• งานพัฒนาการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง เพื่อการเรียน การสอน และวิจัย
• ประสานงานกับศูนย์บริหารและกำกับดูแลความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (การเสนอขอคำรับรองโครงการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวนิรภัย รังสี เคมี และอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม)
งานบริหารเงินทุนวิจัย
• งานจัดทำงบประมาณการวิจัยที่ใช้เงินมหาวิทยาลัย
• บริหารจัดการเงินงบประมาณแผ่นดินด้านการวิจัย (จัดสรรทุน ประเมิน ติดตาม และรายงานผล)
• งานพิจารณาจัดสรรทุนวิจัยจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย
• งานติดตามและประเมินโครงการวิจัยที่ได้รับทุนวิจัยของมหาวิทยาลัย
• ประสานงานในการแสวงหาแหล่งทุนวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัยในประเทศ
• ประสานงานโครงการวิจัยที่เสนอขอทุน และที่ได้รับทุน รวมทั้งการจัดทำสัญญา และการเบิกจ่ายเงินทุนจากแหล่งทุนภายนอก และโครงการพิเศษอื่น ๆ
งานบริหารข้อมูลและเผยแพร่งานวิจัย
• งานพัฒนาฐานข้อมูลโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย
• งานพัฒนา Website เพื่อเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ และข้อมูลความรู้จากงานวิจัย
• งานสืบค้นข้อมูลผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการตีพิมพ์ และได้รับการอ้างอิงทางวิชาการจากฐานข้อมูลสากล เพื่อติดตามผลลัพธ์งานวิจัยของมหาวิทยาลัยประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง
• เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์งานวิจัยลงในสื่อสาธารณะ และจัดกิจการเผยแพร่งานวิจัย (การจัดประชุม, นิทรรศการ ฯลฯ)
• ประสานงานกับสำนักหอสมุดและคลังความรู้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงในการเข้าถึงข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ • ประสานงานการขอรับรางวัลนักวิจัย/ผลงานวิจัยของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
• งานจัดทำข้อมูลรายงานการประกันคุณภาพ และรายงานประจำปีด้านการวิจัย
• งานโครงการเฉพาะกิจในการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลสากล เพื่อเสนอผู้บริหารในการพัฒนาความก้าวหน้า ในการสร้างความเป็นเลิศด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย
งานเครื่องมือกลาง
• จัดหาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอและเหมาะสม
• เสาะแสวงหาและนำเทคโนโลยีใหม่มายังประชาคมวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล และสร้างความก้าวหน้าให้กับประชาคมวิจัย
• วางระบบ/ระเบียบการให้บริการ/กฎเกณฑ์/แนวทางปฏิบัติในการให้บริการใช้เครื่องมือของศูนย์ ฯ อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัว
• ให้บริการปรึกษาแนะนำ/อบรมบุคลากร (นักวิจัย/นักศึกษา) และบุคคลภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน
• ให้คำปรึกษาและบริการด้านการวิเคราะห์ตัวอย่างด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม
• จัดอบรมการใช้เครื่องมือ และแนะนำเทคโนโลยีใหม่ให้แก่บุคลากรภายในและภายนอก เพื่อพัฒนางานวิจัยให้มีความแม่นยำ น่าเชื่อถือ และวิเคราะห์ผลได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
• บำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพคงที่ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• จัดเก็บค่าบริการ และนำส่งเป็นรายได้มหาวิทยาลัย
• ประชาสัมพันธ์งานบริการใช้เครื่องมือ/การจัดอบรม เพื่อเพิ่มจำนวนผู้มาใช้บริการ
• ให้การรับรองแก่ผู้ดูงานจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยตามที่ขออนุเคราะห์
• เป็นเลขานุการกิจในคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งศูนย์เครื่องมือ ศาลายา และจัดประชุมคณะกรรมการและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานทุก 6 เดือน เสนอผู้บริหารมหาวิทยาลัย
Tasks
Tasks
Research Management and Development Division is a central division to link and to coordinate between the university’s researchers and research funders, public organizations and private organizations both locally and internationally. It also provide counselling for the university staff about the process of applying for fund and also the processes of analyzing and assessing the research of the faculty and researchers that get funded by Mahidol University. Finally, the division is responsible for strengthening the research capacity of the university’s staff in various disciplines. It tasks according to its mission can be described as follows:
• Increasing the efficiency of the university research fund management.
• Increasing the potential and skill of university staffs to get more external research fund.
• Analyze the university staff expertise and competitiveness in any research fields, then support and facilitate them to success their researches.
• Creating and promoting the research culture among university staff and also encouraging them to do research.
• Developing the university research and innovation’s supporting infrastructure with complete process from upstream to downstream to be societal and commercialized utilization.
• Providing a guidance about fields of research that should be developed according the worldwide trends, the national policies and funders’ policies.
• Collaborating with Faculty of Graduate Studies to provide and support research quality development in postgraduate education.
• Stimulating research to be efficiently completed in the given timeframe.
• Promoting the capacity of being the research leader in the field among the university staff and creating the research university atmosphere.
• Promoting the collaborative networks of researchers in a particular field and multidiscipline including the collaboration between public and private funders.
• Promoting collaboration between the university researchers and international researchers to increase competency at the international level.
• Collaborating with the university research benefit and/or proprietary management unit.
• Managing the university research databases.
{:}