ภาระทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ในการให้บริการผู้ป่วยต่างด้าวของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
October 24, 2019
Intelligent Virtual Environments for Surgical Training
October 24, 2019

การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อการกลับมาของเชื้อไข้หวัดนก ในนกธรรมชาติในประเทศไทย

การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อการกลับมาของเชื้อไข้หวัดนก ในนกธรรมชาติในประเทศไทย

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

การเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อการกลับมาของเชื้อไข้หวัดนกในนกธรรมชาติในประเทศไทย

ผู้วิจัย :

นางสาวคณาภรณ์ พลเทพ

จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ชนิดรุนแรงตั้งแต่ปี 2547 เป็นสาเหตุการตายของสัตว์และมนุษย์ และสร้างความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจให้กับอุตสาหกรรมสัตว์ปีกในประเทศไทยอย่างมหาศาล นกธรรมชาติเป็นกลุ่มประชากรหนึ่งที่พบการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นกปากห่างที่พบว่าตายเป็นจำนวนมาก แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีการรายงานโรคนี้แล้ว ศูนย์เฝ้าระวังและติดตามโรคจากสัตว์ป่า สัตว์ต่างถิ่นและสัตว์อพยพ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นศูนย์อ้างอิงขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ด้านโรคสัตว์สู่คนและโรคสัตว์ป่า ยังคงเฝ้าระวังการกลับมาของโรคไข้หวัดนกอย่างต่อเนื่อง โดยการศึกษานี้ เลือกพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่และมีนกธรรมชาติเป็นจำนวนมาก คณะวิจัยได้ใช้การสำรวจทางซีรั่มวิทยา ด้วยปฏิกิริยายับยั้งการเกาะกลุ่มของเม็ดเลือดแดง และปฏิกิริยาการลบล้างฤทธิ์เพื่อตรวจหาการตอบสนองการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ชนิด H5 ระหว่างปี พ.ศ 2550 ถึงปี 2557 จากตัวอย่างนกธรรมชาติจำนวน 44 ชนิด ใน 10 อันดับ จำนวนทั้งสิ้น 753 ตัวอย่าง พบการตอบสนองต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจำนวน 10 ตัวอย่าง ในนกปากห่าง และเป็ดแดง ซึ่งเป็นกลุ่มนกน้ำที่เป็นแหล่งรังโรคของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก นอกจากนี้ ยังพบการติดเชื้อในนกปรอดสวน ซึ่งมีแหล่งอาศัยร่วมกับนกน้ำหรือสัตว์ตระกูลเป็ด ดังนั้น การเฝ้าระวังตรวจติดตามการติดเชื้อในพื้นที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ยังคงมีความสำคัญทางด้านสาธารณสุข และทำให้ทราบสถานะของการแพร่กระจายของเชื้อเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 ในนกธนรรมชาติในประเทศไทย

การเผยแพร่ผลงาน : Poltep, K., Ketchim, N., Paungpin, W., Prompiram, P., Sedwisai, P., Chamsai, T., Puthavathana, P. and Ratanakorn, P. (2018). A LONG – TERM SEROSURVEY OF AVIAN INFLUENZA H5 AMONG WILD BIRDS IN NAKHON SAWAN PROVINCE, THAILAND. Journal of Zoo and Wildlife Medicine, 49 (2), 464 – 469.

การติดต่อ :
นางสาวคณาภรณ์ พลเทพ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล