ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนลงพุงด้วยตนเองของผู้ป่วยอ้วนลงพุง ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร
October 24, 2019
โครงการอบรมระยะสั้น สำหรับผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ
October 24, 2019

ประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น ต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น ต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

ประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น ต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้วิจัย :

สุธิดา นครเรียบ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, วิชชุดา เจริญกิจการ, สงคราม โชติกอนุชิต และ วชิรศักดิ์ วานิชชา

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อย และเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลก และของประเทศไทย และในปี พ.ศ.2557 พบว่าโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่รอดชีวิต มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำอีกได้ การรักษาด้วยยาต้านเกล็ดเลือด การควบคุมระดับไขมันในเลือด และความดันโลหิต จะช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 80 แต่จากการทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในช่วง 1 ปีแรกของการเจ็บป่วย เริ่มมีพฤติกรรมการรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง หรือหยุดรับประทานยา จากสาเหตุ และปัจจัยต่าง ๆ เช่น ลืมรับประทานยาบางมื้อ ปรับ หรือหยุดยาเอง การเข้ารับการรักษาไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น

การส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความร่วมมือในการใช้ยา จึงเป็นบทบาทที่สำคัญสำหรับพยาบาล ซึ่งในปัจจุบันมีการสร้าง และพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่เป็นโปรแกรมออกแบบ เพื่อการใช้งานสำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ช่วยให้เข้าถึงระบบสุขภาพได้ง่ายมากขึ้น งานวิจัยครั้งนี เป็นการศึกษาประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่น ต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 56 คน ที่รับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ด้วยการสุ่มแบบบล็อก กลุ่มละ 28 คน กลุ่มทดลอง ได้รับการดูแลแบบปกติ ได้รับคู่มือการรับประทานยาสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และได้รับโมบายแอพพลิเคชั่นติดตั้งบนสมาร์ทโฟน ประกอบด้วย การเตือนรับประทานยา และนัดหมาย ฐานข้อมูลยา อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ระบบบันทึก สถิติการรับประทานยา และการเชื่อมต่อข้อมูล กับผู้วิจัยกลุ่มควบคุม ได้รับการดูแลแบบปกติ และได้รับคู่มือการรับประทานยาสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ใช้ระยะเวลาการทดลอง 4 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแมน – วิทนีย์ยู

ผลการทดลอง พบว่าคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ได้รับโมบายแอพพลิเคชั่น มากกว่ากลุ่มที่ควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลอง มีความร่วมมือในการรับประทานยาเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.86 ทั้งนี จากผลการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยตระหนักถึงความสำคัญการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นต่อไป โดยใช้ในระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการการนำไปใช้โดยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมากยิ่งขึ้น

การเผยแพร่ผลงาน : วารสารพยาบาลศาสตร์ Vol.35 No.3 July – September 2017

การติดต่อ :
รศ.ดร.ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
doungrut.wat@mahidol.ac.th