การเปรียบเทียบพารามิเตอร์ของการกระโดดสูง ระหว่างระบบโครโนจัมพ์และแผ่นวัดแรง
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
การเปรียบเทียบพารามิเตอร์ของการกระโดดสูง ระหว่างระบบโครโนจัมพ์และแผ่นวัดแรง
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานวิจัย :
การเปรียบเทียบพารามิเตอร์ของการกระโดดสูง ระหว่างระบบโครโนจัมพ์และแผ่นวัดแรง
ผู้วิจัย :
เจริญ ลูกอินทร์
เมตตา ปิ่นทอง
กรกฤษณ์ ชัยเจนกิจ
เจฟฟรี ปากะดวน
วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์
เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบการกระโดดสูงมีมากหมายหลายประเภท แผ่นวัดแรง (FP) เป็นเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบการกระโดดสูง เพราะให้ข้อมูลที่สำคัญนอกเหนือจากความสูงในการกระโดด เช่น แรง อัตราการพัฒนาของแรง ระยะเวลาที่สัมผัสพื้น ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม แผ่นวัดแรงมีราคาสูงมาก ดังนั้น เครื่องมืออื่น เช่น contact mat จึงถูกนำมาใช้เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่า ระบบโครโนจัมพ์ (CS) เป็น contact mat ราคาถูกที่มาพร้อมกับโปรแกรมโอเพนซอร์ส อย่างไรก็ดี ความเที่ยงตรงของระบบนี้ยังไม่ได้ถูกทดสอบ ดังนั้น วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้ เพื่อต้องการเปรียบเทียบพารามิเตอร์ของการกระโดดสูง ได้แก่ เวลาที่ลอยอยู่กลางอากาศ (FT) และเวลาที่สัมผัสพื้น (CT) ระหว่าง CS และ FP นักกีฬามหาวิทยาลัยเพศชาย จำนวน 30 คน อายุระหว่าง 18-25 ปี เข้าร่วมในงานวิจัยนี้ หลังจากอบอุ่นร่างกาย นักกีฬาทั้งหมดจะทำการกระโดด 2 ท่า ท่าละ 4 ครั้ง คือ ท่ากระโดดแบบ countermovement jump (CMJ) และ drop jump (DJ) บนแผ่นวัดแรงที่มี contact mat วางทับอยู่ด้านบน เวลาที่ลอยอยู่กลางอากาศ (FT) และเวลาที่สัมผัสพื้น (CT) และความสูงการกระโดด (JH) ระหว่างเครื่องมือ 2 ประเภท จะถูกเปรียบเทียบโดยใช้วิธี Bland และ Altman ซึ่งไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของพารามิเตอร์ของการกระโดดสูงระหว่างเครื่องมือ แต่ค่า CT จาก CS จะมีค่าต่ำกว่า FP โดยสรุป contact mat ของ CS เป็นเครื่องมือที่มีค่าความเที่ยงตรง อย่างไรก็ตาม ค่า CT ของ DJ ในการแปลผลควรทำด้วยความระมัดระวัง
การเผยแพร่ผลงาน : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 2561; 18 (1) : 8 – 15
การติดต่อ :
ผศ.ดร.วีรวัฒน์ ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
weerawat.lim@mahidol.edu